ไลฟ์สไตล์

เบาหวานคร่าชีวิตวัยทำงานเปีละ7หมื่นคน

เบาหวานคร่าชีวิตวัยทำงานเปีละ7หมื่นคน

10 มี.ค. 2560

เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” การเตรียมการด้านต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

         ในขณะที่ร่างกายไม่พร้อม ผู้สูงอายุ ต้องเผชิญกับภาวะโรครุมเร้าที่มักจะมาพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ ก่อนจะเป็นผู้สูงวัย ต้องเตรียมตัวสนใจดูแลตนเองเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นต้นทุนสะสมไว้แต่แรกๆ

เบาหวานคร่าชีวิตวัยทำงานเปีละ7หมื่นคน

         ” รศ.นพ.สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคเบาหวาน กล่าวให้ข้อมูล เกี่ยวกับ “สถานการณ์โรคเบาหวานในไทย” ในการประชุมวิชาการประจำปีครั้งที่ 39 จัดโดยสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา ร่วมกับโรงพยาบาลปิยะเวท เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา.ระบุว่า ข้อมูลจากสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation; IDF) รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในปี 2558 พบว่ามีผู้เป็นเบาหวานทั่วโลก 387 ล้านคน

        ซึ่งสาเหตุสำคัญคือ การไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือไม่ได้รับการตรวจคัดกรองว่าเป็นเบาหวานตั้งแต่เบี้องต้น กว่า 43.2% และกว่า 34.1% คือกลุ่มที่เป็นเบาหวานแล้วไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนและความสูญเสียที่สำคัญคือตาบอด การถูกตัดขา ไตวาย และการเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไม่ถึงครึ่งที่เป็นเบาหวานแล้วสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้

เบาหวานคร่าชีวิตวัยทำงานเปีละ7หมื่นคน

           ประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 8.8% นั่นหมายความว่ากว่า 4.3 ล้านคน ป่วยเป็นเบาหวาน และมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ราวๆ 76,000 คนต่อปี เหตุผลส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งคนไทยบริโภคน้ำตาลในอัตราที่สูงขึ้นต่อเนื่อง เฉลี่ยคนละประมาณ 34 กิโลกรัมต่อปี ความหวานจากน้ำตาลมีผลกระทบต่อการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากข้อมูลพบว่าคนไทยที่อายุมากกว่า 15 ปี เป็นเบาหวานร้อยละ 6.9

          โดยที่มีประชาชนที่อยู่ในวัยทำงานอายุระหว่าง 45-59 ปี เป็นเบาหวานถึงร้อยละ 10.1 และผู้ที่อายุ 30-44 ปี เป็นเบาหวานร้อยละ 3.4 นอกจากจำนวนจะสูงขึ้นแล้วยังพบว่ามากว่าครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตัวเองเป็นเบาหวาน และผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานในอนาคตอีกกว่าร้อยละ 10

เบาหวานคร่าชีวิตวัยทำงานเปีละ7หมื่นคน

         หากกล่าวถึงปัจจัยสำคัญอีกประการที่นำไปสู่โรคเบาหวานคือความอ้วน พบว่ามากกว่า 30% เพศชาย และกว่า 40% ในเพศหญิงมีน้ำหนักตัวเกิน ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 6.8 ส่วนคนที่อ้วนมากจะเสี่ยงสูงถึง 14.3% แต่ความเสี่ยงนี้จะลดลงหากผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและใช้ชีวิตให้มีกิจกรรมทางกายมากขึ้น มีการควบคุมน้ำหนักอย่างเข้มงวด จะสามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ถึง 70% ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

เบาหวานคร่าชีวิตวัยทำงานเปีละ7หมื่นคน

        เบาหวาน เป็นโรคยอดฮิตหนึ่งในหลายโรคที่มักจะมากับผู้สูงอายุ เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ควรวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ และคนในครอบครัว พบแพทย์อย่างต่อเนื่อง รับประทานยาตามแพทย์สั่งเป็นสำคัญหมั่นสังเกตตนเองในการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผู้สูงอายุ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างยาวนานและมีความสุขได้