เด่นโซเชียล

"ประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิดขาดรายได้ เช็คเลยจ่ายเท่าไร

"ประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิดขาดรายได้ เช็คเลยจ่ายเท่าไร

04 ก.ค. 2565

อัปเดตล่าสุด "ประกันสังคม" มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 ผู้ประกันตน แต่ละมาตรา สามารถรับเงินชดเชย จ่ายเงิน ได้ตามช่องทางที่หลากหลาย และแตกต่างกัน เช็คทันที

อัปเดต "ประกันสังคม" ท่ามกลางการแพร่ระบาดของ โควิด-19 กลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์ใหม่ Omicron (โอไมครอน) ที่น่ากังวลมากที่สุดเวลานี้ และแม้ โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แต่ชาวประกันสังคมไม่ต้องหวั่นใจไป เพราะ สำนักงานประกันสังคม พร้อมจ่าย ชดเชย ให้ทุกมาตรา

 

 

 

มาตรา 33

 

  • กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
  • หยุดรักษาตัว เกิน 30 วัน : สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

 


มาตรา 39

 

  • รับเงินทดแทน ขาดรายได้ร้อยละ 50
  • คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) : ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

 

 

* ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

 

มาตรา 40

 

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1 - 2 - 3
  • ต้องนำส่งสมทบ 3 เดือน : ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)

ช่องทางการ รับเงิน - จ่ายเงิน กองทุน "ประกันสังคม" และ กองทุนเงินทดแทน

 

  • ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดให้ ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 มีทางเลือกหลากหลายช่องทาง ดังนี้

 

ชำระทางเคาน์เตอร์

  1. e-Payment
  2. หักบัญชีเงินฝากธนาคาร
  3. Mobile App
  4. ผ่านช่องทางธนาคาร
  5. หน่วยบริการต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไปรษณีย์ไทย แอปพลิเคชัน
  6. จ่ายด้วยการโอนผ่านช่องทางธนาคารและบริการพร้อมเพย์

 

 

กองทุนประกันสังคม


สถานประกอบการ (ม.33)

 

เคาน์เตอร์

 

  • Krungthai , Krungsri

 

e-Payment

 

  • Krungthai , Krungsri , ttb , SCB , KBank , Bangkok Bank , citi , SMBC , MIZUHO , Deutsche Bank , BNP , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส

 

ผู้ประกันตน (ม.39)


เคาน์เตอร์

 

  • Krungthai , Krungsri , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส , Lotus's , ไปรษณีย์ไทย , cen pay , Big C

 

หักบัญชีเงินฝากธนาคาร

 

  • Krungthai , Krungsri , ttb , SCB , KBank , Bangkok Bank

 

ผู้ประกันตน (ม.40)


เคาน์เตอร์

 

  • Krungthai , Krungsri , ธ.ก.ส. , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส , Lotus's ,  cen pay , บุญเติม , Big C

 

หักบัญชีเงินฝากธนาคาร

 

  • Krungthai , Krungsri , ttb , SCB , KBank , Bangkok Bank , ออมสิน , ธ.ก.ส.

 

Mobile App

 

  • Shopee

 

กองทุนเงินทดแทน


เคาน์เตอร์

 

 

  • Krungthai , Krungsri , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส , Lotus's

 

e-Payment

 

  • Krungthai , ttb , Kbank , Bangkok Bank , Deutsche Bank , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส

 

 

ช่องทางการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนผ่านธนาคาร


ม.33 และ ม.39 (โอนผ่านธนาคาร)

 

  • Krungthai , Krungsri , Bangkok Bank , ttb , SCB , Kbank , ธนาคารอิสลาม , CIMB Thai , ออมสิน , ธ.ก.ส. , PromptPay

 

ม.40 (โอนผ่านธนาคาร)

 

  • Krungthai , Krungsri , ออมสิน , ธ.ก.ส.

 

ขอรับเงินทดแทนกองทุนเงินทดแทน (โอนผ่านธนาคาร)

 

  • Krungthai , Krungsri , ออมสิน , ธ.ก.ส.