๒๒ ผลงานสื่อบ้านนอกรับรางวัลพระราชทาน
มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริฯ และชมรมสื่อบ้านนอกจัดโครงการประกวดสื่อบ้านนอกคัด ๒๒ ผลงานบรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ ในฐานะประธานคณะกรรมการตัดสินโครงการประกวดสื่อเพื่อการพัฒนาชนบท ชิงรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (โครงการประกวดสื่อบ้านนอกฯ) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างชมรมสื่อบ้านนอกและมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริฯ กล่าวว่าโครงการนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการกระตุ้นให้คนไทยตระหนักในคุณค่าของชนบท ตลอดจนลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำของความเข้าใจกันระหว่างคนชนบทกับคนเมือง ปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจส่งผลงานเข้าร่วมประกวดจำนวน ๒๕๐ คนมีจำนวนชิ้นงานส่งประกวด ๔๘๐ ชิ้นงาน แบ่งเป็นประเภทภาพถ่าย ๑๔๒ คน ๓๖๗ ชิ้นงานประเภทสารคดีเชิงข่าวและคลิปวิดีโอ ๓๕ คน ๓๘ ชิ้นงาน ประเภทบทความและสารคดี ๔๘ คน ๕๐ชิ้นงาน และประเภทความเรียงเยาวชน ๒๕ คน ๒๕ ชิ้นงาน
“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จัดให้มีการประกวดบทความ สารคดี ความเรียง คลิปวิดีโอและภาพถ่ายที่สะท้อนวิถีชีวิตชนบทซึ่งผู้เขียนหรือผู้จัดทำต้องการรักษาไว้ ต้องการแก้ปัญหาที่มีอยู่หรือต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น มีผู้สนใจเสนอผลงานเข้าประกวดมากกว่า ๕๐๐ ชิ้นซึ่งนับว่ามากพอควรสำหรับการประกวดที่จัดเป็นครั้งแรก” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว
ประธานคณะกรรมการตัดสินโครงการ โครงการประกวดสื่อบ้านนอกฯกล่าวด้วยว่าเห็นได้ชัดว่าทุกคนรักความเป็นบ้านนอก รักวิถีชีวิตแบบไทยในชนบทมีความตั้งใจที่จะรักษาวิถีชีวิตที่ดีงามนั้นให้อยู่ต่อไปทุกคนเป็นห่วงว่าปัญหาบางอย่างที่ก่อตัวขึ้นจะทำลายวิถีชีวิตไทยในชนบทให้หมดไปและพยายามเสนอแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวตามความถนัดหรือประสบการณ์ของแต่ละคนการริเริ่มในปีนี้ ได้กระตุ้นความคิดที่ดีเกี่ยวกับวิถีชีวิตชนบทของไทยและความตั้งใจที่จะดูแลรักษาวิถีชีวิตที่ดีนี้ไว้เป็นเรื่องที่ดีหากจัดให้มีการประกวดผลงานลักษณะนี้อีกต่อไปเป็นประจำทุกปี
สำหรับผู้ได้รับรางวัลพระราชทาน “สื่อเพื่อการพัฒนาชนบท” ประเภท บทความ ภายใต้ความหมาย ของ “ วิถีชีวิตชนบท ”
รางวัลชมเชย ๒ รางวัล ได้แก่- ผลงานที่มีชื่อว่า “ลมหายใจชนบท “ ของ นางสาวกิตติยา จันดี- ผลงาน “ เศรษฐีมดแดง “ ของ นางสาวกษมา แดงสุวรรณ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ประเภทบทความ ได้แก่ ผลงาน “บ้านนอก พิศมอง นอกบ้าน” ของคุณเกียรติศักดิ์ หงษ์คำ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ ได้แก่ ผลงาน ที่มีชื่อว่า “ วิถีชนบทไทย แง่งามท่ามกลาง การพัฒนา” ของ นางสาวสุธาสินี นิรัตติมานนท์
รางวัลชนะเลิศ เป็นผลงงานที่มีชื่อว่า “กำแพง” ของ ร้อยโท วรวิทย์ ทรัพย์เจริญ
ศ.สกุล บุณยทัต กรรมการตัดสินประเภทบทความ กล่าวว่าโดยภาพรวมของบทความที่ได้รับรางวัลโครงการประกวดสื่อเพื่อพัฒนาชนบทประจำปีนี้..ถือได้ว่า
เป็นผลงานที่เปี่ยมเต็มไปด้วยการแสดงวิสัยทัศน์ออกมาอย่างชัดแจ้งแม่นตรงและแสดงให้เห็นถึงความจริงใจและจริงจังในการรังสรรค์เนื้องานให้มีผลลัพธ์ออกมาอย่างมีคุณค่าแสดงให้เห็นถึงผลกระทบอย่างฉับพลันที่มีคุณประโยชน์ต่อภาพลักษณ์อันจริงแท้ของชนบทเป็นบทสะท้อนแห่งบทสะท้อนต่อการเข้าใจเพื่อการแก้ไขและพัฒนาสังคมชนบทให้เกิดขึ้นได้อย่างมีทิศทางและมองเห็นหนทางแห่งการปฏิบัติที่เป็นรูป
บทความชนะเลิศ.. กำแพง..มีกลวิธีในการนำเสนอสาระเนื้อหาในเชิงซ้อนได้อย่างถึงแก่นมันโบยตีโลกยุคใหม่ด้วยการไขว้สลับระหว่างมายาคติที่ย้อนแย้งอยู่กับโลกของความจริงในวิถีของอุปสรรคอันหลากหลายที่สังคมชนบทต้องต่อสู้ดิ้นรนและหาทางออกเองอย่างยากลำบากแต่ก็เห็นถึงประกายแห่งความหวังของการต่อสู้ที่ผู้เขียนได้กลั่นออกมาจากหัวใจอย่างลึกซึ้งด้วยทัศนคติที่เป็นธรรมจนทำให้เห็นภาวะอันจำเป็นของสังคมชนบทที่จะต้องได้รับการเยียวยาและก้าวพ้นกำแพงแห่งอุปสรรคอันเป็นวิกฤตนั้นออกมาให้ได้.มันคือความชัดเจนอย่างถึงที่สุด การสร้างกำแพงขึ้นมาเป็นภาษาสัญลักษณ์..เป็นการเน้นย้ำให้เนื้องานมีน้ำหนักขึ้นมาก..และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า...อุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงที่ถูกกล่าวถึงโดยเฉพาะการขาดการเหลียวแลจากภาครัฐคือความล้มเหลวอันสำคัญแต่ถูกมองข้ามต่อการเยียวยาชีวิตของชนบทโดยแท้...
เช่นเดียวกับผลงานรองชนะเลิศอันดับหนึ่งและอันดับสอง ทั้งสองรางวัล..วิถีชนบทไทยแง่งามท่ามกลางการพัฒนา และ บ้านนอกพิศมองนอกบ้านที่มองโลกในแง่งามผ่านการพินิจพิเคราะห์ชนบทอย่างมีต้นรากของความมีความเป็นมีการเสนอแนะทางออกอันชวนขบคิด สดใหม่และเห็นภาพพจน์จนเป็นที่ประจักษ์ทั้งในเชิงวิชาการและกระบวนการคิดที่มีเอกภาพและสามารถนำไปปฏิบัติการณ์ได้อย่างถ่องแท้...การก่อเกิดมุมมองในการส่องเห็นปรากฏการณ์ทั้งภายในภายนอกอย่างถ้วนถี่ทำให้ผลงานที่ได้รับการยกย่องมีคุณค่าทั้งต่อตัวผู้เขียนเองและต่อความเป็นไปในการพลิกด้านมืดของชนบทให้ออกมาสู่แสงไฟแห่งการก้าวไปสู่อนาคตอันเรืองรุ่งได้จริง
สำหรับผลงานชมเชยทั้งสองรางวัล..เศรษฐีมดแดง และลมหายใจชนบทแม้จะดูเป็นมิติแห่งตำราเชิงวิชาการ..แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความรักและความห่วงไโดยเฉพาะศิลปะทางด้านการแสดงอันเป็นมรดกอันล้ำค่าและเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมของแต่ละพื้นถิ่นที่กำลังถูกเพิกเฉย..จนลมหายใจแห่งชีวิตของความเป็นศิลปะการแสดงอันลึกซึ้ง ต้องอ่อนล้าลงอย่างน่าวิตก...ทั้งหมดทั้งสิ้นนั้น..คือความจริง ความ ดี ความงามที่นักเขียนทั้งหมดได้สะท้อนมโนสำนึกแห่งความรับผิดชอบของพวกเขา สื่อสารนัยของชนบทอันมีค่านี้ออกมา..ให้ได้สัมผัสและรับรู้กันอย่างน่ายกย่องและชวนติดตามยิ่ง..สังคมไทยหลงลืมรากเหง้าในความเป็นชนบทของเราไม่ได้หรอก..ตราบใดที่แผ่นดินไทยยังคงเป็นผืนแผ่นดินแห่งชีวิต..ที่ถูกโอบประคองด้วยธรรมชาติแวดล้อมและความงามแห่งการก่อเกิดและล้วนถูกปลูกสร้างขึ้นด้วยพลังอันล้ำค่าของชนบทอันบริสุทธิ์และสัตย์ซื่อนี้..มาเป็นนิรันดร์
สำหรับผู้ได้รับรางวัลพระราชทาน “สื่อเพื่อการพัฒนาชนบท” ประเภท สารคดี ภายใต้ความหมาย “ วิถีชนบท ”
รางวัลชมเชย ๒ รางวัล ได้แก่ผลงานที่มีชื่อว่า “ ฟื้นชีพการแสดงพื้นบ้านล้านนา” ของคุณฉัตรปกรณ์ กำเหนิดผล
ผลงานที่มีชื่อว่า “หนังตะลุงสื่อพื้นบ้าน จิตวิญญาณคนปักษ์ใต้” ของคุณพันธ์ศักดิ์ วรรณคำ
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้แก่ผลงานที่มีชื่อว่า“หยดน้ำที่หายไป” ของร้อยตำรวจโท ทรงวุฒิ จันธิมา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ผลงานที่ชื่อ “ชะตากรรมของมือมีดแห่งบ้านซำเบ็ง” ของคุณนิยม ไขสังเกต
สำหรับรางวัลชนะเลิศประเภทสารคดีได้แก่ผลงานที่ชื่อ “วัวกี้ วิถีพื้นบ้านของชาวเขาวง” ผลงานของคุณพลวัฒน์ ศรีหาตา
นาย วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง กรรมการตัดสิน สารคดี กล่าวว่าการจัดโครงการประกวดรางวัลสื่อเพื่อการพัฒนาชนบทครั้งแรกนี้ในประเภทสารคดีมีผลงานที่ได้รับรางวัลกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาค โดยที่คณะกรรมการมิได้ “ตั้งธง”หรือวางเป้าหมายในการกระจายรางวัลแต่อย่างใด ทว่าเน้นพิจารณาจาก “เนื้อหา” และ“วิธีการเล่าเรื่อง” ตามกรอบเกณฑ์ของการประเมินค่างานสารคดีเป็นสำคัญ “หนังตะลุง : สื่อพื้นบ้าน จิตวิญญาณคนปักษ์ใต้” ของ ฉัตรปกรณ์ กำเหนิดผล
เล่าเรื่องหนังตะลุง ศิลปะพื้นบ้านเก่าแก่ที่คนทั่วไปรู้จักอยู่แล้ว แต่เป็นในบริบทใหม่ของยุคสมัยปัจจุบันกับเรื่อง “ฟื้นชีพการแสดงพื้นบ้านล้านนาฯ” ของ พันธ์ศักดิ์ วรรณคำเล่าถึงการรื้อฟื้นศิลปะการแสดงฟ้อนดาบโดยกลุ่มยุวชนคนรุ่นใหม่ใส่ใจสานต่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นล้านนา เป็นผลงาน ๒ ชิ้นที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลชมเชย
“หยดน้ำที่หายไป” ของ “กระจอกชัย”สารคดีเชิงสืบสวนหาความจริงเกี่ยวกับปริศนาการหายไปของปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ที่เชื่อมโยงไปถึงวิถีชีวิตของคนประมง สัตว์ป่า ไม้เถื่อนและยาบ้า คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ “ชะตากรรมของมือมีดแห่งบ้านซำเบ็ง” ของ นิยม ไขสังเกต เล่าชีวิตชาวสวนยางอีสานกับพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มาแทนพืชไร่ดั้งเดิม ด้วยราคาผลิตที่สูงลิ่วในช่วงเริ่มปลูก แต่กลับตกต่ำยิ่งในยุคนี้เล่าเรื่องผ่านหนุ่มโรงงานที่ตัดสินใจหันหลังให้เมือง หวังกลับไปเป็นคนกรีดยางที่บ้านเกิดแต่ต้องเผชิญกับชะตากรรมในอีกรูปแบบหนึ่งดำเนินเรื่องด้วยสำนวนภาษาที่มีลีลาทางวรรณศิลป์และชั้นเชิงการเล่าเรื่องอันสร้างสรรค์ฉายภาพบรรยากาศได้เห็นภาพ สะท้อนชีวิตชีวาและอารมณ์ความรู้สึกได้ลึกซึ้งถึงใจเป็นผลงานที่ครบองค์ประกอบของความเป็นงานเขียนสารคดีชั้นดีจนได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑
“วัวกี้ วิถีพื้นบ้านของชาวเขาวง” ของ พลวัฒน์ ศรีหาตา เล่าเรื่องราวในท้องทุ่งปศุสัตว์ริมเทือกเขาภูพานที่มีวัวพื้นบ้านเป็นแกนกลางของเรื่องและเป็นแกนหลักทางเศรษฐกิจของผู้คนในแถบนั้นไม่ใช่แค่เพียงด้านรายได้ประจำ แต่ยังเป็นแหล่งเงินเก็บ เป็นมรดกที่จะให้แก่ลูกหลานรวมทั้งเป็นวิถีชีวิตร่วมของการสร้างสังคมชุมชน และการดำเนินชีวิตที่เชื่อมโยงผูกพันอยู่กับธรรมชาติเป็นงานเขียนที่สั้นกระชับ แต่เล่าความได้ครบครัน ทั้งภาพปัจจุบันความเป็นมาและแนวโน้มที่จะเป็นไปของคนกับวัวในท้องทุ่งแห่งนั้นโดยเฉพาะวัวพื้นบ้านที่ประเด็นหลักของเรื่องนั้นถือเป็นเรื่อง unseen สำหรับคนทั่วไปซึ่งอ่านแล้วจับใจจนได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลชนะเลิศอย่างเป็นเอกฉันท์
“เมื่ออ่านงานเขียนที่ได้รับรางวัลครบทุกชิ้นก็จะเห็นภาพสะท้อนวิถีชนบทของเมืองไทยได้ทั่วประเทศ“ วีระศักดิ์ กล่าว
สำหรับผู้ได้รับรางวัลพระราชทาน “สื่อเพื่อการพัฒนาชนบท” ประเภท ความเรียงเยาวชน ภายใต้ความหมาย “ บ้านนอกพรุ่งนี้ที่อยากเห็น ”
รางวัลนี้มีผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชย ถึง ๓ รางวัลพระราชทานด้แก่ :- ผลงานที่ชื่อ “วิถีชนบทไทย” ของ นางสาวซูไรยา มะลี- ผลงานที่ชื่อ “ทางกลับบ้าน” ของนางสาวภัทราวดี ชิตยวงษ์- ผลงานที่ชื่อ “บ้านนอกพรุ่งนี้ ที่อยากเห็น” ของคุณวิทยา สิงห์สนั่น
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ประเภทความเรียงเยาวชน ไม่มีผลงานที่เหมาะสมที่จะได้รับรางวัลพระราชทาน
รางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ผลงานที่ชื่อ “บ้านนอกพรุ่งนี้ ที่อยากเห็น” ของ นางสาวพิชญานิน ไรวินท์สุรดิษ
รางวัลชนะเลิศ ประเภทความเรียงเยาวชน ได้แก่ผลงานที่ชื่อ “บ้านอกพรุ่งนี้ที่อยากเห็น” ของคุณพงศธร กาญจนกังวาฬกุล
นาย เจน สงสมพันธุ์ กรรมการตัดสิน ประเภทความเรียง กล่าวว่า ความเรียง บ้านนอกพรุ่งนี้ที่อยากเห็น โดย พงศธร กาญจนกังวาฬกุล เป็นความเรียงที่ร้อยเรียงให้ภาพชนบทที่ยังคงวิถีธรรมชาติ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน เป็นความเรียงที่อุดมด้วยภาษาพรรณาที่ทำให้ผู้อ่านสามารถเห็นภาพสีสันแห่งท้องทุ่งซึ่งอร่ามด้วยสีทองของรวงข้าวและการแปรเปลี่ยนสีสันตามฤดูกาลท่ามกลางวิถีแห่งชนบทที่ถูกบรรยายให้เห็นภาพอย่างมีมิติโดยมี “ยาย” เป็นตัวเสริมเติมเรื่อง มาเดินเรื่องให้ความเรียงมีชีวิต และมี “ฉัน” เป็นหัวใจแห่งความปรารถนา เป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูกาลใหม่ เป็นกลไกที่จะหมุนต่อไปยังอนาคตที่อยากจะเห็นสิ่งที่เป็นทุนทางสังคมเหล่านี้ยังคงดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์แบบสาระที่ผู้เขียนความเรียงนำเสนอ เป็นการนำไปสู่ภาพแทนของการมีชีวิตที่สงบ พึ่งพาตนเอง เป็นสังคมที่คงความเอื้อเฟื้อ มีวัฒนธรรมประเพณีร้อยรัดสัมพันธภาพ เป็นความงดงามแห่งชนบทที่ผู้เขียนปรารถนาจะให้มีสืบต่อในกาลต่อไป
ด้วยเหตุดังกล่าว ความเรียงนี้จึงสมควรได้รับรางวัลชนะเลิศ ความเรียงประเภทเยาวชนในโครงการประกวดสื่อเพื่อการพัฒนาชนบท ประจำปี ๒๕๕๙
ส่วน บ้านนอกพรุ่งนี้ที่อยากเห็น โดยพิชญานิน ไรวินท์สุรดิษเป็นความเรียงที่ให้ภาพเชิงเปรียบเทียบระหว่างเมืองกับชนบทให้เห็นถึงความอ้างว้างที่ห้อมล้อมชีวิตในเมืองใหญ่ ซึ่งมีความแออัด กับชีวิตในชนบทที่ยังมีธรรมชาติต้นไม้ใบหญ้า ผู้คนยังรู้จักทักทาย ยังมีวัดที่เป็นได้หลากหลายอย่างในชีวิตของคนที่นั่นโดยความรู้สึกประทับใจต่อชนบทค่อย ๆซึมซับเข้ามาในความรู้สึกของผู้เขียนเรียงความผู้ซึ่งมียายอาศัยอยู่ในชนบท
สาระที่ผู้เขียนความเรียงนำเสนอ ค่อย ๆ เติมสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นความประทับใจความอบอุ่นเป็นกันเองที่หัวใจได้สัมผัส ชนบทสามารถพึ่งพาตัวเองได้เพราะมีธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมการเป็นอยู่ที่พอเพียง พอประมาณ และการแบ่งปันซึ่งกันและกันสิ่งนี้เองที่ผู้เขียนสัมผัสและนำพาคนอ่านไปสู่สิ่งที่เป็นความสุขที่เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย
ด้วยเหตุดังกล่าว ความเรียงนี้จึงสมควรได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ความเรียงประเภทเยาวชน
ในโครงการประกวดสื่อเพื่อการพัฒนาชนบท ประจำปี ๒๕๕๙บ้านนอกพรุ่งนี้ที่อยากเห็น โดย ซูไรยา มะลี ได้ฉายภาพชนบทของชายแดนใต้ที่ปัจจุบันแม้ถนนหนทางจะเจริญมากแล้ว แต่วิถีคนบ้านนอกยังแยกได้ชัดเจนจากวัฒนธรรมผู้คนที่นั่นยังคงแนบแน่นกับประเพณี ศาสนาและวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาการยังดำเนินวิถีแบบเดิมทำให้ช่องว่างระหว่างวัย ช่องว่างระหว่างผู้คน ยังเกิดขึ้นน้อยมากแต่ปัญหามักจะเกิดมาจากปัจจัยภายนอก
สาระที่ผู้เขียนความเรียงนำเสนอ เป็นเหมือนตัวแทนของการร้องเรียนถึงสิ่งที่ควรแก้ไขเรื่องความเป็นอยู่ โอกาสทางการศึกษาความเจริญของโลกสมัยใหม่ที่ได้พรากความอบอุ่นและสร้างปัญหาให้กับเยาวชน เทคโนโลยีการสื่อสารความไม่ไว้วางใจคนท้องถิ่นจากรัฐ เป็นสิ่งที่ผู้เขียนหวังว่าจะได้รับการแก้ไขและเยียวยาในเวลาต่อไปด้วยเหตุดังกล่าว ความเรียงนี้จึงสมควรได้รับรางวัลชมเชย ความเรียงประเภทเยาวชน
ในโครงการประกวดสื่อเพื่อการพัฒนาชนบท ประจำปี ๒๕๕๙บ้านนอกพรุ่งนี้ที่อยากเห็น โดย ภัทราวดี ชิตยวงษ์ ได้เขียนถึงเหตุการณ์ที่ขึ้นเพียง ๕ วันในระหว่างเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ตั้งแต่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘- ๓ มกราคม ๒๕๕๙ที่ผู้คนจำนวนมากเดินทางกลับไปต่างจังหวัดเพื่อเยี่ยมเยือนญาติ พี่น้อง
ตัวผู้เขียนเองก็เช่นกันได้เดินทางไปเยี่ยมแม่ใหญ่ที่ต่างจังหวัด ซึ่งกี่ปี ๆ ความเป็นอยู่ต่าง ๆ ยังคุ้นตาและทำให้เธอได้รู้ว่าสิ่งที่คนเมืองต้องการเห็นก็คือ ความสงบ ความเป็นกันเอง การไม่แบ่งแยก เสมอภาค
สาระที่ผู้เขียนความเรียงนำเสนอ ทำให้เห็นว่าเมื่อมีเทศกาลผู้คนจะหลั่งไหลออกต่างจังหวัดทำให้รถติดยาวเหยียดในถนนสายหลักสิ่งนี้เป็นสิ่งที่บอกว่าที่สุดแล้วคนเราต้องการค้นหาและพบเจอสิ่งใดเพียงแต่ที่จำเป็นต้องใช้ชีวิตในเมืองก็เพื่อดิ้นรนทำมาหากินเท่านั้น แต่ความสุขจริง ๆ แล้วอยู่ที่โน่น..ที่ไกลออกไป สถานที่ที่พวกเขาจากมา.. บ้านนอกนั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว ความเรียงนี้จึงสมควรได้รับรางวัลชมเชย ความเรียงประเภทเยาวชน
ในโครงการประกวดสื่อเพื่อการพัฒนาชนบท ประจำปี ๒๕๕๙บ้านนอกพรุ่งนี้ที่อยากเห็น โดย วิทยา สิงห์สนั่น ดำเนินเรื่องโดยผ่านการเล่าเรื่องของตนเอง
กับความประทับใจในท้องทุ่ง พร้อมกับฉายภาพให้เห็นสิ่งที่เปลี่ยนไปเช่นจากใช้ควายไถนามาเป็นเครื่องจักรจากการจับปูมาทำอาหารเพื่อจำกัดจำนวนศัตรูข้าวมาเป็นใช้ยาฆ่าและสารเคมีการละเล่นที่ทำขึ้นเองได้มาเป็นของเล่นพลาสติกชีวิตเดิมนับเป็นความสุขเป็นความหอมหวานแห่งวัยเยาว์
สาระที่ผู้เขียนความเรียงนำเสนอ คือการเปลี่ยนแปลงของชีวิตผู้คนในท่ามกลางค่ำคืนที่ยังมีพระจันทร์ดวงเดิมผู้เขียนจึงปรารถนาว่าบ้านนอกในวันพรุ่งจะหวนคืนกลับไปสู่ความสุขสมบูรณ์ พร้อมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วยเหตุดังกล่าว ความเรียงนี้จึงสมควรได้รับรางวัลชมเชย ความเรียงประเภทเยาว สำหรับผู้ได้รับรางวัลพระราชทาน “สื่อเพื่อการพัฒนาชนบท” ประเภท คลิปวีดีโอ ภายใต้ความหมาย “ วิถีบ้านนอก “
สำหรับรางวัลประเภทคลิปวีดีโอ มีผลงานผ่านเข้ารอบสุดท้ายมา ๒ เรื่อง และ
ผลงานทั้ง ๒ เรื่อง ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการตัดสินให้ได้รับรางวัลชมเชย
ผลงานคลิปวีดีโอ ที่ได้รับรางวัลชมเชย ได้แก่ผลงานที่ชื่อ “เสียงกระซิบจากผืนป่า”ของคุณธนินทร์ เสาธง
และผลงานที่ได้รับรางวัลชมเชยอีก ๑ รางวัลได้แก่ ผลงาน ที่ชื่อ “คนทำตาล”ของ นางสาวสุวนันท์ วงษ์ซื่อ................................
ความคิดเห็นซึ่ง ชนินทร์ ชมะโชติ กรรมการตัดสิน รางวัลสื่อบ้านนอก ประเภทคลิปวิดีโอ สำหรับบุคคลทั่วไป กล่าวว่าคณะกรรมการเห็นพ้องต้องกันว่า
เนื่องจากเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่จะได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมดังนั้นผลงานที่จะนำเสนอเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลจะต้องพิจารณาอย่างเข้มงวดและดีเด่นจริงๆเท่าสิ่งที่คณะกรรมการตัดสินประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาออกไปล่วงหน้าจะเห็นว่าคณะกรรมการจะไม่ดูคุณภาพของภาพถ่ายหรือคุณภาพของการผลิตเป็นหลักแต่จะให้ความสำคัญมากที่สุดกับ “ศิลปะการเล่าเรื่อง” ที่สอดคล้องกับแนวคิดที่ต้องการจะเล่าจากแนวคิดของเขานำไปสู่การเล่าเรื่องอย่างมีศิลปะได้อย่างไร มีที่มาที่ไปเรียบเรียงประเด็นต่างๆที่ต้องการนำเสนอ ผ่านการลำดับเรื่องได้อย่างน่าสนใจ เข้าใจ และน่าติดตามจนสามารถกระตุ้นความรู้สึกและอารมณ์ร่วมของคนดูได้ จนเกิดความเชื่อ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับ“สื่อบ้านนอก” ที่จะสื่อสารต่อสาธารณชนได้อย่างมีพลัง
จากผลงานประเภทบุคคลทั่วไป ที่ผ่านรอบแรกจำนวน ๒๙ ผลงานคณะกรรมการตัดสินมีความเห็นว่า ยังไม่มีผลงานใดดีและสมบูรณ์พอที่จะได้รับรางวัลดีเด่นมีเพียง 2 ผลงานเท่านั้นที่อยู่ในระดับรางวัลชมเชยคือผลงาน “เสียงกระซิบจากผืนป่า” และ “คนทำตาล”ส่วนผลงานประเภทสื่อมวลชน ยังไม่มีผลงานที่อยู่ในระดับที่ได้รับรางวัล.
.............................................
สำหรับผู้ได้รับรางวัลพระราชทาน “สื่อเพื่อการพัฒนาชนบท” ประเภท ภาพถ่ายผลงานภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลชมเชย มี ๒ ผลงาน
ผลงานภาพถ่าย (...ภาพไม่มีชื่อ...) ของคุณอาณกร จารึกศิลป์
ผลงานภาพถ่ายที่มีชื่อว่า “รวมตัวจับปลา” ผลงานของคุณประภาส ธงอาษา
ผลงานภาพถ่ายรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ ได้แก่ผลงานภาพที่ชื่อ “ ชีวิตเรียบง่าย ” ของนางสาวพรรณราย เกกีงาม
ผลงานภาพถ่ายรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ผลงานภาพที่ชื่อ “ นาข้าวสมบูรณ์ ” ของ นางสาวสุวิมล ยืนยงค์
สำหรับรางวัลชนะเลิศประเภทภาพถ่าย ได้แก่ผลงานภาพถ่ายที่ชื่อ “อัญเชิญ” ของคุณวินนิวัตร ไตรตรงธนรัตน์
สำหรับรายชื่อภาพถ่าย ๘๙ ภาพสุดท้าย ดังรายการต่อไปนี้ :-ลำดับ ชื่อ นามสกุล ชื่อภาพ
1 กรกมล ตันฐิตารักษ์ ทะเลคือชีวิต
2 กิจชภณ ปฏิวงศ์ไพศาล สืบสาน
3 กิจชภณ ปฏิวงศ์ไพศาล ชีวิตแสนสงบ
4 กิจชภณ ปฏิวงศ์ไพศาล กรำแดด
5 กิจชภณ ปฏิวงศ์ไพศาล เราจะสู้
6 คันธ์ชิต สิทธิผล วิถีชีวิตชาวนาขั้นบันได
7 คุณากร พยัคฆันตร์ ทางแห่งชัยชนะ
8 จามิกร ศรีดำ ตลาดนัดวัวควาย
9 จามิกร ศรีดำ ฟังธรรม
10 จามิกร ศรีดำ ตลาดยามเช้า
11 จิรวัฒน์ เพ็ชร์อำไพ -
12 จิรวัฒน์ เพ็ชร์อำไพ -
13 จิรศักดิ์ โตเลิศมงคล วิถีชีวิตบ้านนอก
14 จิรศักดิ์ โตเลิศมงคล วิถีเด็กๆ บ้านนอก
15 ชนกานต์ นิพพิทา รับจ้างทำอวน
16 ชวิน ถวัลย์ภิยโย ร่วมด้วยช่วยกันทำมาหากินในวิถีบ้านบ้าน
17 ชาญวิทย์ อิสราสุวิภากร -
18 ชูศักดิ์ อุทัยภาณุมาศ อยู่อย่างพอเพียง
19 ชูศักดิ์ อุทัยภาณุมาศ ลูกหลานประมงไทย
20 ชูศักดิ์ อุทัยภาณุมาศ 1 ชีวิต เพื่อ 1 ชีวิต
21 ไชยนันท์ ช่างกระโทก IMG_1555
22 ณฐมน แซ่กัง ใจสู้
23 ทิพวรรณ คงโต ยามเช้าที่ปางอุ๋ง
24 เทิดทูน กัลยา ตลาดนัดบ้านนอก
25 ธนวินท์ คงมหาพฤกษ์ ตลาดโค-กระบือ
26 ธนวินท์ คงมหาพฤกษ์ งานฝีมือ
27 ธีรนันท์ วงศ์แซงดี -
28 นรินทร์ แสไพศาล -
29 นริศ เกตอำพันธุ์ สะพานไม้แกดำ 1.
30 นริศ เกตอำพันธุ์ -
31 นวพร ธนะสาร -
32 บุญมี ถนอมสุขสันต์ ชีวิตชนบท ที่พอเพียง
33 ประภาส ธงอาษา รวมตัวกันจับปลา
34 ปรัชญาวุฒิ มุจรินทร์ ตึกแห (เหวี่ยงแห หาปลา)
35 ปรัชญาวุฒิ มุจรินทร์ ประเพณีท้องถิ่น
36 ปรัชญาวุฒิ มุจรินทร์ หาปลา
37 ปิยะ พละปัญญา พวกเราสนุก
38 ปิยะวัฒน์ จิรเทียนธรรม ลงแขกโกยเกลือ
39 พงษ์ชัย มูลสาร รักษ์ช้างไทย
40 พรรณราย เกกีงาม ชีวิตเรียบง่าย
41 พลฤทธิ์ ฐิติวริทธินันท์ สืบสานภูมิปัญญา
42 พลฤทธิ์ ฐิติวริทธินันท์ เชียร์สุดใจ
43 พิชญวัฒน์ ปรุงศักดิ์ คลายร้อน
44 พิมล พลายแก้ว -
45 พิมล พลายแก้ว -
46 พิษณุ ศรีไหม วิถีชีวิตบ้านนอก 2
47 ภูวไนย พลไชย ศรัทธาในตำนาน หาใช่ด้านความงมงาย
48 ภูวไนย พลไชย ศรัทธาในตำนาน หาใช่ด้านความงมงาย 2
49 ภูวไนย พลไชย น้ำน้อย กรุณาใช้สอยอย่างประหยัด
50 มนูญ พงศ์พันธุ์พัฒน์ ว่าวแอกยักษ์ รักในหลวง
51 มนูญ พงศ์พันธุ์พัฒน์ สีสันบ้านนอก
52 ยงยุทธ คงมหาพฤกษ์ เสร็จแล้ว
53 ยงยุทธ คงมหาพฤกษ์ สนุกสนานตามภาษาบ้านเฮา
54 ลักขณา เสวกสุริยวงศ์ ลอยกระทงสาย(กาบกล้วย)
55 ลักขณา เสวกสุริยวงศ์ ยกยอ 2.
56 วรดิเรก มรรคทรัพย์ สีสันวัฒนธรรมชาวมุสลิม
57 วินนิวัตร ไตรตรงธนรัตน์ อันเชิญ
58 วินนิวัตร ไตรตรงธนรัตน์ ถวายเพล
59 วินนิวัตร ไตรตรงธนรัตน์ บวชนาคช้าง
60 วิสรุจน์ สิงหกลางพล โดนเข้าเต็มคาง
61 วิสรุจน์ สิงหกลางพล เนืองแน่น
62 วิสรุจน์ สิงหกลางพล ถีบกระดานเก็บหอยแครง
63 วิหาญ ขวัญดี ประเพณี
64 สราวุฒิ ฉ่ำแสง ความสุขของเด็กบ้านนอก
65 สราวุฒิ ฉ่ำแสง วิถีชาวนาชนบท
66 สัญชัย บัวทรง ตากแผ่นแป้ง
67 สัญชัย บัวทรง เก็บดอกดาวเรือง
68 สัญชัย บัวทรง คัดแยก
69 สันติ เศษสิน แสงแรกแห่งบ้านปากประ
70 สันติ เศษสิน เชือกที่ผูกพัน
71 สันติ เศษสิน สิ่งที่ได้กลับมา
72 สันติ เศษสิน ชาวนาสามัคคี
73 สุกฤษฏิ์ หิรัญสารพงศ์ สนุกกับฟอร์มูล่าม้ง
74 สุกฤษฏิ์ หิรัญสารพงศ์ สนุกแบบพอเพียง
75 สุทัศน์ มงคลธนเลิศ รอยยิ้มแห่งความสุข
76 สุนิสา เบญจกิจ DSC_3645
77 สุริย โพธิ์ศรี -
78 สุวิมล ยืนยงค์ นาข้าวสมบูรณ์
79 หรรษา ตั้งมั่นภูวดล ตระเตรียมสู่ขวัญข้าว
80 อาณกร จารึกศิลป์ -
81 อาณกร จารึกศิลป์ -
82 อนุวัฒน์ หมันเส็น แข่งนก สานสัมพันธ์
83 อนุวัฒน์ หมันเส็น ชาวนา พอเพียง
84 อัครายชญ์ เพ็ชร์อำไพ -
85 อังศณา วงศ์เจ๊ะเซ็ม ชะตากรรมมันมิน้อย ๒
86 อาหามะ สารีมา ขูดมะพร้าว
87 อาหามะ สารีมา เลี้ยงควาย
88 อำนวย นันทวิชิต เรือนแพ
89 เอกรินทร์ เอกอัจฉริยะวงศ์ แข่งกีฬาหลังเก็บเกี่ยว
ทั้งนี้ผู้ที่ชนะเลิศและผ่านการเข้ารอบจะเข้าร่วมงาน“พิธีรับรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยรางวัลพระราชทาน “สื่อเพื่อการพัฒนาชนบท”ได้รับการออกแบบโดยศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์งานพิธีจัดขึ้นในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องออดิทอเรส ชั้น ๕ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(หอศิลป์กรุงเทพฯ) โดย มีหม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุลเลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เป็นประธานในพิธีรับรางวัลพระราชทานโดยหม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานกรรมการตัดสินรางวัล พร้อมรับฟังศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี แสดงปาฐกถาเรื่อง“สื่อกับบทบาทในการสร้างความเข้าใจระหว่างเมืองกับชนบท” ซึ่งผลงานทั้งหมดนำมาจัดนิทรรศการที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(หอศิลป์กรุงเทพฯ)พร้อมจัดนิทรรศการผลงานให้ประชาชนผู้สนใจทั่วไปเข้าชมฟรี เริ่มตั้งแต่ วันที่ ๒๘ มิ.ย. ถึงวันที่ ๓ ก.ค.
ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม)ปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ซึ่งเป็นผู้ออกแบบสร้างสรรค์รางวัลพระราชทานฯ กล่าวว่าได้รับแรงบันดาลใจจากดอกบัวและนกเจ้าฟ้าสิรินธร โดยดอกบัวและกลีบบัวคือสัญลักษณ์แทนความดี ความสุข ความปีติคือสัญลักษณ์แทนการสื่อสารเรื่องราวต่างๆที่เป็นไปอย่างอิสระจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งในทุกๆพื้นที่ทั่วโลก