'ราหูอมจันทร์' เกิดขึ้นวันไหน มีผลกระทบอะไรบ้าง
ไขข้อสังสัย ปรากฏการณ์ 'จันทรุปราคา' 'ราหูอมจันทร์' เกิดขึ้นวันไหน? วิทยาศาสตร์มองยังไง ทางโหราศาสตร์มีผลกระทบอย่างไรบ้าง
ปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดขึ้นเฉพาะในวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือ ช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำ
ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก คนไทยสมัยโบราณเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ราหูอมจันทร์"
- ปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" หรือ "ราหูอมจันทร์" ปี 2567 เกิดขึ้นวันไหน ?
สำหรับปรากฏการณ์ "จันทรุปราคา" จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 24 มีนาคม 2567 เวลา 20.46 น. จนถึงวันที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 02.56 น. โดยจะเกิด "จันทรุปราคาเงามัว" ดวงจันทร์จะผ่านเข้าไปในเงามัวเท่านั้น ไม่ผ่านเงามืด ทำให้ดวงจันทร์เต็มดวงมีความสว่างลดลงเพียงเล็กน้อย
ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแบ่งประเภทจันทรุปราคาออกเป็น 3 แบบ ได้แก่
1. จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse)
เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เนื่องจากแสงขาวจากดวงอาทิตย์จะถูกหักเหเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศโลก สีแดงและสีส้มเบี่ยงทิศทางเข้าหากลางเงามืด จึงมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงระหว่างเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
2. จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse)
เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน โดยจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะเว้าแหว่ง
3. จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse)
เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด เรายังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่ความสว่างลดน้อยลง สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก
ขอบคุณข้อมูลจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
- ความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่อง "ราหูอมจันทร์"
เชื่อว่า "ราหูอมจันทร์" เป็นลางบอกเหตุ อาจเกิดเหตุร้าย นำมาซึ่งเรื่องราวที่ไม่ดี ขณะที่ทางด้าน โหราศาสตร์ เชื่อว่า ราหูอมจันทร์ ส่งผลกระทบต่อดวงชะตาราศี มีทั้งด้านดี และส่งผลร้ายแรง อาจทำให้ดวงตก จึงมี พิธีไหว้ราหู เชื่อว่าจะช่วยเปลี่ยนเรื่องร้ายกลายเป็นดีนั่นเอง
- ของไหว้ราหู
ของไหว้พระราหูมีต้องใช้ทั้งหมด 8 หรือ 12 อย่าง ตามลำดับพระราหูที่ถือเป็นเทวดาในลำดับที่ 8 แต่ของไหว้ต้องมีสีใกล้เคียงกับพระกายของพระราหู นั่นคือสีดำ
- ธูปสีดำ 12 ดอก
- ของไหว้สีดำจำนวน 8 หรือ 12 อย่างประกอบด้วย ไก่ดำต้ม,ปลาดุกย่าง,เหล้าดำ,กาแฟดำ,เฉาก๊วย,น้ำหวานที่มีสีดำ,ซุปไก่,งาดำ,ถั่วดำ,ข้าวเหนียวดำ,สาหร่ายดำ,ไข่เยี่ยวม้า
- วิธีไหว้ราหู
ตั้งนะโมฯ (3 จบ)
- บทสวดคาถาบูชาพระราหู
กินนุ สันตะระมาโน วะราหุ สุริยัง ปะมุญจะสิสังวิคคะรูโป
อาคัมมะกินนุ ภีโต วะ ติฎฐะสีติ สัตตะธา เม ผะเล
มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน
เจ มุญเจยยะ สุริยันติกินนุ สันตะระมาโน วะราหุ จันทั้ง
ปะมุญจะสิ สังวิคคะรูโป อาคัมมะ กินนุ ภีโต วะ
ติฎฐะสีติสัตตะธา เม ผะเล มุทธา ชีวันโต นะ สุขัง
ละเภ พุทธะคาถาภิคีโตมหิ โน เจ มุญเจยยะ จันทิมันติ
- พระคาถาสุริยะบัพพา
กุสเสโตมะมะ กุสเสโตโต ลาลามะมะโตลาโม โทลาโมมะมะ
โทลาโมมะมะโทลาโมตัง เหติมะมะ เหติฯ
- พระคาถาจันทบัพพา
ยัตถะตังมะมะ ตังถะยะ ตะวะตังมะมะตัง วะติตัง
เสกามะมะกาเสตัง กาติยังมะมะ ยะติกาฯ
- คำถวายของบูชาพระราหู
นะโมเม พระราหูเทวานัง ธูปะทีปะ จะปุปผัง สักการะวันทะนัง
สูปะพะยัญชะนะ สัมปันนัง โภชะนานัง สาลีนัง สะปะริวารัง
อุทะกังวะรัง อาคัจฉันตุ ปะริภุญชันตุ สัพพะทา
หิตายะ สุขายะ พระราหูเทวา มะหิทธิกา เตปิอัมเห
อะนุรัก ขันตุ อาโรคะ เยนะ สุเขนะจะ
- คาถาบูชาพระราหู
คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ (12 จบ) ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล) ของบูชาบารมีพระราหูเทวา โปรดคุ้มครองดวงชะตาของข้าพเจ้า และครอบครัว ให้ปราศจากทุกข์โศก โรคภัย อันตรายใดๆ ขอให้การย้ายราศีของพระราหูในครั้งนี้ส่งผลให้ข้าพเจ้าพบแต่ความสุข ความเจริญก้าวหน้า มีสุขภาพกาย คิดสิ่งใดที่ดีที่ชอบ ขอให้สำเร็จสมปรารถนา โชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา