ไลฟ์สไตล์

ถอดบทเรียน'สรยุทธ์'6กลุ่มต้องเรียนรู้-สู่สังคมคุณธรรม

ถอดบทเรียน'สรยุทธ์'6กลุ่มต้องเรียนรู้-สู่สังคมคุณธรรม

07 มี.ค. 2559

ถอดบทเรียน'สรยุทธ์'6กลุ่มต้องเรียนรู้-สู่สังคมคุณธรรม : เปิดวิสัยทัศน์ โดยกมลทิพย์ ใบเงิน 0 รายงาน

            พิพากษาจำคุก “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” ประธานกรรมการ บริษัท ไร่ส้ม จำกัด พิธีกรข่าวชื่อดัง ในคดียักยอกเงินค่าโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท เมื่อครั้งจัดรายการ “คุยคุ้ยข่าว” ระหว่างปี 2548-2549 เป็นเวลา 13 ปี 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา

            “ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการต่อสู้ทางความคิด ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวม เป็นภาพสะท้อนสังคมไทย ยังต้องการสังคมคุณธรรม คนไทยต้องการคนดี มีคุณธรรม และมีจริยธรรมอยู่มาก เรื่องนี้ให้บทเรียนอย่างน้อย 6 กลุ่ม” นายสิน   สื่อสวน  ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม เปิดฉากวิพากษ์

            ลุ่มแรก สื่อสารมวลชน วิชาชีพนี้ต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่สังคม บทบาทสื่อต้อง ให้ความจริง ให้ความดี ให้ปัญญากับสังคมไทย กลุ่มที่ 2 สมาคมวิชาชีพสื่อ ต้องไปคิดทบทวนมาตรการ ที่บอกกับสังคมว่าสื่อดูแลกันได้ จะทำอย่างไรกับกรณี “สรยุทธ” เป็นกรณีศึกษาที่ดี กลุ่มที่ 3 ผู้ประกอบธุรกิจสื่อ จะต้องมีมุมมอง 2 ด้าน ทั้งมุมมองด้านธุรกิจกับมุมมองด้านสังคม ต้องเข้าใจกำไรที่แท้จริงคืออะไร  ซึ่งกำไรที่แท้จริงของธุรกิจสื่อคือกำไรที่ได้ให้แก่สังคม มันมีคุณค่าและมีมูลค่ามหาศาล

            กลุ่มที่ 4 ธุรกิจที่สนับสนุนสื่อ กลุ่มนี้ต้องเลือกที่จะแสดงตัวตนของธุรกิจว่าจะส่งอะไร ไม่ส่งเสริมอะไร ที่สำคัญสิ่งเหล่านั้นมันมีค่ากว่าซีเอสอาร์ที่บริษัทต่างๆ ได้ทำอยู่ กลุ่มที่ 5 องค์กรภาครัฐที่กำกับดูแลสื่อ  ต้องตระหนักในบทบาทของตัวเองและรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำอะไรที่รวดเร็ว ตอบสนองต่อทุกเหตุการณ์อย่างรวดเร็วทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวงการสื่อ และ กลุ่มที่ 6 ประชาชนหรือพลังสังคมไทย กรณีสรยุทธพลังสังคมไทยมีการตื่นตัวสูงมาก เป็นพลังที่จะดูแลและรักษาสังคมไทย ที่จะช่วยกันกำหนดว่าสังคมไทยกำลังจะนำไปสู่อะไร

            บุคคล หรือหน่วยใดหน่วยหนึ่ง แต่เป็นบทเรียน ที่แต่ละภาคส่วนจะเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร เพราะหากทุกภาคส่วนในสังคมไทยไม่ได้เรียนรู้จากกรณีนี้เลย สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ผมขอชมคุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ที่ตัดสินใจในทิศทางที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะต้องต่อสู้กับความคิดของตัวเองอยู่หลายวัน จริงๆ สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้โอกาส” 
 
            กรณีนี้ยังสร้างกระแสสังคมคุณธรรม ผอ.สิน ระบุว่า มีหลายวิธีการ แต่วิธีการที่ทรงพลังที่สุดก็คือการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายของกลุ่มต่างๆ ที่ลุกขึ้นมาร่วมกับ เฝ้าระวัง ปกป้อง แทรกแซง และเสริมสร้างคุณธรรมกันทุกกลุ่ม จากบทเรียนที่ศูนย์คุณธรรมกับภาคีเครือข่ายคุณธรรมจัดสมัชชาคุณธรรมได้มีการรวมตัวกันของ 7 เครือข่าย เช่น เครือข่ายองค์กรภาครัฐ โรงเรียนคุณธรรม เครือข่ายชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สื่อมวชน ภาคธุรกิจและภาคศาสนา

            “เราพบว่าเมื่อภาครัฐสนับสนุน 7 ภาคีเครือข่ายคุณธรรมให้เขามีบทบาทในการทำงานด้านคุณธรรมเขาก็ทำได้ดี ยกตัวอย่าง เครือข่ายสื่อมวลชนก็มีการจัดหลักสูตรคุณธรรมจริยธรรมสื่อมวลชน เพื่อเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงสื่อมวลชนที่อยากจะทำหน้าที่สื่อสีขาว ดูแลจริยธรรมของสื่อด้วยกันเองและสื่อสารเรื่องคุณธรรมความดีให้แก่สังคมไทยมากขึ้น หรือโรงเรียนคุณธรรม ก็มีแนวทางในการบ่มเพาะเรื่องคุณธรรมจริยธรรมของเด็กที่ไม่เน้นการสอน แต่กระตุ้นให้เด็กตระหนักนำไปสุู่การปฏิบัติจริงได้คุณธรรมจริยธรรม เด็ก จะเรียนรู้ด้านวินัย ความรับผิดชอบ ความพอเพียง”

            ไม่เพียงเท่านั้น การจัดค่ายเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น (เอซีที) มีการจัดค่ายเยาวชนไทยไร้คอร์รัปชั่น ดำเนินการมา 4 รุ่น เน้นผู้นำนักศึกษาคนรุ่นในสถาบันอุดมศึกษาของรับและเอกชน จำนวน 4 รุ่น จำนวน 200 คน พลังหนุ่มสาวเหล่านี้้จะขยายผลในกลุ่มมหาวิทยาลัยของเขา ปลูกฝังสำนึกการต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น และยืนหยัดในการรักษาความถูกต้องของสังคมไทย ที่ยืนอยู่บนพื้นฐานคุณธรรมและจริยธรรม 

            ศูนย์คุณธรรมได้เสนอในสภาขับเคลื่อนเพื่อการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่ง สปท.เห็นชอบประเด็นการปฏิรูปเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาและรับรองมาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม เน้นดำเนินการใน 6 กลุ่ม อาทิ 1.กลุ่มการเมือง 2.องค์กรภาครัฐ 3.สถาบันการศึกษา 4.ภาคชุมชน 5.ภาคธุรกิจ และ 6.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และควรเพิ่มกลุ่มสื่อสารมวลชน เพราะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อสังคมมาก อีกทั้งศูนย์คุณธรรมได้ร่วมมือกับเครือข่ายสื่อในการขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมมาต่อเนื่อง

            “ถ้าเป็นองค์กรส่งเสริมคุณธรรม จะต้องมีการดำเนินการอะไรบ้าง มีมาตรฐานอย่างไร โดยเน้นการส่งเสริม ไม่ใช่การบังคับ เพื่อที่จะสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นจริงในทุกกลุ่ม เน้นยึดคุณธรรมหลัก 4 ประการ คือ ซื่อตรง วินัย เสียสละ พอเพียง”

            เหนื่ออื่นใด อยากได้สังคมดีมีคุณธรรม ทุกภาคส่วนในสังคมไทยต้องร่วมมือกันสร้างสังคมคุณธรรมจะต้องทำให้เห็นเป็นรูปธรรม ควรเลือกประเด็นที่จะสร้างให้ประชาชนมีคุณธรรมในเรื่องใด จากนั้นร่วมกันขับเคลื่อนกันทั้งประเทศไทย

            “คนไทยทุกวันนี้มี 2 ด้าน ด้านหนึ่งถูกกระแสวัตถุนิยมครอบงำ ทำให้ขาดความพอเพียง เมื่อขาดความพอเพียงที่เป็นต้นน้ำของความไม่ซื่อตรง และการทุจริต คอร์รัปชั่น มันเกิดขึ้นมา คนไทยยังยอมรับการทุจริตมีมากขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งคนไทยลุกขึ้นมาต่อต้านในเรื่องนี้ และมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะได้เห็นผลกระทบของการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่ส่งผลเสียหายต่อเขาและสังคมประเทศชาติ และได้เรียนรู้ว่าถ้าประชาชนมีสำนึกและรวมกันเป็นพลังพลเมือง ที่จะต่อสู้กับการทุจริตยืนหยัดความถูกต้องก็จะทำได้สำเร็จเช่นกรณีสรยุทธที่เกิดขึ้น” ผอ.ศูนย์คุณธรรม ฝากทิ้งท้าย