'น้ำกลิ้ง'บนใบบัว
'น้ำกลิ้ง'บนใบบัว : คอลัมน์เจ๊าะแจ๊ะวิทย์ศาสตร์ : โดย...พี่ฮัมมิ่งเบิร์ด ([email protected])
สวัสดีคะ น้องๆ "พี่ฮัมมิ่งเบิร์ด" มีเรื่องราวสนุกๆ มานำเสนอคะ ใครเคยสังเกตหยดน้ำฝนที่ตกลงมาบนใบบัวบ้างไหม จะมีลักษณะเป็นกลมๆ กลิ้งไปมาอยู่บนใบบัว ไม่กระจายออกและสุดท้ายเม็ดนิ่งสงบอยู่ ณ บริเวณกึ่งกลางใบบัว โดยที่ใบบัวไม่เปียกชุ่มน้ำเลย แถมสะอาดหมดจดดังเดิม แต่ถ้าเป็นใบไม้ชนิดอื่น นำจะไหลกระจายเปียกไปทั่ว ทำไมจึงเป็นเช่นนี้กันนะ จาก "หนังสือวารสาร อพวช." สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน (รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม) อธิบายไว้ว่า ความพิเศษมหัศจรรย์ดังกล่าว เกิดจากใบบัวมีผิวหน้าของมันประกอบไปด้วยโครงสร้างขนาดเล็กคล้ายหนามจำนวนมหาศาล และมีการกระจายตัวอย่างเป็นระเบียบ โดยหนามแต่ละอันมีความเล็กขนาดนาโนเมตร หนามเหล่านี้ส่งผลให้ผิวด้านหน้าของใบบัวมีลักษณะขรุขระเมื่อหยดน้ำตกลงมากระทบใบบัวทำให้ผิวพื้นที่สัมผัสระหว่างน้ำกับใบบัวนั้นน้อยมาก
นอกจากนั้นยังพบว่า ผิวด้านบนของใบบัวเคลือบด้วยสาร ซึ่งมีลักษณะคล้ายแวกซ์ มีคุณสมบัติเกลียดน้ำ (Hydrophobic) ทำให้น้ำไม่กระจายตัวออก คุณสมบัติทั้ง 2 ประการ ทำให้ใบบัวมีคุณสมบัติเป็น Super hydrophobic surface คือหากมีฝุ่นผง สิ่งสกปรกติดอยู่บนใบบัว เมื่อหยดน้ำตกลงมาหยดน้ำจะกลิ้งพาสิ่งเหล่านั้นไปกับหยดน้ำ เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างหยดน้ำกับสิ่งสกปรกมีค่าสูงกว่าแรงยุดเหนี่ยวระหว่างสิ่งสกปรกกับใบบัว จึงทำให้ใบบัวสะอาดอยู่เสมอ ในทางวิทยาศาสตร์เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Lotus Effect หรือน้ำกลิ้งบนใบบัว
ปรากฏการณ์ Lotus Effect เป็นแรงบันดาลใจนักวิทยาศาสตร์คิดค้นวิธีการทำให้พื้นผิวมีความสามารถในการกันนำได้โดยใช้นาโนเทคโนโลยีสังเคราะห์สารที่มีคุณสมบัติเกลียดน้ำ เช่นเดียวกับใบบัวเพื่อเคลือบพื้นผิวของวัตถุ เช่น เสื้อผ้าที่กันน้ำได้ สีที่มีคุณสมบัติกันน้ำ เป็นต้น (ขอขอบคุณข้อมูลดี จากวารสาร อพวช. ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย และรูปสวยๆ จากเว็บไซต์ www.maceducation.com และ http://tinnachart.wordpress.com/
.....................
('น้ำกลิ้ง'บนใบบัว : คอลัมน์เจ๊าะแจ๊ะวิทย์ศาสตร์ : โดย...พี่ฮัมมิ่งเบิร์ด ([email protected]))