โซเชียลแห่แชร์ นายกฯ สั่งตรึงราคา "น้ำมันเครื่องบิน" หน่วยงานยันข่าวปลอม
ประเด็นเรื่องนายกฯ ให้ตรึงราคา "น้ำมันเครื่องบิน" โดยไม่เก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน ลิตรละเกือบ 5 บาทต่อไป ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมสรรพสามิตพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กโดยระบุว่านายกฯ ให้ตรึงราคา "น้ำมันเครื่องบิน" โดยไม่เก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน ลิตรละเกือบ 5 บาทต่อไป ทางกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นที่บินภายในประเทศเท่านั้น จากบาทต่อลิตร 726.4 เหลือบาท 20.0 ต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจสายการบินที่ต้องเผชิญกับจำนวนเที่ยวบินที่ลดลงอย่างมีนัยยะ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากไม่มีกลไกในการช่วยรักษาระดับราคาต่างจากน้ำมันประเภทอื่นที่มีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นกลไกหลักในการรักษาระดับราคา ดังนั้นจึงต้องใช้มาตรการภาษีบรรเทาความเดือดร้อน "น้ำมันเครื่องบิน" ให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
ส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจสายการบินยังคงมีการจ้างงาน และไม่ต้องปิดตัวลงหรือระงับเส้นทางการบิน และทำให้ประขาชนมีทางเลือกในการเดินทางที่สะดวกและเหมาะสมกับความต้องการ
โดยมาตรการดังกล่าว รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 800 ล้านบาท (6 เตือน) ในขณะที่การลดภาษีน้ำมันดีเซล 3 บาทต่อลิตร เพียง 3 เดือน รัฐสูญเสียรายได้ถึง 17,100 ล้านบาท ทั้งนี้ราคา "น้ำมันเครื่องบิน" มีปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ราคาน้ำมันดิบ ค่าบริหารจัดการ และภาษีสรรพสามิต เป็นต้น ดังนั้นการลดภาษีสรรพสามิตเพียงอย่างเดียวไม่สามารถตรึงราคาน้ำมันเครื่องบินได้