เด่นโซเชียล

รู้จักกฎหมาย "pdpa"  กม.ให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูล 1 มิ.ย.นี้ เริ่มบังคับใช้

รู้จักกฎหมาย "pdpa" กม.ให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูล 1 มิ.ย.นี้ เริ่มบังคับใช้

30 พ.ค. 2565

รู้จักกฎหมาย "pdpa" ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิกับเจ้าของข้อมูล เริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้ เช็คสิทธิประโยชน์เราจะได้อะไรกับกฎหมายฉบับบนี้บ้าง

ใกล้วันถึงวันที่ กฎหมาย pdpa จะเริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว และหลายคนคงจะสงสัยว่า กฎหมาย pdpa  คืออะไร และมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง "pdpa" หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

 

โดยกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ "pdpa"  หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019)ได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พ.ค. 62 และยกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) ถูกเลื่อนออกมาให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิ.ย. 65

รู้จักกฎหมาย \"pdpa\"  กม.ให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูล 1 มิ.ย.นี้ เริ่มบังคับใช้

 "pdpa" ถือว่าเป็นกฎหมายที่ควรทราบและตระหนักรู้ถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ของลูกค้า ผู้ใช้งาน หรือพนักงานในองค์กร ล่าสุด  ทางเพจเฟซบุ๊ก  PDPC Thailand ก็ได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับ 10 เรื่องที่ประชาชนต้องรู้เกี่ยวกับ pdpa  มีดังนี้  

1. ข้อมูลส่วนบุคคล  คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคละนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมเฉพาะ เช่น ที่อยู่  หมายเลข ประจำตัว ข้อมูลสุภาพ ฯลฯ 

2.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ทีได้แจ้งเราไว้ก่อน หรือในขณะเก็บรวบรวม(ห้ามใช้นอกเหนือวัตถุประสงค์) (มาตรา 21) 

3.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเราเท่าที่จำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย

4.ความยินยอม  เป็นฐานกาประมวลผลฐานหยึ่งเท่านั้น ผู้ควบคุมข้อมูลมีหน้าที่ในการกำหนดกาประมวลผล ให้สอดคล้องกับลักษณะการประมวลผลและความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 

5.ในการขอความยินยอม  ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องคำนึงถึง อย่างที่สุดในความเป็นอิสระของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ต้องไม่มีสภาพบังคับในการให้หรือไม่ให้) 

6.เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิดังนี้ 
-สิทธิในการถอนความยินยอมในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมเอาไว้ 
-สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด 
-สิทธิขอเข้าถึงและขอรับข้อมูลสำเนาส่วนบุคคล 
-สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล 
-สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม  ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล 
-สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้  
-สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล 
-สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล  

7. pdpa ใช้กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ของบุคคลที่อยู่ในประเทศ  ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตาม

8.ในกรณีที่เหตุการละเมิด  ข้อมูลส่วนบุคคลที่สิทธิสูง ข้อมูลส่วนบุคคลมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูล บุคคลมีหน้าที่ แจ้งเหตุการและการละเมิด ให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ พร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า 

9.ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่จัดทำบันทึกรายการ เพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้  โดยจะบันทึกเป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

10.เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียน ต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม PDPA หรือประกาศฯ ที่ออกตาม PDPA (ทั้งนี้ กระบวนการร้องเรียนเป็นปตามระเบียบที่คณะกรรมการ ฯ ประกาศกำหนด)