เด่นโซเชียล

ถ้าไม่อยากเสี่ยง "ตกงาน" อย่าปล่อยให้เเม่ทำเเบบนี้

ถ้าไม่อยากเสี่ยง "ตกงาน" อย่าปล่อยให้เเม่ทำเเบบนี้

08 เม.ย. 2565

รู้ไหม? มีกฎหมายคุ้มครอง "หัวหน้างาน" ถ้าไม่อยากเสี่ยง "ตกงาน" อย่าปล่อยให้แม่ทำแบบนี้ ลูกจ้างดูหมิ่นนายจ้าง ถูกเลิกจ้างไม่จ่ายชดเชย

เรียนรู้ข้อกฎหมาย หากไม่อยากเสี่ยง "ตกงาน"  จากการแชร์ประสบการณ์ หัวอกคนเป็น "หัวหน้างาน" เมื่อต้องเจอสถานการณ์ ถูกเเม่และพี่ชายลูกน้องตะโกนด่าผ่านโทรศัพท์ !!!   โดยหัวหน้าสาวรายนี้ ได้ตั้งกระทู้ถามชาวเน็ต ขอคำเเนะนำว่าควรจัดการยังไง เมื่อลูกน้องให้แม่มาด่าหัวหน้าผ่านโทรศัพท์ ...

 

เเต่หลังจากได้รับคำเเนะนำเเล้วหัวหน้ารายนี้ กลับลบโพสต์ทิ้งไป เเต่ชาวเน็ตเเคปไว้ทัน จึงพบรายละเอียดของที่มาของเรื่องราวครั้งนี้ ว่า  

พนักงานคนนี้ไปสื่อสารเรื่องบางอย่างให้พนักงานอีกคนเข้าใจผิด เสียความรู้สึก ร้องไห้เราเลยจัดการด้วยการโทรไปตักเตือนและชี้ให้เห็นว่าการสื่อสารเรื่องบางเรื่องต้องกลั่นกรองให้ดีก่อนพูดแต่น้องเค้ารับไม่ได้ค่ะ เค้าไม่ยอมรับว่าสิ่งที่เค้าพูดและสื่อสารไปมันไม่เหมาะสม ทั้งๆที่ผลของการสื่อสารนั้นก่อให้เกิดการเข้าใจผิดอย่างมาก

น้องเค้าเลยให้แม่และพี่ชายตะโกนด่าเราทางโทรศัพท์ขณะที่เราคุยกับน้องเค้าอยู่ (น้องเค้ากด speaker phone เพื่อให้แม่และพี่ชายฟังด้วย)

ขั้นแรกเราจะออกใบเตือนให้น้องเค้านะคะ

หรือใครมีข้อแนะนำดีดีในการจัดการกับพนักงานแบบนี้ ช่วยแนะนำทีค่ะ

...

ซึ่งช่วงที่เกิดเรื่องเป็นช่วง "Work from home" เราได้สอบถามน้องคนที่เค้าพูดแล้ว เค้ายอมรับว่าเป็นคนพูดจริง แต่ไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่ผิดและไม่เหมาะสม

ส่วนช่วงเวลาที่โทรไป ยังเป็นในเวลางานค่ะ

และจะลองพิจารณาจากความเห็นในเรื่องการให้น้องพนักงานทั้งสองคนมาเคลียร์กันต่อหน้า

ไว้หลังสงกรานต์เราจะเรียกทั่งสองคนมาคุยต่อหน้า เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

นี่คือเรื่องราวที่เธอได้อธิบายไว้ ...

 

หากพบเจอสถานการณ์เเบบนี้ ต้องทำตัวอย่างไร มีการให้คำเเนะนำไว้ว่า การให้ใบเตือนต้องเรียกมาคุยต่อหน้า  และออกใบเตือนอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้การพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดกรณีร้ายเเรง  


"จะให้ใบเตือนต้องเรียกมาคุยต่อหน้านะ แล้วค่อยๆเพิ่มโทษถ้าไม่ปรับปรุงตัว

ลูกน้องแบบนี้ไม่ค่อยมีวุฒิภาวะ ถ้าไม่ปรับปรุงตัวก็หาทางให้ออกเถอะ

งานส่วนงาน บ้านส่วนบ้าน แยกแยะไม่ได้ก็ให้ไปนอนเฝ้าบ้าน"

 

" เรียกมาคุยเป็นทางการ ออกใบเตือน แต่แบบนี้คงไม่มา น่าจะขาดงานและหายไปเลย "

" การพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามผู้บังคับบัญชา เป็นความผิดกรณีร้ายแรง ฎ.๓๔๑๘/๒๕๔๘ "



"จัดการลูกน้อง  ตามระเบียบของบริษัทฯ จัดการแม่และพี่ชาย ของลูกน้อง ได้ตามตัวบทกฎหมาย รวบรวมหลักฐาน แล้วสามารถดำเนินคดี ได้ครับ "


" เป็นเราออกใบเตือนครั้งที่ 1 ทำอีกออกใบเตือนครั้งที่ 2 และถ้ามีครั้งที่3 ให้ออก โดยไม่มีค่าชดเชยใดๆ คนแบบนี้ มีแนวโน้มที่จะไม่ปรับปรุงตัว จากที่เขียนที่บ้านก็คงพอๆกัน อย่าเก็บเอาไว้ เพราะพนักงานคนอื่นจะเดือดร้อนไปด้วย"

 

" ตัวพนักงาน เราจะออกใบเตือนให้ตามกฏระเบียบบริษัท ส่วนทางครอบครัวพนักงาน หากมีครั้งต่อไปที่ต้องโทรศัพท์ติดต่อ เราจะแจ้งว่าได้อัดเสียงไว้ ถ้ายังมีด่าทอ บริภาษ มาอีก ก็แจ้งความดำเนินการทางกฏหมายต่อไปค่ะ " 


"ม.๑๑๙ เมื่อเลิกจ้างโดยลูกจ้าง

(๔) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรง ไม่จำเป็นต้องเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

*ซ้ำคำเดือน- ครั้งที่ 2 ก็เลิกจ้างได้แล้ว (แต่หากบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น 3 ครั้ง ก็ต้องถือตามนั้น เพราะเป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างมากกว่า)

การออกหนังสือเตือน อย่างน้อยต้องมรองค์ประกอบ 7 ประการ คือ

๑.สถานที่ที่ออกหนังสือเตือน
๒.วัน/เดือน/ปี ที่ออกหนังสือเตือน
๓.ข้อความที่แสดงการแจ้งต่อตัวพนักงานที่ถูกเตือนโดยเฉพาะเจาะจง
๔.ข้อเท็จจริงโดยย่อเกี่ยวกับการฝ่าฝืน ซึ่งควรระบุวัน/เวลา/สถานที่ และลักษณะการกระทำที่ฝ่าฝืน
๕.ระบุว่าการกระทำนั้น ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งในฉบับใด/ข้อใด/เรื่องใด
๖.ข้อความที่มีลักษณะเป็นการตักเตือนมิให้กระทำผิดซ้ำอีก และระบุถึงโทษทางวินัย หรือความตั้งใจของผู้เตือน หากพนักงานยังคงฝ่าฝืนอีกด้วยก็ยิ่งดี
๗.ลายมือชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือเตือน " 


อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ มีข้อมูลจาก กองคุ้มครองเเรงงาน กคร. ระบุไว้ว่า ตาม  ฎีกาที่ 3418/2548

การกระทำของลูกจ้างจึงเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามนายจ้างอันเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง ซึ่งจำเลยสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ทั้งไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ซึ่งในกรณีนี้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้ใช้ด้วย