เด่นโซเชียล

"หนุ่ม" ช็อก สุขภาพ แข็งแรง เจอ "มะเร็งตับ" พบ สาเหตุหลัก ดื่มนม ทุกวัน

"หนุ่ม" ช็อก สุขภาพ แข็งแรง เจอ "มะเร็งตับ" พบ สาเหตุหลัก ดื่มนม ทุกวัน

08 ต.ค. 2565

อุทาหรณ์ "หนุ่ม" จีน สุขภาพ แข็งแรง มาโดยตลอด เจอ ป่วย "มะเร็งตับ" พบ สาเหตุหลัก มาจาก "ดื่มนม" ไม่ผ่านการ พาสเจอร์ไรส์ ตอนเช้า ทุกวัน

โดย "หนุ่ม" รายนี้ เป็นหนุ่มจีนแผ่นดินใหญ่ ชื่อว่า เซียวกัง อายุ 28 ปี ก่อนที่จะตรวจพบว่าป่วยเป็นโรค "มะเร็งตับ" เค้ามีอาการอ่อนแรงที่มือ และ เท้า จึงไปหาหมอที่โรงพยาบาล ซึ่งหมอพบว่า มีอาการท้องเสียอย่างต่อเนื่อง และ รูม่านตาเหลือง เมื่อตรวจอย่างละเอียด จึงพบว่า เค้าเป็นมะเร็งตับในระยะเริ่มต้น ซึ่งผลตรวจที่เกิดขึ้น ทำให้เค้ารู้สึกประหลาดใจมาก เพราะตลอดระเวลาที่ผ่านมา เค้ามีสุขภาพแข็งแรงมาโดยตลอด

จากการซักถามประวัติของแพทย์ พบว่า นอกจากชายหนุ่มรายนี้ จะทำงานจนดึกเป็นประจำแล้ว เขายังดื่มนมเป็นประจำทุกวันตอนเช้า แต่นมสดที่เค้าดื่มทุกวัน เป็นนมสด (น้ำนมดิบ) ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิสูง หรือ พาสเจอร์ไรส์ และระยะเวลาในการจัดเก็บค่อนข้างสั้น

 

 

นอกจากนั้น หากยังดื่มนมไม่หมด เขาจะเก็บเข้าตู้เย็น แล้วนำออกมาดื่มเมื่อต้องการ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว นมสดที่ไม่ผ่านกรรมวิธี จะถูกเก็บไว้เหมือนน้ำนมดิบ ซึ่งทำให้น้ำนมดิบ ผลิตแบคทีเรีย และสารพิษที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะสารก่อมะเร็ง เช่น อะฟลาทอกซิน เมื่อร่างกายดูดซึมเข้าไป มันจะเข้าไปทำลายตับอย่างรุนแรง และนำไปสู่การเกิดโรค มะเร็งตับได้

นมสด

ทั้งนี้ แพทย์โรคตับและท่อน้ำดี เตือนว่า เวลาในการเผาผลาญและล้างพิษของตับ คือตั้งแต่เวลา 22.00 น. ถึง 03.00 น. ดังนั้น พฤติกรรมการนอนดึก ก็อาจทำลายตับ และทำให้เกิดมะเร็งได้ นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ก็อาจทำให้ตับถูกทำลายได้เช่นกัน ซึ่งแพทย์แนะนำว่า ควรออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อเผาผลาญ และส่งเสริมการไหลเวียนโลหิต เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ไทเก็ก เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นต่ำ

 

 

การ ป้องกัน โรค มะเร็งตับ

 

  •  ลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้เป็นโรคตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับได้
  •  ผู้ที่เป็นพาหะ หรือสงสัยว่าเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือด และตรวจหามะเร็งตับระยะแรกทุก ๆ 6 เดือน
  •  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เช่น ถั่วลิสงบด, หัวหอม, พริกแห้ง และกระเทียมที่มีราขึ้น เพราะสารพิษชนิดนี้มีความทนทานต่อความร้อนสูง ไม่สามารถทำลายได้ แม้จะนำไปประกอบอาหารผ่านความร้อน
  •  หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารไนโตรซามีน (Nitrosamine) เช่น อาหารจำพวกโปรตีนหมัก เช่น ปลาร้า, ปลาส้ม, หมูส้ม และแหนมเป็นต้น  อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว เช่น ไส้กรอก, กุนเชียง, เนื้อเค็ม, และปลาเค็มเป็นต้น  
  •  ไม่รับประทานปลาน้ำจืดแบบดิบ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ
  •  ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่แรกเกิด

มะเร็งตับ

 

การรักษา โรค มะเร็งตับ

     

หลักการรักษามะเร็งตับ คือ ถ้าอยู่ในระยะที่สามารถผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ ก็จะใช้วิธีการผ่าตัด หรือการปลูกถ่ายตับ แต่ถ้าอยู่ในระยะโรคที่ก้อนมีขนาดใหญ่มาก หรือมีหลาย ๆ ก้อน เช่น 3-5 ก้อนขึ้นไป อาจจะต้องใช้วิธีการรักษาด้วยวิธีฉีดยาเคมีบำบัดเข้าทางเส้นเลือด หรือการรับประทานเคมีบำบัด หรือการรักษาตามอาการในผู้ป่วยระยะท้าย ๆ แต่ปัญหาที่มักเจอได้บ่อย ๆ คือ คนทั่วไปมักจะไม่ให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรอง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตมาก มีน้ำในช่องท้อง ซึ่งอาการดังกล่าวจะอยู่ในระยะที่ไม่สามารถผ่าตัดได้แล้ว ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคระบบทางเดินอาหารและตับ เป็นสิ่งที่จำเป็น หากพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อย เช่น เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย จุกชายโครงขวา ควรมาพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจคัดกรอง

 

 

ที่มา : ettoday

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลนนทเวช

 

 

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057