ไลฟ์สไตล์

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’

07 ม.ค. 2559

พระพรหมบัณฑิต อวยพรปีใหม่ 2559 แก่ผู้บริหารและข้าราชการ มจร เผยความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ’เห็นบริวารสมบัติ

            เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2559  ผู้บริหารและข้าราชการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ได้จัดทำบุญเลี้ยงพระต้อนรับปีใหม่ 2559 ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  ในการนี้พระพรหมบัณฑิตอธิการบดี มจร ได้กล่าวอวยพรปีใหม่ความว่า เวลาเราพูดถึงปีใหม่เราพูดถึงความสุขของชีวิต  รู้สึกว่างานปีใหม่เราจะยิ้มให้แก่กัน ต่างจากงานประชุม งานทำให้เกิดสมบัติ ความร่ำรวย เรียกว่า "โภคสมบัติ" มีค่าตอบแทน วัดสำเร็จกันที่ค่าตอบแทน   แต่ความสำเร็จหนึ่งที่วัดเป็น "บริวารสมบัติ" คือ มีบริวารดี  คนส่วนใหญ่วัดกันที่โภคสมบัติ คือ ค่าตอบแทน  แต่ชีวิตมีความสุขจริงๆ ต้องวัดกันที่ บริวารสมบัติ  ที่มีความปรารถนาดีต่อกัน มีน้ำใจที่ดีต่อกัน มีความสามัคคีต่อกัน

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’
         
            เราทำงานที่มหาจุฬาไม่ได้วัดที่โภคสมบัติ  แต่ทำงานที่มหาจุฬาวัดกันที่ "บริวารสมบัติ" เราเห็นความสำเร็จของลูกศิษย์ ถือว่าเป็นบริวารสมบัติ ทำให้ครูบาอาจารย์มีความสุข  ไม่มีงานไหนจะมีความสุขเท่ากับการเป็นครูบาอาจารย์  เราเห็นผลผลิตของเราไปช่วยเหลือสังคมในที่ต่างๆ ทำให้เราชาวมหาจุฬามีความสุข  เหมือนชาวนาชาวสวนมีความสุขที่ได้เห็นผลผลิตต้นไม้ที่ตนเองปลูก  ฝีมือของพวกเราสร้างนิสิตออกไปทำงานเพื่อสังคม

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’
        
            ความสุขของเราชาวมหาจุฬา คือ  "เห็นผลผลิตของเราออกไปทำงานเพื่อสังคม"  ถ้าเราทำงานเราเหนื่อย เราออกไปดูงานไปดูบทบาทที่นิสิตของเราทำเพื่อคนอื่นบ้าง    เราถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้นิสิตเราในการทำงาน
        
            ทุกปีอธิการบดีจะต้องเดินทางไปให้กำลังใจชาวเขาให้กำลังใจนิสิตที่ออกไปทำงานเพื่อสังคม  "เราเห็นผลผลิตของพวกเรา เราก็มีความสุข" เห็นวิทยาลัยสงฆ์ วิทยาลัยเขต มีความเจริญก้าวหน้า เราก็ดีใจ มีความภาคภูมิใจ  พระพุทธเจ้าออกเทศน์ 45 ปี พระองค์มีความสุข เทศน์กัณฑ์แรก อัญญาโกณฑัญญะ ดวงตาเห็นธรรม พระองค์ก็ดีใจ แค่ผลผลิตท่านเดียวเท่านั้น

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’
          
            ความสุขของชาวมหาจุฬา คือ การให้ และดูผลผลิต  ต้องไปดูผลงานของเรา  ฉะนั้น ชาวมหาจุฬาต้องมุ่งสร้าง "บริวารสมบัติมากกว่าโภคสมบัติ"  เพราะความสุขเกิดจากบริวารสมบัติ   การทำบุญครั้งนี้เกิดขึ้น 2 ประเภท คือ  1.โภคสมบัติ หมายถึง  มีทรัพย์สินเงินทอง ที่อยู่อาศัย  กินอิ่ม  นอนอุ่น   2.บริวารสมบัติ หมายถึง ความเป็นพี่เป็นน้อง มีความสามัคคีกัน สุขจากการเป็นผู้ให้  ต้องช่วยเหลือกัน "อย่าทำร้ายกัน"  ฉะนั้น เอกลักษณ์ความสุขของมหาจุฬา คือ "บริวารสมบัติ" หมายถึง ความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’

ความสุขของอธิการบดี‘มจร’คือ‘เห็นบริวารสมบัติ’

..................................

(หมายเหตุ : พระปราโมทย์  วาทโกวิโท นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาสันติศึกษา มจร รายงาน)