ได้คำตอบ 'ส่งเด็ก 7 เดือน' ผ่าหัวใจ หนองคาย-กรุงเทพฯ ทำไมไม่ใช้เฮลิคอปเตอร์
ไขข้อสงสัย 'ส่งเด็ก 7 เดือน' ผ่าตัดหัวใจจากโรงพยาบาลหนองคาย-โรงพยาบาลจุฬาฯ ทำไมไม่ใช้เฮลิคอปเตอร์ รู้เหตุผลแล้วร้องอ๋อทันที
หลังจากที่วานนี้มีภาระกิจสำคัญในการ "ส่งเด็ก 7 เดือน" เข้ารับการผ่าตัดหัวใจในโครงการ "รักษ์หัวใจเด็ก (น้อย) ข้ามโขง" โดยเป็นการเดินทางจากหนองคาย มายัง รพ.จุฬาลงกรณ์ ระยะทางกว่า 500 กม. ใช้เวลา 6 ชม. โดยการส่งตัว "ส่งเด็ก 7 เดือน" เป็นการส่งตัวโดยใช้รถพยาบาล
อย่างไรก็ตามภาระกิจ "ส่งเด็ก 7 เดือน" ผ่าตัดหัวใจนั้นไม่เป็นภาระกิจที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นการนำส่งอวัยวะเท่านั้น ทั้งนี้ภาร ส่งเด็ก 7 เดือนผ่านตัดหัวใจ สร้างความสงสัยอย่างมากว่าทำไมไม่ส่งตัวด้วยเฮลิคอปเตอร์ โดยที่ผ่านมา นพ.สมศักดิ์ ประฎิภาณวัตร ผอ.รพ.หนองคาย บอกว่าเป็นเพราะเด็กมีอาการป่วยด้วยโรคผนังหัวใจรั่วและอายุน้อย ความกดอากาศอาจทำให้เด็กร้องจนตัวเขียวซึ่งไม่ปลอดภัยกับเด็ก
นอกจากนี้ เพจ Drama-addict อธิบายถึงขั้นตอนการ "ส่งเด็ก 7 เดือน" เข้ารับการผ่าตัดหัวใจจาก โรงพยาบาลหนองคายมายังโรงพยาบาลจุฬาฯ เอาไว้ว่า บางคนก็สงสัยว่า เพราะคนไข้เป็นชาวบ้านธรรมดาเป็นคนยากคนจนหรือเปล่า
อันนี้บอกเลยว่าไม่เกี่ยว มีเพื่อนในวงการที่ทำงานด้านนี้โดยเฉพาะเขาเอาคอปเตอร์ไปรับเคสส่งเคสผู้ป่วยชาวบ้านคนจน ที่ชนบทมาไม่รู้กี่เคสแล้วเคสต่างด้าวก็ขนด้วยคอปเตอร์มาแล้วหลายเคส
แต่การส่งตัวเคสแต่ละเคสจะมีรายละเอียดปลีกย่อย ที่ต้องพิจารณาพิจารณาเป็นเคสเคสไปอย่างเคสเด็กคนนี้ น้องอาการไม่คงที่มีภาวะตัวเขียวเป็นพักๆ ซึ่งถ้าอาการแย่ลงระหว่างส่งตัวจะต้องแวะเข้าโรงพยาบาลระหว่างทาง เพื่อทำการรักษาและประเมินอาการก่อนเดินทางต่อไป
ดังนั้นทางทีมส่งตัวผู้ป่วยคงประเมินแล้วว่า ส่งด้วยวิธีการนี้จะปลอดภัยและมีความเสี่ยงน้อยกว่าก็ประมาณนี้ครับผม และสุดท้ายน้องก็ไปถึงที่หมายโดยปลอดภัย ขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่าน และขอบคุณประชาชนที่ช่วยกันเปิดทางระหว่างน้องเดินทางไปจุฬาครับอนึ่ง เคสแบบนี้เวลาตัดสินใจวิธีการส่งตัว จะมีหมอและ จนท ตัดสินใจร่วมกันหลายคน คงผ่านการพิจารณารอบคอบแล้วว่า วิธีไหนเหมาะสมสุดตามสถานการณ์และทรัพยากรที่มี เรื่องแบบนี้ ต้องเชื่อใจคนหน้างานครับ”