"ปลาทู" เจอแมลงประหลาดในหัว อันตรายมั้ย แบบนี้ควรกินต่อหรือเขี่ยทิ้งดี
"ปลาทู" สงสัยมากเจอแมลงน่าตาประหลาดในหัวปลาทู แบบนี้อันตรายหรือไม่ ควรกินต่อหรือเขี่ยทิ้ง จริง ๆ แล้วคือตัวอะไรกันแน่
หลายคนเคงเคยสงสัยเวลากิน "ปลาทู" ทีไรก็มักจะเจอแมลงน่าตาประหลาด ๆ อยู่ในช่วงหัวของปาทูทุกที เชื่อว่าหลายคนคงไม่กล้าและเขี่ยทิ้งกันทุกรายแน่นอน โดยล่าสุเ เพจเฟซบุ๊ก ผู้บริโภค ได้มีการโพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับไอโซพอดที่พบเจอได้ในหัวปลาทู ซึ่งเห็นทีไรก็สะดุ้งทุกที โดยระบุว่า บางก็ว่าเห็บปลา บ้างก็ว่าแมงกินลิ้น แท้จริงไม่อันตราย... เรื่องสั้น #ผู้บริโภค
ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะเจอตัวนี้ในหัว "ปลาทู" แต่ถ้าจะเจอบ่อย ๆ คงต้องเป็นหัวปลาทู ตัวนี้เรียกว่า ไอโซพอด เป็นปรสิตในปลาทะเล บางคนก็กิน บางคนก็เขี่ยออก หน้าตาอาจจะดูน่าเกลียด แต่ไม่มีอันตราย
สำหรับ ไอโซพอด (isopod) ที่อยู่ในหัว "ปลาทู" เป็นสัตว์จำพวกครัสเตเชียนกลุ่มที่มีความหลากหลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง พบอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ แต่จะพบได้มากที่สุดในทะเลน้ำตื้น สัตว์กลุ่มนี้มีความแตกต่างไปจากครัสเตเชียนส่วนใหญ่ เพราะสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมบนบกได้ดี แม้ว่าพบได้หลากหลายที่สุดในทะเลลึกก็ตาม มีหลายสปีชีส์ในจีนัส Cymothoa ที่ดำรงชีวิตเป็นปรสิตในช่องปากของปลา รู้จักกันในชื่อว่า "ตัวกัดลิ้น" (Tongue biter) สัตว์ในกลุ่มไอโซพอดจัดว่าเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่พบฟอสซิลตั้งแต่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ซึ่งแตกต่างเพียงเล็กน้อยไปจากกลุ่ม Phreatoicidean ยุคใหม่ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทางซีกโลกใต้
ขอบคุณข้อมูล: เพจผู้บริโภค