เด่นโซเชียล

สรุปดราม่า 'อาหารพื้นถิ่น' อาหาร แบบนี้เหรอ จังหวัด เรา

สรุปดราม่า 'อาหารพื้นถิ่น' อาหาร แบบนี้เหรอ จังหวัด เรา

02 ก.ย. 2566

สรุปประเด็นดราม่า '1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น' ชาวเน็ต คนพื้นที่ งง 'อาหารพื้นถิ่น' แบบนี้เหรอ จังหวัด เรา

เมนู 77 “อาหารพื้นถิ่น” 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ที่กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศ เพื่อยกระดับอาหารพื้นถิ่น เหมือนจะเป็นเรื่องดี แต่กลายเป็นประเด็นดราม่า เมื่อบางจังหวัด คนพื้นที่เอง ถึงกับงง และ ออกมาบอกว่า อยู่ในพื้นที่ แต่ไม่เคยได้ยิน และไม่เคยได้กิน คมชัดลึก สรุปประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้น

1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น

1. กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขับเคลื่อนกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ภายใต้โครงการการส่งเสริม และพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste ประจำปีงบประมาณ 2566

 

 

2. อาหารพื้นถิ่นทั้งหมดจะมี 77 เมนู จาก 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร มีเกณฑ์การคัดเลือกจากอาหารไทยท้องถิ่น หรืออาหารพื้นบ้านทั้ งคาวและหวาน ที่หารับประทานได้ยาก โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ร่วมกับสภาวัฒนธรรมจังหวัด คัดเลือกจังหวัดละ 3 เมนู และกลุ่มส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมคัดเลือกอีก 3 เมนู ก่อนจะรวบรวมทั้งหมด แล้วนำส่งให้ “กรมส่งเสริมวัฒนธรรม” คัดเลือกให้เหลือเพียงเมนูเดียว เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด

ขนมตดหมา

3. อาหารพื้นถิ่น แต่ละจังหวัด 77 เมนู ประกอบด้วย

 

1. ข้าวตอกตั้ง - กรุงเทพมหานคร

2. แกงมัสมั่นกล้วยไข่ - กำแพงเพชร

3. ยำไกน้ำของ (สาหร่ายแม่น้ำโขง) -เชียงราย

4. ตำจิ๊นแห้ง -เชียงใหม่

5. เมี่ยงจอมพล - ตาก

6. ทอดมันปลากราย - นครสวรรค์

7. แกงแคไก่พื้นเมือง - น่าน

8. หลนปลาส้มพะเยา - พะเยา

9. ยำส้มโอกระทงทองสูตรเมืองชาละวัน - พิจิตร

10. น้ำพริกเม็ดบัวปลาย่าง - พิษณุโลก

11. ปิ้งไก่ข้าวเบือ - เพชรบูรณ์

12. น้ำพริกน้ำย้อย - แพร่

13. ข้าวส้ม โถ่โก้ – แม่ฮ่องสอน

14. ยำปลาแห้ง - ลำปาง

15. แกงฮังเลลำไย อำเภอเมืองลำพูน - ลำพูน

16. ข้าวเปิ๊บสุโขทัย - สุโขทัย

17. อั่วบักเผ็ด - อุตรดิตถ์

18. ข้าวแดะงา - กาฬสินธุ์

19. ปลาแดกบองสมุนไพร - ขอนแก่น

20. คั่วเนื้อคั่วปลา - ชัยภูมิ

21. เมี่ยงตาสวด - นครพนม

22. เมี่ยงคำ (โคราช) - นครราชสีมา

23. หมกหม้อปลาน้ำโขง - บึงกาฬ

24. ขนมตดหมา - บุรีรัมย์

25. แจ่วฮ้อนท่าขอนยาง - มหาสารคาม

26. ตำเมี่ยงตะไคร้ ลำข่าสดใส่มดแดง - มุกดาหาร

27. อั่วกบ (กบยัดไส้) – ยโสธร

28. ข้าวปุ้นน้ำยาปลาหลด - ร้อยเอ็ด

29. ส้าปลาน้ำโขง - เลย

30. ละแวกะตาม - ศรีสะเกษ

31. แกงหวาย - สกลนคร

32. เบาะโดง (น้ำพริกมะพร้าวโบราณ) - สุรินทร์

33. หลามปลาน้ำโขง - หนองคาย

34. เมี่ยงคำลำภู - หนองบัวลำภู

35. อู๋พุงปลา - อำนาจเจริญ

36. ข้าวต้มมัดบัวแดง อำเภอเมืองอุดรธานี - อุดรธานี

37. ลาบหมาน้อย - อุบลราชธานี

38. แกงส้มญวน - กาญจนบุรี

39. ต้มปลาร้าหัวตาล - ชัยนาท

40. ยำส้มโอ - นครปฐม

41. ข้าวตอกน้ำกะทิทุเรียนนนท์ – นนทบุรี

42. เมี่ยงคำบัวหลวง - ปทุมธานี

43. แกงคั่วส้มหน่อธูปฤาษีกับปลาช่อนย่าง - ประจวบคีรีขันธ์

44. แกงเหงาหงอด - พระนครศรีอยุธยา

45. แกงหัวตาล - เพชรบุรี

46. แกงกะลากรุบ -ราชบุรี

47. ยำปลาส้มฟัก - ลพบุรี

48. แกงรัญจวน - สมุทรสงคราม

49. ต้มยำปลาทูโบราณ - สมุทรสาคร

50. แกงบวน - สิงห์บุรี

51. ปลาหมำสมุนไพรทอดกรอบ - สุพรรณบุรี

52. ปลาแนม - อ่างทอง

53. ต้มส้มปลาแรด - อุทัยธานี

54. ลุกกะทิ หรือน้ำพริกกะทิชองพร้อมผักเคียง - จันทบุรี

55. หมูหงส์ – ฉะเชิงเทรา

56. ปลาคก - ชลบุรี

57. แกงเลียงกะแท่งหอยนางรม - ตราด

58. น้ำพริกป่ามะดัน - นครนายก

59. แกงกะทินางหวาน - ปราจีนบุรี

60. แกงส้มผักกระชับ - ระยอง

61. ขนมย่างจากใจ - สมุทรปราการ

62. น้ำพริกกะสัง - สระแก้ว

63. ลาบหัวปลี - สระบุรี

64. ปลาจุกเครื่อง -  กระบี่

65. แกงส้มหยวกกล้วยกับหมูสามชั้น - ชุมพร

66. โกยุก - ตรัง

67. ขนมปะดา - นครศรีธรรมราช

68. อาเกาะ - นราธิวาส

69. ข้าวยำ - ปัตตานี

70. อาจาดหู – พังงา

71. แกงขมิ้น : พัทลุง

72. น้ำซุปเมืองหลาง 9 อย่าง - ภูเก็ต

73. ข้าวยำโจร (ข้าวยำคลุกสมุนไพร) - ยะลา

74. ก็กซิมบี้ - ระนอง

75. ข้าวสตู - สงขลา

76. ข้าวเหนียวเหลืองแกงแพะ - สตูล

77. แกงขมิ้นไตปลาโบราณ - สุราษฎร์ธานี

 

 

4. แต่หลังจากที่มีการประกาศเมนู “อาหารพื้นถิ่น” 77 เมนู ออกไปไม่นาน ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงเมนูอาหารจังหวัดต่างๆ ที่ถูกคัดเลือกมาว่า บางเมนูไม่ตรงกับของกินประจำถิ่นนั้นๆ

 

 

5. อาหารที่ชาวเน็ตสงสัยกันมากที่สุดก็คือ เมนู “แกงรัญจวน” ถูกประกาศให้เป็นเมนูประจำ จ.สมุทรสงคราม และ “กะลากรุบ” ซึ่งเป็นหนึ่งในเมนูพื้นเมืองของ สมุทรสงคราม ใช้มะพร้าวจากชุมชนเป็นวัตถุดิบหลัก รวมถึงเป็นไฮไลต์ของกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนอีกด้วย แต่ดันถูกระบุว่าเป็นอาหารของ จ.ราชบุรี

อาหารพื้นถิ่นโคราช

 

6. ไม่จบแค่นั้น นอกจากสองเมนูที่ว่า ชาวเน็ต รวมทั้งคนในพื้นถิ่นเอง ยังงงกับเมนูที่ตั้งขึ้น ว่านี่เป็นเมนูบ้านฉันเหรอ อาทิ

 

  • กรุงเทพมหานคร = ข้าวตอกตั้ง
  • เชียงใหม่ = ตำจิ๊นแห้ง
  • ระยอง = แกงส้มผักกระชับ
  • ชลบุรี = ปลาคก
  • ฉะเชิงเทรา = หมูหงส์
  • ขอนแก่น = ปลาแดกบองสมุนไพร
  • นครราชสีมา = เมี่ยงคำ
  • บุรีรัมย์ = ขนมตดหมา
  • อุดรธานี = ข้าวต้มมัดบัวแดง
  • นนทบุรี = ข้าวตอกน้ำกะทิทุเรียนนนท์
  • ปทุมธานี = เมี่ยงคำบัวหลวง
  • พระนครศรีอยุธยา = แกงเหงางอด
  • ภูเก็ต = น้ำซุปเมืองหลาง 9 อย่าง
  • สงขลา = ข้าวสตู
  • สมุทรปราการ = ขนมย่างจากใจ

ขนมพื้นถิ่น

 

อย่างไรก็ตาม จากกระแสดราม่าที่เกิดขึ้น มีสองมุม มุมหนึ่งมองว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และอาหารพื้นถิ่น ส่วนอีกมุมก็มองว่า “กรมส่งเสริมวัฒนธรรม” ใช้เกณฑ์อะไรเป็นมาตรฐานตัดสิน