อย่าปล่อยให้ “ซึมเศร้าหลังคลอด” จนทำร้ายลูกและตัวเอง
“ซึมเศร้าหลังคลอด” ภาวะอันตรายที่ทำร้ายทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อย ระมัดระวังป้องกันและรู้ทันก่อนเกิดการสูญเสีย
ภาวะ “ซึมเศร้าหลังคลอด”
สาเหตุ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงรวดเร็วหลังคลอด และครอบครัวมีประวัติป่วยซึมเศร้า แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่ม
1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
ซึมเศร้า เสียใจ หดหู่ กังวล ร้องไห้ ปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ กังวลเรื่องลูก
มีอาการสัปดาห์แรก หายได้เอง ไม่ต้องรักษา
2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด มีอาการทั้งวัน/ติดต่อกัน 2 สัปดาห์
นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวง่าย หงุดหงิด ไม่ผูกพันกับลูก อยากทำร้ายลูกและตัวเอง
หากมีอาการเกิน 2 สัปดาห์ ต้องไปรักษา ไม่สามารถหายได้เอง
3. โรคจิตหลังคลอด เกิดหลังคลอด 1-2 วัน หรือ 3-4 วัน
ฉุนเฉียว ร้องไห้ง่าย คล้ายไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน หวาดกลัว นอนไม่ได้ น้ำหนักลด มีเสียงสั่งให้ฆ่าลูก
หายเองไม่ได้ ต้องอยู่โรงพยาบาลรักษา มีความอันตรายต่อลูกและตัวเอง
วิธีป้องกันดูแล : หาคนช่วยเลี้ยงลูก ทำกิจกรรมผ่อนคลาย ระบายความรู้สึก ออกกำลังกาย ไปช้อปปิ้ง ไม่ดูข่าวหดหู่ หากเป็นมากควรปรึกษาแพทย์
ที่มา : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล