เปิดที่มา "ไอศกรีม" รสใหม่ แรงบันดาลใจจากหนัง "ตัวเงินตัวทอง"
ใช่ๆ ไหม? เปิดที่มา "ไอศกรีม" รสใหม่ แรงบันดาลใจจากหนัง "ตัวเงินตัวทอง" เจ้าของร้านดังเผยสูตรเด็ด วิธีทำสุดยาก ใส่ใจสุดๆ
ช่วงไหนที่ร้อนๆ เราต่างมองหาของกินดับร้อน ช่วยให้เย็นสดชื่น ทั้งน้ำเมนูเย็น น้ำผลไม้ปั่นเย็นๆ สักแก้ว หรือบางคนอาจมองหาไอศกรีมสักแท่งเพื่อดับร้อน
แต่เห็นทีจะพลาดไม่ได้ กับไอศกรีมที่เป็นไวรัลอยู่ในขณะนี้ คาเฟ่ดังเขาใหญ่เปิดตัวไอศกรีมรสชาติใหม่ชื่อว่า I’m Here ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก
โดยเฟซบุ๊กเพจ ไทรสุก - Sai Sook Khao Yai Wildlife Learning Ground & Local Treats เปิดเผยที่มาของไอศกรีมรสชาติใหม่ I’m Here ระบุว่า รสใหม่มาอีกแล้ว (อร่อยแบบแลบลิ้นแผล่บๆ) รส I’m Here ขอความกรุณาลูกค้า ไม่ใส่อารมณ์ตอนพูดชื่อสั่งรสนี้ พนักงานใจคอไม่ดี
รสนี้ ยากตรงที่จะทำยังไงให้คนกินไม่บ่นว่า รสชาติ Here มาก แต่ให้พูดว่า อร่อย Here Here แทน แถมจะทำไงให้มันเหมือนตัวเงินตัวทอง แต่ไม่น่ากลัวน่าเกลียดดูไม่น่ากิน โจทย์นี้ถูกถอดมาเป็นหน้าตา และรสชาติแบบที่ทุกคนเห็น ส่วนสำคัญมันอยู่ที่ หนังตัวเงินตัวทอง อะไรที่จะเป็นส่วนผสมที่ทำให้มันคล้ายและยังอร่อย
และใช่ครับ แนนทำหนังตัวเงินตัวทองเองกับมือ ส่วนหนัง เราทำ Brittle จากงาดำ หรือทุกคนลองจินตนาการ ตามนะว่ามันคือขนมงาตัด ที่ทำมาจากการเคี่ยวน้ำตาลเป็นคาราเมลผสมกับงาหอมๆ แล้วเอาไปรีดเป็นแผ่น
พอเย็นตัวก็จะกรอบเกรียวเคี้ยวโปเต้ สำคัญคือ ต้องผสมงาดำงาขาว คั่วออกมา จากงาขาวมันจะออกเป็นสีน้ำตาล รวมกันเป็นสีตัว Here พอดี กรอบๆ หวานๆ มันๆ นัวๆ และที่เป็นเป็นดอกๆ น้ำตาลๆ นั่นคือ รวงผึ้งสด ที่ใส่ไปแทนดอกๆ น้ำตาลที่เป็นลายน้อง
ส่วนเนื้อด้านในที่เป็นสีครีมน้ำตาล เราทำมาจากเคี่ยวซอสคาราเมล ผสมกับครีมกับชีสกับนมต่างๆ จนออกมาหวานนุ่มละมุนสุดๆ และสุดท้าย ส่วนสีน้ำตาลด้านบน คือ Honeycomb candy ที่เราทำเอง แล้วเอามาบดๆ ใส่ปิดท้าย ให้มีลูกเล่น กรุบๆ
เรียกว่ารสนี้ มันคือความโคตรคาราเมล โคตรกรุบกรอบ โคตรเบาหวาน ทุกส่วนประกอบเกิดจากการทำน้ำตาลคาราเมลเป็นเบสทั้งหมด ชวนมานัวหนัง Here ไปด้วยกัน
หน้าที่สำคัญในธรรมชาติคือ ตัวเงินตัวทอง เป็นสัตว์กินซาก ที่มักจะว่ายน้ำหากินอยู่ตามริมๆ ตลิ่ง นั่นก็เป็นเพราะว่าเขาจะคอยหากินสัตว์ที่ตายแล้วที่ลอยอยู่ริมน้ำ เช่น ปลา หรือซากสัตว์อื่นๆ เป็นต้น จะบอกว่า เหี้ย เป็นสัตว์ที่คอยทำให้ลำน้ำสะอาด ก็คงจะไม่เกินจริงนัก
ตัวเหี้ยกับตะกวด เป็นสัตว์ชนิดเดียวกันไหม?
คำตอบคือคนละชนิดนะครับ แต่ ตัวเหี้ยกับตัวเงินตัวทองคือตัวเดียวกัน มาเริ่มทำความรู้จักกันก่อนว่า ตัวเหี้ย หรือ ตัวเงินตัวทอง จะมีลักษณะคล้ายกับตะกวดมากๆ จนหลายคนเข้าใจผิด สองชนิดนี้จะมีลวดลายบนลำตัวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
จุดที่ผมใช้จำแนกสองชนิดนี้เลยคือ ตัวเหี้ยจะมีลายเป็นเส้นวงกลมสีเหลือง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง อยู่บนลำตัว แต่ตะกวดจะมีลายที่เป็นจุดสีเหลืองๆ และส่วนใหญ่จะเจอตะกวดในป่ามากกว่า ส่วนตามเมืองเราเห็นว่ายน้ำอยู่คือตัวเหี้ยล้วนๆ
แล้วทำไมตัวเหี้ยถึงถูกเปลี่ยนชื่อ ?
ก็แน่นอนว่าหลายคนคงรู้เหตุผลดี ว่าทำไม เพราะคำว่า เหี้ย เป็นคำที่ไม่ค่อยจะสุภาพสักเท่าไหร่ จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อตัวเหี้ยเป็น “วรนุช” ก็เพราะว่า ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของ Genus นี้คือ Varanus ฝรั่งออกเสียงว่า “ วารานัส “ แต่พอน้องมาอยู่เมืองไทยจึงกลายเป็นชื่อ “วรนุช” นั่นเอง Varanus ในเมืองไทยมีทั้งหมด 4 ชนิด คือ
- Varanus nebulosus (ตะกวด)
- Varanus salvator (เหี้ย)
- Varanus rudicollis (เห่าช้าง)
- Varanus dumerilii (ตุ๊ดตู่)
ผมเองก็ยังเจอไม่ครบทั้ง 4 ชนิดเลย ใครที่เจอ Varanus รอบหน้า ลองสังเกตกันดูนะครับ ว่าตัวที่เราเจอคือ Varanus ชนิดไหน