เด่นโซเชียล

สุดสงสัย สาวกิน 'ซูชิ' ร้านดัง น้ำ-อาหารหยิบเอง ทำไมต้องจ่ายเซอร์วิสชาร์จ

สุดสงสัย สาวกิน 'ซูชิ' ร้านดัง น้ำ-อาหารหยิบเอง ทำไมต้องจ่ายเซอร์วิสชาร์จ

25 ธ.ค. 2566

สุดสงสัย สาวไปกิน 'ซูชิ' ร้านดัง น้ำ-อาหารหยิบเอง ทำไมต้องจ่ายค่า service charge (เซอร์วิสชาร์จ) ข้องใจพนักงานมาเซอร์วิสตอนไหน?

เป็นเรื่องข้องใจ ที่หลายคนเห็นแล้วก็ต้องเอ๊ะตาม เมื่อสาวรายหนึ่งออกมาถามชาวโซเชียลด้วยความสงสัยว่า ร้าน "ซูชิ" สายพานชื่อดัง ที่ให้เดินไปกดน้ำดื่มเอง น้ำชาก็ต้องชงเองที่โต๊ะ พนักงานเขามาเซอร์วิสลูกค้าตอนไหน ทำไมตอนจ่ายเงินต้องเสียค่า service charge (เซอร์วิสชาร์จ)

 

 

วันที่ 25 ธ.ค. 2566 มีเรื่องที่ทำให้หลายคนสงสัย เนื่องจากมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งออกมาโพสต์เรื่อง service charge (เซอร์วิสชาร์จ) ของร้าน "ซูชิ" ดังในไทย ที่ไม่ได้รับบริการใดๆ จากทางพนักงานเลย จึงข้องใจว่าทำไมถึงต้องจ่ายค่าเซอร์วิสชาร์จด้วย

 

โดยในโพสต์ของเธอระบุไว้ว่า สงสัยเรื่อง service charge ร้าน "ซูชิ" ที่ใช้สายพานในการเสิร์ฟ น้ำดื่มก็ให้เดินไปกดเอง น้ำชาก็ชงเองที่โต๊ะ พนักงานเขามาเซอร์วิสเราตอนไหนคะ เท่าที่นึกออกคือ แค่มาต้อนรับ แนะนำเมนู (ซึ่งเราว่าไม่ต้องก็ได้ค่ะ อยากดูเอาเอง) แล้วก็คิดเงิน ส่วนตัวเราไปกินคนเดียวก็ประมาณ 20+ จาน รวม SC ก็ตกประมาณพันนึง กินทีไรก็สงสัยทุกที แต่ก็ยังชอบไปกินบ่อยๆ เพราะอร่อยค่ะ

 

ซูชิ

 

 

หลังเรื่องร้าน "ซูชิ" ดังกล่าว ถูกแชร์ไปในโลกออนไลน์ ชาวเน็ตต่างเข้ามาคอมเมนต์สนั่น ความเห็นแตกเป็น 2 ฝั่ง ฝ่ายแรกมองว่ารู้สึกสงสัยเช่นกัน ว่าทำไมต้องจ่ายซึ่งร้าน "ซูชิ" ดังกล่าว สาขาต้นฉบับในประเทศญี่ปุ่นไม่มีการเก็บค่า service charge (เซอร์วิสชาร์จ) แต่พอมาเปิดที่ไทยกลับมาเก็บเพิ่ม 

 

ส่วนอีกฝั่งกลับมองว่าอาจจะเป็นค่าเก็บจานเช็ดโต๊ะ ค่าแอร์ค่าไฟของสายพาน หรือค่าแรงของพนักงานที่ปั้น "ซูชิ" แต่ก็มีคนมาสวนว่านั่นคือหน้าที่ของพนักงานและส่วนนั้นร้านต้องเป็นคนจ่าย ไม่ใช่ส่วนที่ลูกค้าต้องจ่ายเพิ่มให้ 

 

ซูชิ

 

เซอร์วิสชาร์จในร้านอาหาร คือค่าอะไร ?

 

เรามักจะเห็นในใบเสร็จท้ายบิลค่าอาหาร ที่มีการแจกแจง Vat 7% และค่าบริการ หรือเซอร์วิชชาร์จ 10% เป็นการเก็บเพิ่มนอกเหนือจากค่าอาหาร ซึ่งเซอร์วิชชาร์จ เป็นค่าบริการที่ร้านอาหาร คิดเพิ่มจากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ และถือเป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งที่นำมาแบ่งให้แก่พนักงานในแต่ละเดือน

 

ส่วนอัตราการเรียกเก็บ เซอร์วิสชาร์จ ที่เหมาะสม ตามกฎหมายที่กรมการค้าภายในกำกับอยู่คือ ต้องไม่เกิน 10% เนื่องจากเป็นอัตราราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รับทราบตามสากลและยอมรับได้ ซึ่งแม้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคจะไม่ได้กำหนด ถ้าไม่มีป้ายแสดงชัดเจน ครบถ้วน ไม่จำเป็นต้องจ่าย

 

ซุชิ