ผัก "กินดิบ" คู่เมนูส้มตำ กินเเล้วเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต จริงหรือ ?
อ่านข้อเท็จจริง ผัก 5 ชนิด "กินดิบ" แล้วเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต จริงหรือ ? สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ให้ข้อมูลเเล้ว
"กินดิบ" แล้ว "เสี่ยงตาย" จริงหรือ? Anti-Fake News Center Thailand ได้เผยเเพร่ข้อมูลเพื่อชี้เเจง กรณีมีเผยแพร่ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็นเรื่องผัก 5 ชนิด คือ กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วฝักยาว หน่อไม้ ผักโขม ไม่ควรกินดิบ เพราะมีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง
ผักบางชนิดไม่ควร "กินดิบ" เพราะมีสารบางชนิดในตัวเอง หรือมีการปนเปื้อนสะสมของสารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายส่งผลเสียต่อสุขภาพ บางชนิดหากกินในปริมาณมากอาจเสียชีวิต ได้แก่
1. กะหล่ำปลี มีสารกอยโทรเจน
2. ถั่วงอก มีแบคทีเรียและสารฟอกขาว
3. ถั่วฝักยาว มีสารกำจัดศัตรูพืช
4. หน่อไม้ มีไซยาไนด์ซึ่งสารเหล่านี้กำจัดได้ด้วยความร้อน หากล้างให้สะอาดนำมาปรุงสุกสามารถกินได้
5. ผักโขม มีกรดออกซาลิกสูง ควรกินในปริมาณพอเหมาะ
ผักดิบทั้ง 5 ชนิด หากล้างไม่สะอาด เสี่ยงปนเปื้อนแบคทีเรีย สารเคมี เมื่อกินเข้าไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ผู้ป่วยที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบ นอกจากนี้ ผักดิบย่อยยากถ้ากินมากอาจเกิดแก๊สทำให้ท้องอืดได้