ไลฟ์สไตล์

“ศิลปะเพื่อสังคม”  ในแบบครูศิลปะ “อารี สุทธิพันธุ์”

“ศิลปะเพื่อสังคม” ในแบบครูศิลปะ “อารี สุทธิพันธุ์”

28 ธ.ค. 2559

คนส่วนใหญ่มักนึกคิดว่า “ครูศิลปะ” เป็นครูที่ไม่ค่อยมีบทบาทนักในสังคมเมื่อเทียบกับครูศาสตร์อื่นๆ เพราะในอดีตศิลปิน จิตรกร มักถูกตีตราว่าเป็น“ศิลปินไส้แห้ง” 

 

       ทว่าความรู้และความเข้าใจที่หยั่งรากลึกลงในความมุ่งมั่นของการถ่ายทอดวิชาการด้านศิลปะของศาสตราจารย์พิเศษ อารี สุทธิพันธุ์ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ปี 2555 ตลอดทั้งชีวิตของการเป็นครูสอนศิลปะนั้น ได้ช่วยเปลี่ยนมุมมองคติความเชื่อเก่าๆ เกี่ยวกับวิชาการด้านศิลปะและผู้ที่เป็นศิลปิน ก็ด้วยความเป็นครูศิลปะที่คิดนอกแบบ คัดค้านการเรียนการสอนศิลปะด้วยการเลียนแบบ กระทั่งได้ชื่อว่าเป็นคนต้นแบบของการสอนและสร้างสรรค์ศิลปะไปปรับใช้ในชีวิตจริง ในความเป็น “ครูศิลปะที่ทำงานศิลปะเพื่อสังคม” มานานถึง 46 ปี

“ศิลปะเพื่อสังคม”  ในแบบครูศิลปะ “อารี สุทธิพันธุ์”

                 วันนี้ มูลนิธิอารี สุทธิพันธุ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) จัดให้มีกิจกรรม workshop เนื่องใน “วันครูศิลปะอารี สุทธิพันธุ์” โดยการเสวนาเรื่อง “สอนศิลปะอย่างไรให้เด็กเกิดสุนทรียภาพ” จัดประกวดภาพวาดเหมือนจริงในหัวข้อแสดงความไว้อาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 จากนักเรียนใน 36 พื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานครและชุมชนจากต่างจังหวัด ตามแนวคิดของครุอารีที่เชื่อว่า  เด็กคือผู้มีจินตนาการและจินตนาการเป็นจุดเริ่มต้นการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่ดีได้ในสังคม ศิลปะนั้นต้องมีไว้เพื่อสังคม ศิลปินควรต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อสร้างงานศิลปะเพื่อสังคม จึงจะรียกว่าศิลปะมีส่วนช่วยสร้างสังคมให้ดี

                ครั้งนี้จึงได้เห็นพ่อแม่ผู้ปกครองพาลูกวัยเด็กอนุบาล วัยประถมต้น มาร่วมแข่งขันระบายภาพวาดแต้มลงสีกันอย่างสนุกสนาน โดยการประกวดภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ เด็กอนุบาล 5-6 ปี ประกวดวาดภาพหัวข้อ “ฉันรักในหลวง” เด็กประถมต้น 7-9 ปี ประกวดวาดภาพหัวข้อ “ฉันเกิดในรัชกาลที่ 9 “ และเด็ก 10-12 ปี ประกวดวาดภาพหัวข้อ “ความดี วิถีพอเพียง” 

“ศิลปะเพื่อสังคม”  ในแบบครูศิลปะ “อารี สุทธิพันธุ์”

       โดยมีโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการนับร้อยแต่ก็ผ่านการคัดเลือก 36 แห่ง อาทิ ร.ร.น่านคริสเตียนศึกษา ร.ร.สามแยกหลอแหล ร.ร.บ้านรังศิลป์ ร.ร.อนุบาลเด่นหล้า ร.ร.ปิยะพงษ์วิทยา ร.ร.ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยชุมชนลาดพร้าว ร.ร.บ้านรักศิลปะชุมพร ร.ร.วัดปากน้ำฝั่งเหนือ ร.ร.เธียรประสิทธิ์ ร.ร.วัดโพธิ์ (ราษฎร์ผดุงผล) ร.ร.อมรินทราราม ร.ร.วิชูทิศ ร.ร.วัดบรมนิวาส ร.ร.วัดบัวแก้ว ร.ร.บ้านรักศิลปะอำมฤต ร.ร.ถนอมพิศวิทยา ร.ร.วัดสามควายเผือก ร.ร.เซนต์ดอมินิก ร.ร.สมโภชกรุงอนุสรณ์ และ ร.ร.วัดชัยพฤกษมาลา

       ซึ่งผลรางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เรื่องราว และ สร้างสรรค์ (ยอดเยี่ยม ดีเด่น ชมเชย) และทุกโรงเรียนสามารถคว้ารางวัลในแต่ละประเภททุกระดับไปครองได้ตามความสามารถทางศิลปะ  นอกจากนี้ยังมีเหล่าศิลปินจิตรกรชั้นแนวหน้า ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันมาร่วมวาดภาพในหลวงรัชกาลที่ 9 บนเฟรมผ้าใบขนาดใหญ่เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ต่อมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 มหาวิทยาลัยชื่อพระราชทานจากพระองค์ท่าน อีกทั้งยังเป็นการนำศิลปะสู่ชุมชนเพื่อสร้างสุขแก่สังคมในการเป็นมหาวิทยาลัยรับใช้สังคม

“ศิลปะเพื่อสังคม”  ในแบบครูศิลปะ “อารี สุทธิพันธุ์”

             ผศ.ดร.ระวิวรรณ วรรณวิไชย คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว กล่าวว่า “ครูอารีคือผู้วางรากฐานศิลปศึกษาให้กับประเทศไทยและเป็นบรมครูศิลปะที่มีบทบาทในการบุกเบิกวิชาการศิลปศึกษาและก่อตั้งคณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว กิจกรรมการประกวดวาดภาพที่เลือกเด็ก 3 กลุ่มวัยนี้ก็เพื่อต้องการให้เห็นว่าศิลปะเกิดจากจินตนาการที่ไม่มีที่สิ้นสุด

“ศิลปะเพื่อสังคม”  ในแบบครูศิลปะ “อารี สุทธิพันธุ์”

       เด็กคือผู้ที่มีจินตนาการ มีความคิดสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะของเขาจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจ อารมณ์ ศิลปะยังเป็นเครื่องมือในการบำบัดเยียวยาผู้ที่ตกอยู่ในสภาพจิตใจย่ำแย่หดหู่แม้แต่ผู้ต้องขัง ผู้พิการ ผู้มีความบกพร่องด้านต่างๆ ในลักษณะของศิลปะบำบัด

        ซึ่งปัจจุบันศิลปะได้เข้าไปมีอิทธิพลบทบาทมากในหลายด้านของการใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ครูอารีคือครูสอนศิลปะที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้อิสระทางความคิดเพราะครูเชื่อว่าคนเป็นครูนั้น ให้ความรักศิษย์ได้ ให้ความคิดไม่ได้ แต่สอนให้คิดได้ 

“ศิลปะเพื่อสังคม”  ในแบบครูศิลปะ “อารี สุทธิพันธุ์”

      งานครั้งนี้มิใช่เพียงแค่การแสดงมุทิตาจิตต่อบรมครูศิลปะอารี สุทธิพันธุ์ ในวัย 86 ปีวันนี้ แต่เป็นการทำให้รู้ว่าศิลปะคือเครื่องมือสื่อสารที่มีไว้เพื่อสร้างสังคม ศิลปินก็ต้องทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมเฉกเช่นที่ครูอารีทำมาตลอด ท่านจึงเป็นครูศิลปะเพื่อสังคมโดยแท้จริง”  สอบถามได้ที่  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศวสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พัณณ์ชิตา เดชครุฑ โทร.08-132 - 3322