Lifestyle

หัวใจไทย-ผีตาโขน

“ผีตาโขน” เป็นหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่ที่เรียกว่า “งานบุญหลวง” หรือ “บุญผะเหวด” ตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวส หรือเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุเจดีย์สองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาว

โดยที่มาแล้วประเพณีแห่ผีตาโขนถือว่ายังไม่ชัดเจน กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ส่วนอีกที่มากล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

        ผีตาโขน ในขบวนแห่แยกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1.ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่า ประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือ ผีตาโขนชาย 1 ตัวและหญิง 1 ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี และ2.ผีตาโขนเล็ก เป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย (อ้างอิงจาก www.panyathai.or.th/wiki/index.php)

 ในปีนี้กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมจัดงานประเพณี “บุญหลวง” และการละเล่นผีตาโขน ทีบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตั้งแต่วันที่ 1-3 กรกฎาคม 2554 โดยมีนายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานในครั้งนี้

   นายทศพล กันทะวงค์
ปชส.วธ.

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่น่าสนใจ