ไลฟ์สไตล์

สุดยอดนักสร้างอินโฟกราฟิก -โมชั่นกราฟิก

สุดยอดนักสร้างอินโฟกราฟิก -โมชั่นกราฟิก

28 ก.พ. 2560

สกว. ประกาศผลสุดยอดนักสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก และโมชั่นกราฟิกในโครงการประลองไอเดียสร้างสรรค์สังคม ‘วิจัยแปลงร่าง 2 ตอน กินอยู่’

        สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. เปิดโครงการประลองไอเดียสร้างสรรค์สังคมอีกครั้ง กับการประกวด วิจัยแปลงร่าง 2 ตอน กินอยู่’ การประกวดสร้างสรรค์สื่ออินโฟกราฟิก และโมชั่นกราฟิก เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทย ได้แสดงความสามารถ ศึกษา ตีความ ย่อยงานวิจัยคุณภาพของ สกว. ในด้านอาหารที่เกี่ยวข้องกับชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วภูมิภาคประเทศไทย โดยได้มีเยาวชนไทย จากทั่วประเทศ ส่งผลงานเข้าร่วมกว่า 800 ชิ้น ทั้งในรูปแบบสื่ออินโฟกราฟิก และโมชั่นกราฟิก พร้อมคว้าเงินรางวัลรวมทั้งสิ้นกว่า 250,000บาท

       ศาสตราจารย์นายแพทย์ สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว.  กล่าวว่า “จากที่ สกว. ได้เปิดรับสมัคร เยาวชนไทยและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมประกวด ‘วิจัยแปลงร่าง 2  ตอน กินอยู่’ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้กับเยาวชนนิสิตนักศึกษา ในระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษา ได้โชว์พลังความคิดสร้างสรรค์ ประยุกต์ใช้ในการผลิตชิ้นงานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม ผ่านสื่อสร้างสรรค์

สุดยอดนักสร้างอินโฟกราฟิก -โมชั่นกราฟิก

                            ผลงานรางวัลชนะเลิศของอันดามัน พานิช

      โดยเยาวชนที่สนใจ เป็นปีที่ 2 นั้น ได้รับความสนใจอย่างสูง มีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 800 ผลงานด้วยกัน  ด้วยเป้าหมายของ สกว. ในการส่งเสริม สนับสนุน ให้ทุนงานวิจัย และต่อยอดผลงาน นำไปใช้ประโยชน์สู่สาธารณะเผยแพร่ออกไปสู่ประชาชนในวงกว้าง  โดยได้มีการคัดเลือกงานวิจัยจำนวนหลายร้อยชิ้น ในหัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ‘อาหารกับการพัฒนาเชิงพื้นที่’ 

     อาทิ ระบบการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพของอาหาร และการจัดการความมั่นคงทางอาหาร แบบแผนการบริโภคอาหาร คุณค่าทางโภชนาการ เป็นต้น และด้วยภารกิจหลักของ สกว. คือ การให้ทุนในด้านงานวิจัยต่างๆ เพื่อส่งเสริมสังคม   และสร้างองค์ความรู้ในหลากหลายมิติให้กับประเทศไทย และเพื่อเป็นการต่อยอดงานดังกล่าว ให้ตอบสนองในการสื่อสารยุคปัจจุบัน ที่มีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก การพัฒนาเนื้อหาแปลงร่างงานวิจัยเปลี่ยนรูปแบบจากหนังสือเล่ม มาเป็นสื่อสร้างสรรค์ ในรูปแบบอินโฟกราฟิก และโมชั่นกราฟิกที่สวยงาม น่าสนใจ เข้าถึงคนได้ง่าย จึงถือเป็นส่วนสำคัญในการต่อยอดภารกิจดังกล่าว”

      “จากการเปิดตัวโครงการ รับสมัคร และปิดรับส่งผลงานตั้งแต่เดือนตุลาคม - 15 ธันวาคม 59  ทีมงานได้ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่าง ๆ และได้จัดโรดโขว์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบอินโฟกราฟิกและโมชั่นกราฟิกกับน้องๆ ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ รวม 10   มหาวิทยาลัย

      ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคามมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยนเรศวร สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  จนมีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 800 ชิ้น จากทั่วประเทศ

สุดยอดนักสร้างอินโฟกราฟิก -โมชั่นกราฟิก

รองชนะเลิศอันดับ 1 ..ศราภรณ์ สุภัคกุล

     โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการออกแบบสื่อสมัยใหม่ อาทิ  คุณจิรัฎฐ์ พรพนิตพันธุ์ ผู้ก่อตั้งนิตยสาร Cheeze และ Looker, คุณธวัชชัย แสงธรรมชัย ผู้ก่อตั้ง Why not social exnterprise, คุณศุภสัณฑ์ นภาสว่างวงศ์ Director Infographic Thailand, คุณปิยะนุช พร้อมประพันธ์Content & Art Direction Infographic Thailand, คุณปฎิกาล ภาคกาย บรรณาธิการบริหาร สำนักพิมพ์แซลมอน และ ดร.เฉลิมรัฐ นาควิเชียร เจ้าของธุรกิจNet Design 

  โดยคณะกรรมการ  ผู้เชี่ยวชาญจะตัดสินผลงานจาก รูปแบบ เนื้อหาที่สามารถการถ่ายทอดข้อมูลจากงานวิจัย (Content)ออกมาเป็นสื่ออินโฟกราฟิกและโมชั่นกราฟิก รวมถึงความสวยงามและการจัดวางองค์ประกอบตามหลักการออกแบบ (Design) จนได้ผู้ชนะเลิศ เยาวชนจากหลากหลายมหาวิทยาลัยด้วยกัน

       โดย ด้านสื่ออินโฟกราฟิก รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายอันดามัน พานิช สาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ออกแบบจากงานวิจัยเรื่อง ความหลากหลายของคุณภาพทางด้านโภชนาการในข้าวสีพันธุ์พื้นเมืองของไทย ผลงานของ อ.ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

         รองชนะเลิศอันดับ 1 ..ศราภรณ์ สุภัคกุล สาขานิเทศศาสตร์เกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกแบบจากงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลไม้แช่เยือกแข็งของไทยให้ทนต่อการแช่เยือกแข็งและทำละลาย ผลงานของรองศาสตราจารย์ ดร. สงวนศรี เจริญเหรียญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

        รองชนะเลิศอันดับ 2 นายกฤตกร ทำดี สาขานิเทศศาสตร์เกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกแบบจากงานวิจัยเรื่อง แนวทางการสืบทอดองค์ความรู้เรื่องผักพื้นบ้าน เพื่อปลุกจิตสำนึกการอนุรักษ์คลองตูหยง ของชุมชนบ้านคลองขุด หมู่ที่ 6 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผลงานของนักวิจัย นายดิเรก เหมนคร และคณะ

      และรางวัลชมเชยอีก 3 รางวัล ได้แก่ นายณัทพงศ์ เสนะเกตุ สาขานิเทศศาสตร์เกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ออกแบบการศึกษาดัชนีการวัดความอ่อน-แก่ทุเรียนแบบทำลายน้อยที่สุด ผลงานของนักวิจัย นายปราโมทย์ กุศล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

      น..รรัญรร บุญเสริมส่ง สาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ออกแบบจากงานวิจัยเรื่อง การจัดการข้าวที่สูงสู่ความมั่นคงด้านอาหารของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ผลงานของนักวิจัย นางวาสนา เกษอินทร์ และคณะ

      และ น..ภัทรภร บุญวิบูลย์ สาขาวิชานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ออกแบบจากงานวิจัย ชุดเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงปลาในบ่อ ผลงานของนักวิจัย รศ..สพ.ดร.วรพล เองวานิช และคณะ

     ด้านสื่อโมชั่นกราฟิก รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวสินีนาฏย์ เพิ่มทองคำ และ นางสาวสุพรรษา แซ่โค้ว สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น ออกแบบจากงานวิจัยเรื่อง แนวทางการสืบทอดองค์ความรู้เรื่องผักพื้นบ้าน เพื่อปลุกจิตสำนึกการอนุรักษ์คลองตูหยง ของชุมชนบ้านคลองขุด หมู่ที่ 6 ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ผลงานของนักวิจัย นายดิเรก เหมนคร และคณะ