เด่นโซเชียล

เฉลยภาพ โลมาสีชมพู ดับฝันชาวเน็ต ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ชัด ไม่ใช่ธรรมชาติสร้าง

เฉลยภาพ โลมาสีชมพู ดับฝันชาวเน็ต ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ชัด ไม่ใช่ธรรมชาติสร้าง

21 มิ.ย. 2567

แชร์ว่อนเน็ต โลมาสีชมพู ภาพหาดูยาก ที่แท้ฝีมือมนุษย์ ไม่ใช่ธรรมชาติสร้าง ผู้เชี่ยวชาญชี้จุดสัเกตุ โพสต์ท่าถ่ายรูปสวยงามผิดปกติ ก่อนหายไป

ภาพหายาก โลมาสีชมพู กำลังถูกแชร์อยู่ทั่วโลกออนไลน์ พร้อมกับเขียนแคปชันว่า "เป็นภาพที่หาดูได้ยากกับน้อง โลมาสีชมพู" ซึ่งมียอดการแชร์มากถึง 1 หมื่นครั้ง แถมยังมีโพสต์ในลักษณะเดียวกันอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งเรื่องนี้สร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ โลมาสีชมพู ให้กับชาวเน็ตเป็นจำนวนมาก 

 

ทางด้านของ รศ. ดร. เจษฎา อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ถึงภาพ โลมาสีชมพู โดยระบุว่า 

 

"ภาพโลมาสีชมพู ที่แชร์กัน เป็นภาพปลอม จาก AI ครับ" เมื่อวานนี้ มีการแชร์ภาพชุดของ "โลมาสีชมพู" กันไวรัลหนักมาก เต็มโลกโซเชียล ทั้งในต่างประเทศ และในไทยเรา (มีทั้งเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ และเวอร์ชั่นแปลมาเป็นภาษาไทย) .. ต้นตอของภาพชุดนี้ มาจากทวิตเตอร์หนึ่ง ซึ่งอ้างว่า มันเป็นโลมาพันธุ์หายากมาก และพบที่ชายฝั่งรัฐนอร์ท แคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา 

 

แต่ถ้าตั้งใจขยายดูภาพนี้ใกล้ๆ จะเห็นว่ามันดูผิดปกติวิสัยของภาพถ่ายสัตว์ในธรรมชาติ คือผิวของมัน ดูมันเงาคล้ายกับพลาสติก , ตำแหน่งของโลมาในภาพ ก็อยู่ในตำแหน่งพอๆ กัน แถมโพสต์ท่าถ่ายรูปอย่างสวยงามผิดปกติ ก่อนจะว่ายน้ำหายไป

 

พูดง่ายๆ คือ มันดูเฟค ดูเป็นของปลอม ภาพตัดต่อหรือไม่ก็ภาพที่สร้างขึ้นจาก เอไอ AI ปัญญาประดิษฐ์

 

เฉลยภาพ โลมาสีชมพู ดับฝันชาวเน็ต ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ชัด ไม่ใช่ธรรมชาติสร้าง
 

จริงๆ แล้ว โลมา พันธุ์ที่มีผิวดูเป็นสีชมพูนั้น มีอยู่จริง แต่หาดูได้ยากมาก ตัวอย่างเช่น โลมาแม่น้ำอะแมซอน (Amazon river dolphin) ซึ่งเป็นสัตว์ท้องถิ่นของทวีปอเมริกาใต้ และอาศัยอยู่ในน้ำจืด บริเวณป่าอะแมซอนและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอริโนโก (Orinoco river basin) ของประเทศโบลิเวีย บราซิล โคลอมเบีย เอกัวดอร์ กายยานา เปรู และเวเนซูเอลา


 
ซึ่งจะเห็นว่า การอ้างว่าภาพโลมาชุดนี้ ถ่ายได้ที่รัฐนอร์ทแคโรไลนา นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล เพราะนอร์แคโรไลนาอยู่ห่างจากประเทศดังกล่าว หลายพันกิโลเมตร 

 

ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีรายงานข่าวเป็นทางการ แต่อย่างไร ว่ามีการพบโลมาสีชมพู หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ป่าในธรรมชาติของรัฐนอร์ทแคโรไลนาก็ไม่เคยออกมาให้ข่าว ว่ามีโลมาสีชมพูในบริเวณนั้น

 

ดังนั้น การที่มีคนโพสต์ภาพดังกล่าว แล้วอ้างว่า เป็นโลมาสีชมพูหายาก ถ่ายได้ที่ชายฝั่งรัฐนอร์ทแคโรไลนา จึงไม่น่าเป็นไปได้ ... และการที่ผิวของมัน ดูมันเงาเหมือนพลาสติก จึงน่าจะชัดเจนว่าเป็นภาพปลอม


 

 

นอกจากนี้ เพจเฟซบุ้คสำนักข่าวออนไลน์ ของเกาะท็อปเซล Topsail Island ซึ่งอยู่นอกชายฝั่งนอร์ธแคโรไลนา และได้โพสต์รูปชุดนี้ด้วย (เพจ Topsail Online Gazette) ได้รีบออกมาแก้ข่าวทันที โดยระบุว่า 


"Opps! These pictures are apparently fake/altered images… while bottlenose dolphins with albinism do exist in the wild, these pictures were originally shared by a now verified - unreliable source. The person who originally shared the pictures frequently posts AI images as well as photoshopped images, and they have rather cleverly recently changed the name of their Facebook page, hence why we fell for it. Our apologies!  -The Gazette"

 

แปลได้ว่า "อุ้ย ภาพโลมาชุดนี้ มันเป็นภาพเฟค ภาพปลอมตัดต่อนะ ถึงแม้ว่าจะมีโลมาปากขวด (bottlenose dolphin) เผือก อยู่ในธรรมชาติจริงๆ แต่ภาพชุดนี้ถูกแชร์มาจากแหล่งที่มา ซึ่งตรวจสอบแล้วว่า ไม่ได้น่าเชื่อถือ นายคนที่เริ่มแชร์ภาพนี้แต่แรกนั้น พบว่าเป็นคนที่ชอบโพสต์ภาพ เอไอ AI และภาพที่ผ่านการโฟโตช็อป แล้วตอนหลังนี้ ชื่อของเพจเฟซบุ้คของพวกเขาก็ถูกเปลี่ยนชื่อไป ทำให้เราพลาดแชร์ภาพชุดนี้ ต้องขออภัยด้วย"

 

เฉลยภาพ โลมาสีชมพู ดับฝันชาวเน็ต ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ชัด ไม่ใช่ธรรมชาติสร้าง

เฉลยภาพ โลมาสีชมพู ดับฝันชาวเน็ต ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ชัด ไม่ใช่ธรรมชาติสร้าง

เฉลยภาพ โลมาสีชมพู ดับฝันชาวเน็ต ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ชัด ไม่ใช่ธรรมชาติสร้าง