เด่นโซเชียล

ร้านอาหาร ใส่ "กัญชา" ไม่บอกลูกค้า กินแล้วแพ้ ผิดมั้ย ทนายเกิดผล มีคำตอบให้

ร้านอาหาร ใส่ "กัญชา" ไม่บอกลูกค้า กินแล้วแพ้ ผิดมั้ย ทนายเกิดผล มีคำตอบให้

13 มิ.ย. 2565

"ทนายเกิดผล" ไขข้อสงสัย พ่อค้าแม่ค้า ร้านอาหาร ผสม "กัญชา" ลูกค้ากินแล้วแพ้ มีสิทธิโดนฟ้องหรือไม่ หลังเจอเคสตัวอย่าง

หลังจากประเทศไทยปลดล็อกพืช "กัญชา" ออกจากยาเสพติด โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รายงานสถิติการเข้าใช้งานแอป ปลูกกัญว่า ตั้งแต่วันที่ 9-13 มิ.ย.ที่ผ่านมา จำนวนการลงทะเบียน 735,932 คนออกใบรับจดแจ้งกัญชา 713,544 ใบ ออกใบรับจดแจ้งกัญชง 22,388 ใบ จำนวนเข้าใช้งานระบบ35,7511,572 ครั้ง (ข้อมูลวันที่ 13 มิ.ย. เวลา 07.00 น.) 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รวมทั้งปัจจุบัน บรรดาร้านอาหาร ต่างนำ "กัญชา" ไปเป็นส่วนผสมในการทำอาหาร ขนม รวมทั้งเครื่องดื่มกันเป็นจำนวนมาก แต่เกิดกรณีลูกค้ารายหนึ่ง ไปรับประทานอาหารที่ร้านก๋วยจั๊บ แล้วเผลอกินส่วนผสมของกัญชาเข้าไป ทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงนั้น

 

 

(13 มิ.ย.2565) ทนายเกิดผล แก้วเกิด ทนายความชื่อดัง โพสต์ข้อความเตือนผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ฝากเตือนพ่อค้า ที่ทำอาหารจำหน่าย เช่น ก๋วยเตี๋ยว ที่ใส่ "กัญชา" มีเครื่องปรุง หรือน้ำต้ม หากเป็นไปได้ ขอให้ติดประกาศหรือแจ้งแก่ลูกค้าด้วยนะครับ เพราะลูกค้าบางรายแพ้กัญชา ซึ่งวันนี้ มีคนโทรมาบอกผมว่า สามีเขาไปกินก๋วยจั๊บ ที่ร้านแห่งหนึ่ง โดยไม่รู้ว่ามีส่วนผสมของ "กัญชา" อยู่ด้วย สามีเขาเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง มึนงง และอาเจียน ซึ่งตอนนี้ถูกนำส่งโรงพยาบาล และอาจจะมอบหมายให้ทนายความ ฟ้องคดีความต่อไป

ทนายเกิดผล แก้วเกิด โพสต์ข้อความ

ทั้งนี้ กรมอนามัย ได้ออกประกาศเตือน ร้านอาหารสถานประกอบการกิจการอาหาร ต้องควบคุม กำกับ และต้องจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพ และต้องตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบ "กัญชา" เป็นส่วนประกอบของอาหาร ได้แก่ 

 

  1. จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้ "กัญชา" 
  2. แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด  
  3. แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหาร ตามประเภทการทำ ประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู  สำหรับอาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่มแนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู  
  4. แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบ "กัญชา" เป็นส่วนประกอบ 
  5. แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบ "กัญชา" ทราบ ด้วยการระบุข้อความ เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของ "กัญชา" เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล
  6. ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค

 

 

 

ขอบคุณ ทนายเกิดผล แก้วเกิด