เด่นโซเชียล

เปิด โรค ต้องห้าม เป็น "ข้าราชการตำรวจ" ป่วย แบบไหน เป็นไม่ได้

เปิด โรค ต้องห้าม เป็น "ข้าราชการตำรวจ" ป่วย แบบไหน เป็นไม่ได้

20 ส.ค. 2565

เช็ค 11 โรค ต้องห้าม เป็น "ข้าราชการตำรวจ" ภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยจิตเวช เป็นได้หรือไม่ หลัง ตำรวจหญิง ทารุณสาวรับใช้ อ้าง ป่วย ควบคุมตัวเองไม่ได้

จากกรณีข่าวฉาว อดีตทหารหญิง เข้าแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ ระบุว่า ถูกนายจ้าง ซึ่งเป็น "ตำรวจหญิง" ยศ ส.ต.ท. บังคับใช้แรงงาน ดูแลรับใช้ และทำร้ายร่างกาย โดยเหตุเกิดขึ้นภายในบ้านพื้นที่ จ.ราชบุรี โดยล่าสุด ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม อายุ 43 ปี ผบ.หมู่ กก.4 บก.1 ผู้ถูกกล่าวหา ได้เดินทางเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน สภ.เมืองราชบุรีแล้ว โดยอ้างว่า มีอาการไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และนำใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ โดยในใบรับรองแพทย์ระบุว่า ส.ต.ท.หญิง มีอาการป่วย ควบคุมตัวเองไม่ได้เป็นระยะ และรับการรักษาต่อเนื่องมาประมาณ 2 ปี แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นโรคอะไร

ขณะที่ กัน จอมพลัง ซึ่งเป็นบุคคลที่พาผู้เสียหายเข้าแจ้งความ ได้โพสต์ข้อความชวนคิด ถึงโรคประจำตัว หากเป็นแล้ว ไม่สามารถเข้ารับราชการตำรวจได้ คมชัดลึกออนไลน์ ได้นำประกาศโรงพยาบาลตำรวจ ที่ลงในราชกิจจานุเบกษา ที่ว่าด้วยคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของการเป็นข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547 มาเป็นความรู้ ดังนี้

 

 

1. ร่างกายผิดปกติ หรือพิกลรูป หรือพิการ

    1.1 ศีรษะและหน้าผิดรูปจนดูน่าเกลียด

    1.2 รูปวิปริตต่างๆของริมฝีปาก หรือจมูก เช่น ปาก จมูกแหว่ง เพดานโหว่ ริมฝีปากแบะ เชิด หรือหุบไม่ลง

    1.3 ซอกคอ หรือซอกรักแร้ติดกัน

  • การขยับของคอหรือไหล่ หากเป็นน้อยขยับได้ปกติ ถือว่าผ่าน หากเป็นมากหรือชัดเจน และขยับได้ไม่เต็มที่ ก้ม เงย หมุนเอียงคอ ขยับไหล่ยกได้ไม่สุด เกาหลังได้ไม่ถึงกลางหลัง ให้ถือว่า ไม่ผ่าน

     1.4 แขน ขา

  • ยาวไม่เท่ากันหรือผิดรูปจนมองเห็นได้ชัด (ขายาวไม่เท่ากัน ห่างกันเกิน 2 ซม. และเดินกะเผลกชัด วัดโดยนอนวัดจากสะดือไปยังตาตุ่มด้านในทั้ง 2 ข้าง ต้อนนอนตัวไม่เอียง)(แขนยาวไม่เท่ากัน ห่างกันเกิน 3 ซม. วัดจากกระดูกหัวไหล่ ถึงปลายนิ้วกลาง ขณะที่ข้อไหล่หุบเข้าและข้ออื่นอยู่ในท่ากลาง)
  • โค้งเข้า หรือโค้งออก (เข่าโค้งออก หรือเข่าโก่ง ประมาณกว้าง 4 นิ้วมือ ยืนตรงฝ่ามือสอดผ่านได้
  • เข่าชิด ปลายเท้าจะห่าง หากห่างกันเกิน 4 นิ้วมือ
  • แขนคอก
  • บิดเก

    1.5 มือหรือเท้า

  • บิดเก (ดูจากการทำงานของมือและเท้ กำแบ ทำวันทยาหัตถ์)
  • นิ้วมือหรือเท้าด้วน
  • นิ้วมือหรือเท้า มีจำนวนมากหรือน้อยกว่าปกติ
  • นิ้วบิดเกทำงานไม่ถนัด (ดูจากการทำงาน กำแบ ทำวันทยาหัตถ์)
  • ช่องระหว่างนิ้ว ติดกัน
  • มือหรือเท้าผิดรูป (กรณีเดินแบะอย่างหนึ่ง และเท้าแบนไม่มีอุ้งเท้า ซึ่งเป็นแบบติดแข็ง)

2. กระดูกและกล้ามเนื้อ

   2.1 ข้อเคลื่อนไหวไม่สะดวกจนทำให้อวัยวะที่ติดกันกับข้อนั้นใช้การไม่ได้

   2.2 ข้อหลวมหลุดบ่อยๆ

   2.3 ข้ออักเสบจนกระดูกเปลี่ยนรูป

   2.4 คอเอียงหรือแข็งทื่อ เนื่องจากกระดูกหรือกล้ามเนื้อพิการ

   2.5 กระดูกสันหลังคด หรือโกง หรือแอ่น (ให้ยืน ก้มตัว ให้ลำตัวขนานกับพื้นแล้วดูว่าหลังบิดนูนขึ้นผิดปกติหรือไม่ หรือ ทำการเอ็กซเรย์ หากพบว่ากระดูกสันหลังมีมุมมากกว่าหรือเท่ากับ 15 องศา ถือว่าไม่ผ่าน)

   2.6 เท้าปุก

   2.7 กระดูกอักเสบ

   2.8 กระดูกหัก ต่อไม่ติด หรือติดแล้วแต่มีความพิการผิดรูป

   2.9 กล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเหี่ยวลีบ

 

3.ผิวหนัง

 

   3.1 โรงผิวหนังทุกชนิดซึ่งเป็นที่รังเกียจแก่ผู้อื่น

  • รวมถึงเนื้องอกเล็กๆ เป็นปุ่มๆที่ผิวหนัง
  • กรณีแผลเป็น ไฝ ปาน รอยสัก ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมกันมีขนาดเกิน 16 ตารางเซนติเมตร

   3.2 แผลเรื้อรังของผิวหนังซึ่งยากต่อการรักษา

   3.3 เนื้องอกที่หน้า

   3.4 คนเผือก

 

4. ตา หู คอ จมูก

 

    4.1 ตาเหล่

    4.2 ต้อกระจก

    4.3 แผลเป็นที่ตาหรือกระจกตาดำขุ่น ตรวจพบได้ด้วยตาเปล่า

    4.4 ลูกตาสั่น

    4.5 หนังตาตก หรือตาม้วนออกนอก หรือหนังตาม้วนเข้าใน

    4.6 หนังตาแหว่งจนเสียรูป

    4.7 หนังตาปิดไม่สนิท

    4.8 ถุงน้ำตาอักเสบเรื้อรัง

    4.9 ต้อเนื้องอกเข้าไปในลูกตาดำเกินกว่า 1 มิลลิเมตร

    4.10 ตาโปน

    4.11 ต้อหิน

    4.12 ช่องหนังตา

    4.13 เคยผ่าตัดกระดูกมาสตอยด์ออกทั้งหมด

    4.14 หูหนวก

    4.15 แก้วหูทะลุเกิน 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลาง

    4.16 หูน้ำหนวกมีหนองเรื้อรัง

 

5. ฟัน

    5.1ฟันผุตั้งแต่ 5 ซี่ ขึ้นไป

    5.2 ไม่มีฟันเกินกว่า 5 ซี่ เว้นแต่ใส่ฟันปลอมเรียบร้อยแล้ว

    5.3 มีรากฟันเหลืออยู่ในช่องปากมากกว่า 3 ซี่

    5.4 เป็นโรคปริทันต์จนเห็นอาการชัดเจน

    5.5 การขบฟันผิดปกติอย่างมากขัดต่อการเคี้ยวอาหารหรือรูปลักษณ์หน้าเปลี่ยนไปชัดเจน

 

6. ระบบหัวใจ และหลอดเลือด

 

    6.1 หัวใจเต้นเร็วกว่า 110 ครั้งต่อนาที หรือช้ากว่า 45 ครั้งต่อนาที

    6.2 ความดันเลือดสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท

    6.3 ลักษณะแสดงทางอีซีจีผิดปกติ

    6.4 หัวใจขนาดโตมากผิดปกติ

    6.5 หัวใจพิการแต่กำเนิด

    6.6 หัวใจวายและมีเลือดคั่ง

    6.7 เสียงของหัวใจ (รั่ว/ตีบ) ผิดปกติ

    6.8 อนิวริซึมของหลอดเลือดใหญ่

    6.9 หลอดเลือดดำขอดอยู่ที่ถุงอัณฑะ ขา หรือแขน จนเห็นชัด

 

7. ระบบหายใจ

 

    7.1 หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

    7.2 ถุงลมโป่งพอง

    7.3 มีน้ำหรือหนองหรือลม ในช่องเยื่อหุ้มปอด

    7.4 วัณโรค

    7.5 โรคหืด

    7.6 ปอดอักเสบ

 

8. ระบบทางเดินอาหาร

 

    8.1 ตับหรือม้ามโต

    8.2 ตับแข็ง

    8.3 ฝีที่ตับ

    8.4 ดีซ่าน

    8.5 ท้องมาน

    8.6 รูปแผลเรื้อรัจากฟีสตูลา หรือไซนัสที่ผนังหน้าท้อง

    8.7 ไส้เลื่อนทุกชนิด

    8.8 ริดสีดวงทวารหนักที่เห็นได้ชัด

    8.9 ทวารหนักอักเสบ หรือส่วนสุดท้ายของลำไส้ปริ้นออกมา

   8.10 ฝีคัณฑสูตร

 

9. ระบบทางเดินปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งกามโรค

10. ระบบจิตประสาท

 

     10.1 ผู้ป่วยจิตเวช

    10.2 โรคประสาทอย่างรุนแรง

    10.3 เป็นใบ้ พูดไม่ชัด หรือพูดติดอ่าง

    10.4 ปัญญาอ่อนหรือภาวะสมองเสื่อม

    10.5 อัมพาตหรือเคลื่อนไหวผิดปกติ

    10.6 โรคลมชัก

 

11.เบ็ดเตล็ด

 

    11.1 โรคคอหอยพอกเป็นพิษ

    11.2 โรคเก๊าท์

    11.3 โรคอ้วนพีหรือต่อมไทรอยด์ผิดปกติ

    11.4 เบาหวาน

    11.5 ร่างกายโตผิดปกติ

    11.6 โรคอ้วนพี มีดัชนีความหนาของร่างกาย ตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป

    11.7 โรคของเลือด (โลหิตจาง ในผู้หญิงมีฮีโมโกลบิน น้อยกว่า 10 หรือความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคณะแพทย์ รพ.ตำรวจ)

    11.8 โรคติดเชื้อ (โรคเรื้อน ,โรคติดเชื้อที่แสดงอาการรุนแรง ,โรคเอดส์ , เนื้องอกไม่ร้ายที่มีขนาดใหญ่ , เนื้องอกร้ายไม่ว่าที่อวัยวะใด )

    11.9 โรคติดยาเสพติดให้โทษ

    11.10 โรคพิษสุราเรื้อรัง

    11.11 โรคหรืออาการอื่นใด ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจคณะกรรมการแพทย์ รพ.ตำรวจเห็นว่าไม่ควรเป็นข้าราชการตำรวจ

** ไม่เป็นผู้มีสายตาผิดปกติ ตรวจแบบเสนลเลน (ปกติ 6/6)

** ไม่เป้นผู้มีตาบอดสี

** ไม่เป็นผู้ที่มีแผลเป็น ไฝ ปาน รอยสัก หูดหรือชีสต์ ที่ส่วนต่างๆของร่างกายซึ่งขนาดใหญ่หรือมากจนแลดูน่าเกลียด

 

 

อ่านระเบียบข้าราชการตำรวจ ฉบับเต็ม คลิกที่นี่

 

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote 

https://www.komchadluek.net/entertainment/524524