เปิด "วิธีจ่ายหนี้ กยศ." วางแผนคืนไว้ก่อน ตอนจ่ายไร้กังวล
เปิดวิธีวางแผน คืน หนี้ "กยศ." หรือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ถ้าใครยังไม่รู้จะวางแผนคืนยังไง เช็ควิธีได้เลย
หลายคนมีหนี้สินติดตัวตั้งแต่ตอนที่เรียนจบ เพราะตอนที่เรียนอยู่เคยกู้ยืม "กยศ." หรือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ดังนั้น เมื่อเรียนจบ มีงานทำ มีรายได้เป็นของตัวเองแล้ว ก็ถึงเวลาที่ต้องเริ่มวางแผนชำระ หนี้ คืน ถ้าใครยังไม่รู้จะวางแผนคืนยังไง วันนี้ คมชัดลึกออนไลน์ จะพามาดูการวางแผนกัน
1. หลักเกณฑ์การชำระหนี้
ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืม พร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืน ให้กองทุนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้
การชำระหนี้งวดต่อๆไปให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี
หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมเงินจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด
หมายเหตุ
(ก)ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนกับผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
(ข)กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมโดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษา และเลขบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ของผู้กู้ไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
2. ช่องทางการชำระหนี้ "กยศ."
ทั้งนี้ กยศ.จะมีหนังสือแจ้งชำระหนี้ครั้งแรกในปีที่ผู้กู้ยืมครบกำหนดชำระหนี้ โดยมีรายละเอียดของจำนวนเงินที่ต้องชำระรายเดือน หรือรายปีให้ผู้กู้ยืมทราบ หากผู้กู้ยืนไม่ได้หนังสือแจ้งภาระหนี้ สามารถตรวจสอบยอดหนี้ที่ต้องชำระด้วยตนเองได้ทางแอปพลิเคชัน กยศ. Connect และเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th นำเงินไปชำระได้ตามช่องทาง ดังนี้
- ธนาคารกรุงไทย
- หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
- หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
- ตู้ ATM
- อินเทอร์เน็ต (www.ktbnetbank.com)
- แอปพลิเคชัน Krungthai Next และแอปพลิเคชัน เป๋าตัง
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- หักผ่านบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
- หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร
- ตู้ ATM
- ชำระหนี้ กยศ.ด้วย QR Code ผ่าน Mobile Banking
- เปิดและบันทึกภาพ QR Code จากแอปพลิเคชัน "กยศ. Connect
- เปิดแอปพลิเคชันของทุกธนาคารที่มี Mobile Banking
- กด สแกนจ่าย
- เลือกภาพ QR Code ที่บันทึกไว้
- ชำระเงิน
ชำระหนี้ กยศ. ด้วยรหัสการชำระเงิน Barcode
แสดง Barcode ที่อยู่ในหนังสือแจ้งภาระหนี้ หรือพิมพ์จากระบบตรวจสอบยอดหนี้ทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th หรือแอปพลิเคชัน "กยศ. Connect ใช้เพื่อชำระหนี้ผ่านหน่วยรับชำระ ดังต่อไปนี้
ไปรษณีย์ไทย
บิ๊กซี
เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ยื่นบัตรประชาชน หรือแจ้งเลขบัตรประชาชน 13 หลัก)
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารไทยธนชาต
ธนาคารกรุงศรี
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกรุงเทพ
หมายเหตุ :
1. ชำระได้เฉพาะผู้กู้ยืมที่ไม่มียอดค้างชำระ และมีสถานะชำระหนี้ปกติตามสัญญา 15 ปี เท่านั้น
2. สามารถตรวจสอบรายการลดหนี้ได้ภายหลังจากวันที่ผู้กู้ยืมชำระเงินไม่น้อยกว่า 2 วันทำการ
3. ผู้กู้ยืมต้องชำระค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมตามเงื่อนไขของแต่ละช่องทางที่ใช้บริการ
วิธีจ่ายหนี้ "กยศ."
1. ตรวจสอบยอดหนี้ กยศ. (กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา) ที่ต้องจ่ายแต่ละปีจากเว็บไซต์ กยศ. www.studentloan.or.th เลือก "ตรวจสอบยอดหนี้ หรือ scan QR code ในรูปนี้
2. คำนวณและวางแผนเก็บเงินเป็นรายเดือน เพื่อจ่ายหนี้ให้ครบตามกำหนด (ภายในวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี)
จำนวนเงินที่ต้องเก็บ = ยอดหนี้รายปี (หาร) จำนวนเดือนที่เหลือก่อนถึงกำหนดชำระ