พยายามเก่งเเทบตาย เเต่สู้คนจบ "ม.ดัง" และ คอนเนกชั่น ไม่ได้ ตอบแบบไม่โลกสวย
จบ "ม.ดัง" มีผลต่อการสมัครงานเเน่ ชาวเน็ตประสานเสียงตอบแบบไม่โลกสวย ยังไงสุดท้าย คอนเนกชั่น ม.ดัง ก็ต้องได้เปรียบ
"ม.ดัง" กับ ม.ไม่ดัง คืออะไร ส่อง TOP คอมเมนต์ 4 อันดับเเรก เเสดงความคิดเห็นกระทู้ "จบมหาลัยดัง ๆ vs จบมหาลัยบ้าน ๆ จะมีโอกาสได้งานเป็นไงครับ" กระทู้ตีเเผ่เรื่องจริงของสังคมไทย สุดท้ายเเล้วสถาบันและ คอนเนกชั่น ม.ดัง มีผลต่อโอกาสจริงหรือ กระทู้นี้มีคำตอบ
กระทู้นี้ เจ้าของกระทู้ได้โพสต์ไว้ว่า
ก่อนอื่นเลย ขอออกตัวก่อนว่าผมเป็นแค่ เด็กม.5 ที่เครียดเรื่องอนาคตสุด ๆ
อาชีพในฝัน : นักธุรกิจ / ผู้ประกอบการ (บริการหรือร้านอาหาร)
มีความรู้เรื่องมหาลัย เล็กน้อย อธิบายอะไรผิดขอกราบอภัยด้วยครับ
โอเค ผมเข้าใจว่าผู้ปกครองของทุกท่านคาดหวังในการให้ลูก ๆ ของท่านนั้น มีอนาคตที่ดีหรือมีโอกาสที่มากว่าดีกว่า แต่ส่วนตัวนั้น อยากทราบ (จากผู้มีประสบการณ์ยิ่งดีครับ) ว่าการที่เราจบมหาลัยแบบบ้าน ๆหรือไม่ได้ดังแบบ ม.กรุง ม.มหิดล ม.ธรรมศาสตร์
อะไรพวกนี้นั้น พอจะเริ่มทำงานจริง ๆ เป็นอย่างไรบ้างครับ โอกาสได้งานที่หวัง ความสุขในที่ทำงาน หรือภาพลักษณ์ทางสังคม ถ้าเทียบกับเพื่อนของท่านที่จบสาขาเดียวกัน แต่จบมหาลัยดัง ๆ ไป
ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าครับ ขอจบกระทู้ไว้สั้นๆแค่นี้พอ
ขอให้นักเรียน / นักศึกษาทั้งหลายประสบความสำเร็จ
เรื่อง คอนเนกชั่น "ม.ดัง" กับ ม.ไม่ดัง มีคนรุ่นพี่ รุ่นพ่อ รุ่นเเม่ รุ่นใหญ่ หลายคนเข้ามาเเสดงความเห็น คอมเมนต์ตอบเจ้าของกระทู้นี้ โดย Top คอมเมนต์ 4 อันดับเเรก ตอบไว้ว่า
"ความจริงในสังคม ม.ดังก็ดีกว่า ได้เปรียบกว่า แน่นอนครับ .............คำว่า เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน ตอบได้เลยครับ ไม่เหมือนกัน"
"ตอบแบบโลกแห่งการทำงานอันโหดร้าย ม.ดังมีผลมากครับ เด็กจบใหม่ มีแค่ Resume กับ Transcript บริษัทจะดูอะไร นอกจากชื่อเสียงของ ม.กับเกรดหรอคับ (ถ้าไม่มี Portfolio)
ถ้าอยากจะหลุด ค่านิยม ม.ดัง คือต้องทำงานไปซักหลายปี จนมีประสบการณ์ตรงสายกับตำแหน่งที่อยากสมัคร ตอนนั้นชื่อเสียงของ ม.ถึงไม่ค่อยมีผลเท่าไหร่คับ"
"ต้องดูก่อนว่า ตั้งเป้าหมายชีวิตยังไง
- เป็นเจ้าของกิจการ = พยายามหาประสบการณ์ ตั้งแต่ต้นน้ำ - ปลายน้ำ
- เป็นลูกจ้าง พยายามเข้า ม.ดังๆ เรียนสาขาที่ตลาดต้องการ "
"จากประสบการณ์ พูดแบบไม่โลกสวย จบ ม.ดัง ยังไงก็เครดิตดีกว่า จริง ๆ คนจบ ม.ไม่ดัง แต่ทำงานเก่ง ๆ มีเยอะมาก แต่ทีนี้เวลาคุณจะรับสมัครใครเข้าทำงาน คนพวกนั้นจะมาโชว์ความสามารถยังไงให้ถูกเรียกไปสัมภาษณ์ เพราะคนรับสมัครเขารู้จักผู้สมัครทุกคนจาก resume ดังนั้นคนที่จบ ม.ดัง จะถูกมองว่ามีความเก่งในระดับนึง เพราะวัดได้จากการสอบเข้าเรียน ยิ่ง ม.ดัง ก็ยิ่งมีการแข่งขันสูง ใช้คะแนนสูง คนที่เข้าไปได้ก็ต้องเก่งระดับนึง การมองแบบนี้ไม่ใช่การดูถูกใคร แต่เป็นการวิเคราะห์ตามความเป็นจริง สำคัญตรงโอกาสที่จะถูกเรียกไปสัมภาษณ์นี่แหละ แต่ตำแหน่งที่ต้องการประสบการณ์ ส่วนมากเขาไม่ค่อยสนใจมหาวิทยาลัยแล้ว เขาอยากได้คนที่มีประสบการณ์ตรง"
นอกจากนี้ ยังมีการเเสดงเห็นคอมเมนต์ถึงกรณีที่ว่า นอกเหนือจากชื่อสถาบัน "ม.ดัง" ก็คือเรื่องของกลุ่มเพื่อนดี ๆ ครับ หรือ คอนเนกชั่น ดี ๆ สำคัญมากต่อให้จบสถาบันดี ๆ ดัง ๆ เกียรตินิยม แต่ตัวคนเดียวไม่เอาเพื่อน ก็ไปได้ไม่ไกล ถ้าได้ทั้ง 2 อย่างจะดีมาก ๆ
"ต้องยอมรับ ว่า connection มันมีอยู่จริง จบ ม.ดัง มีผลสมัครงานแน่ ๆ ในช่วงแรก ยกเว้น คุณทำงานสาย it อย่างพวก programmer แล้วมีผลงาน หรือ ไปงานทางด้าน data sci งี้ ซึ่งพวกนี้ ชื่อเสียงมหาลัยไม่ค่อยมีผล เท่าไหร่ถ้ามีผลงานมา บ้างผลงานฝนที่นี้คือเขียนโปรแกรม เขียนระบบ จริงจัง บลาๆ เพราะสายงานนี้ไม่ค่อยแคร์ชื่อเสียงมหาลัยเท่าไหร่ ครับ อีกอย่างเพราะคนค่อนข้างขาดด้วยละ"
" ม.ดัง ๆ เครดิตดีกว่าต้องยอมรับตรงนี้
แต่สุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับคณะและสายงานที่จบมาด้วย
เพื่อนสนิทผม จบ รัฐศาสตร์ จากเกษตร ใช้เวลาอยู่ เกือบ 2 ปีกว่าจะหางานได้ และงานที่ทำก็ไม่ได้ตรงกับสายที่เรียนมา
แต่อีกคนที่ไม่ได้สนิทมาก คุยกันไม่กี่ครั้ง เรียนจบ ม.ราชภัฎ นิเทศ รับงานพวกออกแบบกราฟฟิก ตัดต่อวิดิโอตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ"
จบมาก็เห็นรับงาน ทำงานตลอด แต่ก็ต้องยอมรับว่ามิตรสหายท่านนี้เค้าเก่ง จริง ๆ เลยไปรอดได้ในสายงานนี้"
"เห็นด้วยกับหลาย ๆ ท่าน .. พูดแบบโลกไม่สวย ยังไงก็มี ผล ครับ
มหาวิทยาลัยรัฐ vs มหาวิทยาลัยเอกชน
มหาวิทยาลัยปิด vs มหาวิทยาลัยเปิด
ชื่อชั้นของมหาวิทยาลัย
มีผลทั้งหมดครับ
ในวงการทำงาน ยิ่งบริษัทใหญ่ ลึก ๆ แต่ละคนรู้ดีว่า บริษัทนี้สีอะไร หมายถึง อาจจะรับสถาบันอื่น แต่ถ้าใครจะขึ้นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงๆ ต้องจบสถาบันนี้เท่านั้น หรือ บางบริษัทก็รู้กันภายในว่า ถ้าตำแหน่งนี้ รับแค่มหาวิทยาลัยนี้เท่านั้น ที่อื่นไม่รับ ส่งมาก็ไม่เรียก
..............
แต่ใช่ว่าจะหมดอนาคต
มหาวิทยาลัย เป็นแค่ใบเบิกทาง ให้คุณมีโอกาสเหนือชาวบ้าน ในการเข้าทำงานบริษัทดี ๆ หรือ ไต่ขึ้นตำแหน่งบน ๆ แต่ถ้าคุณไม่ได้จบสถาบันดัง ๆ คุณก็ต้องไปเริ่มจากบริษัทเล็ก ไต่มาเรื่อย ๆ จนเป็นผู้มีประสบการณ์ หรือ เชี่ยวชาญ แล้วถึงจะไปเข้าบริษัทดัง ๆ ได้ ในฐานะ ผู้เชี่ยวชาญ (ซึ่งถึง ตอนนั้น เค้าไม่ดูสถาบัน ละ ... แต่ยังไปข้างบนสูง ๆ ไม่ได้อยู่ดีนะ)"