เด่นโซเชียล

แชร์สนั่น "สาว" ตั้งคำถาม ลาไปงานศพพ่อ 8 วัน โดนบริษัทเชิญออก ฟ้องได้ไหม ?

แชร์สนั่น "สาว" ตั้งคำถาม ลาไปงานศพพ่อ 8 วัน โดนบริษัทเชิญออก ฟ้องได้ไหม ?

17 พ.ย. 2565

 "สาว" สุดกลุ้มออกมาตั้งกระทู้คำถามในโลกออนไลน์ ลาไปงานศพ พ่อตัวเอง แต่โดนบริษัทเชิญ ออก ให้เห็นผลว่า ขาดงานหลายวัน งานนี้ชาวเน็ตตอบสนั่น

กลายเป็นกระแสที่ถูกวิจารณ์อย่างมากในโลกออนไลน์โดยสมาชิก "สาว" PANTIP หมายเลข 7305247 ได้ออกมาตั้งกระทู้โดยระบุว่า ลาไปงานศพ พ่อตัวเอง แต่โดนบริษัทเชิญ ออก ให้เห็นผลว่า ขาดงานหลายวัน !! แบบนี้ฟ้องได้ไหมต้องทำยังไงบ้างค่ะ รายละเอียดทั้งหมดมีดังนี้

 

คิดว่าอย่างไง?
ทำงานอยู่บริษัทแห่งหนึ่งย่านปทุมธานี ทำมาได้ประมาณ 7 เดือน 
เมื่อวันที่07/11/65 พ่อเข้า รพ. โดนปั๊มหัวใจ 4 รอบ ณ. ตอนนั้นพ่ออาการไม่ดีพร้อมไปตลอดจึงต้องขอลางานเพื่อดูอาการพ่อ ขอลา วันที่7,8 บริษัทให้ขาดงานและหักเงิน วันที่9 พ่อเสียชีวิต จึงต้องลางานยาวเพื่อที่จะจัดงานศพพ่อจนกว่าจะเสร็จจึงจะไปทำงานต่อ

 

 

"สาว" รายนี้ยังกล่าวอีกว่า ได้แจ้งฝ่ายบุคคลไปว่าจะไปทำงานวันที่ 16/11/65 แต่เมื่อวันที่15/11/65 ฝ่ายบุคคลโทรมาแจ้งว่าทำหนังสือเชิญออก ให้เหตุผลว่าหยุดงานหลายวัน นี้คือเหตุผลที่เราสมควรโดนเชิญออกใช่ไหม? และไม่มีค่าชดเชยอะไรให้เลย
คือเรากำลังยุ่งกับงานศพพ่ออยู่ คือลางานเพราะต้องจัดงานศพพ่อ คือเรามีพ่อคนเดียว เราไม่ทำใครจะทำ???
หยุดงานตั้งแต่วันที่7/11/65-15/11/65 ลางานทั้งหมด 8 วัน
ล้มแล้วก็ถูกโดนเหยียบซ้ำแบบนี้หรอ?
ควรทำอย่างไง?

หลังจากกระทู้ของ "สาว" รายนี้ออกไป เรยีกได้ว่ากลายเป็นประเด็นที่ชาวเน็ตในโลกออนไลน์ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ต่างได้มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์อย่างหลากหลาย อาทิ 'คุณมีเหตุผลในการลาครับ
นายจ้างให้ออกแบบนี้ต้องจ่ายเงินชดเชย ปรึกษาสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในพื้นที่ดูครับ' , ท่านได้ถูกรางวัลใหญ่แล้วครับ  กรณีนี้ ถือได้ว่าเป็นการให้ออกจากงานด้วยเหตุไม่เป็นธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างยิ่ง..  ท่านควรปรึกษากับ, ผู้รู้หรือผู้ที่มีหน้าที่โดยตรงเลยจะดีกว่า, และควรปรึกษากับทนายความอาวุโส.ที่ทำงานด้านคดีแรงงาน, นิติกรศาลแรงงาน, เจ้าพนักงานแรงานพื้นที่เขตนั้น, เป็นต้น

 

ทั้งนี้ตามกฎหมายสิทธิการลาเพื่อจัดพิธีฌาปนกิจศพนั้น สามารถทำได้ สืบเนื่องจากสังคมไทยยึดถือคุณธรรมในเรื่องความกตัญญูต่อบิดามารดา บรรพบุรุษ สังคมแรงงานก็เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ สถานประกอบกิจการบางแห่ง จึงกำหนดไว้ในระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับฯ ของนายจ้าง ให้ลูกจ้างมีสิทธิขอลาหยุดงานไปจัดพิธีฌาปนกิจหรืองานศพของบิดามารดา บุตร สามี ภริยา ของลูกจ้าง เช่น นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็น แยกต่างหากจากสิทธิลาไปจัดการงานศพ ดังกล่าว



ผลการกำหนดให้สิทธิลาไปจัดงานศพ ของลูกจ้าง ดังกล่าว แสดงว่านายจ้างมีเจตนาแยกออกจากสิทธิลากิจธุระอันจำเป็น และเมื่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ปี 2562 ที่กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นให้ลูกจ้างมีสิทธิลาได้อย่างน้อย 3 วันทำงานโดยได้รับค่าจ้าง อันเป็นผลให้นายจ้างอาจจะต้องไปกำหนดไว้ในข้อบังคับฯ



ฉะนั้น นายจ้างก็จะไปแก้ไขยกเลิกสิทธิลาไปจัดงานศพบุคคลในครอบคนัวของลูกจ้าง ไม่ได้ เพราะไปริดรอนสิทธิการลาหยุดงานของลูกจ้างเดิมลง