ไลฟ์สไตล์

“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017

“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017

24 พ.ค. 2560

คณะวิทย์ จุฬาฯ เผย“ตะขาบน้ำตก” ติด 1 ใน 10 ค้นพบสปีชีส์ใหม่ของโลกปี 2017 สถาบัน IISE สหรัฐอเมริกา พร้อมต่อยอดร่วมมือสถานเสาวภา สภากาชาดไทย สกัดใช้ประโยชน์จากพิษ

 

       คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จุฬาฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ร่วมแถลงข่าว "การประกาศ 2017 TOP TEN NEW SPECIES AWARD หรือ 10 สุดยอดการค้นพบสปีชีส์ใหม่ของโลกประจำปี ค.ศ.2017 โดยสถาบัน IISE(International Institute for Species Exploration) ของมหาวิทยาลัยแอริโซน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการค้นพบตะขาบชนิดใหม่ของโลก

“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017
 

“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017
 

       โดยคณะนักวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การนำของ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา  ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ  ได้ค้นพบ "ตะขาบน้ำตก" ตะขาบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จากการสำรวจความหลากหลายของชนิดพันธุ์ตะขาบในบริเวณประเทศไทยและประเทศข้างเคียง เช่น ลาว  เวียดนาม เป็นต้น 

     ตะขาบดังกล่าว มีลักษณะภายนอกบางลักษณะที่แตกต่างจากตะขาบชนิดอื่นๆ ซึ่งพบได้ทั่วไปบ้านเรือนของมนุาย์  แต่เมื่อทำการศึกษาสัณฐานวิทยาเปรียบเทียบ และชีววิทยาโมเลกุลของ DNA ของตะขาบชนิดนี้ พบว่า ตะขาบชนิดนี้ เป็นตะขาบชนิดใหม่ของโลก  จึงได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scolopendra cataracta Siriwut,Edgecombe and Panha,2016 หรือ “ตะขาบน้ำตก” 

“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017

     ศ.ดร.สมศักดิ์ กล่าวว่า คณะวิจัย ได้ร่วมกันค้นพบตะขาบชนิดใหม่ของโลก มีถิ่นกำเนิดที่เอเชียตะวันออกเฉียง โดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ในครั้งนี้ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น 2017 TOP TEN NEW SPECIES AWARD หรือ 1 ใน 10 สุดยอดการค้นพบสปีชีส์ใหม่ประจำปี ค.ศ.2017 จากสถาบันนานาชาติเพื่อการสำรวจสิ่งมีชีวิตหรือ IISE โดยตะขาบน้ำตก หรือตะขาบว่ายน้ำ สามารถพบได้ตามลำธาร และน้ำตก เนื่องจากหากินใกล้แหล่งน้ำ และบ่อยครั้งพบว่า จะจับเหยื่อในน้ำกินเป็นอาหาร 

    ตะขาบชนิดใหม่นี้ได้พบที่ประเทศไทย ลาว เวียดนาม ตัวอย่างต้นแบบพบที่ เขาสก จังหวัดสุราษฏร์ธานี และที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017

      ดร.วรุฒิ ศิริวุฒิ  ทีมนักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ตะขาบน้ำตกมีความแตกต่างจากตะขาบชนิดอื่นๆ  คือจะมีลำตัวยาวที่สุด ณ ปัจจุบัน คือ 20 เซ็นติเมตร. ปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวอย่าง โดยตัวอย่างต้นแบบหลัก พบที่ลาว 2 ตัว เวียดนาม 2 ตัว และไทย 1 ตัว

          ทั้งนี้ ตะขาบชนิดนี้จะมีลำตัวเรียวยาวสีน้ำตาลเข้ม หนวดสีเหลืองลักษณะคล้ายลูกปัด ขาเดินทุกคู่มีสีเหลืองอ่อน ขาคู่สุดท้ายเรียวยาวปลายขาคู่สุดท้ายยาว ปล้องแรกติดลำตัวของขาคู่ สุดท้ายมีหนามขนาดเล็กปรากฎอยู่บริเวณด้านท้อง ผิวปล้องลำตัวด้านหลังเรียบไม่มีร่องคู่ขนาน  ซึ่งลักษณะที่ปรากฎทั้งหมดทำให้ตะขาบชนิดนี้แตกต่างจากตะขาบบ้านชนิดอื่น ๆ ที่มีการรายงานในบริเวณนี้ และชนิดที่พบได้ยากตามธรรมชาติ 


“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017

     อย่างไรก็ตาม ตะขาบเป็นสัตว์มีพิษที่ภูมิปัญญาในอดีตได้ใช้ประโยชน์จากตะขาบ ได้แก่ การใช้เป็นส่วนผสมในยาแผนโบราณ หรือตำรับยาจีนมาเป็นเวลาช้านาน การวิเคราะห์และตรวจสอบสรรพคุณทางยาในเชิงวิทยาศาสตร์ยังไม่มีรายงานมากพอที่จะสามารถนำไปใช้ต่อยอดองค์ความรู้ได้ ด้วยเหตุนี้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย


“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017


“ตะขาบน้ำตก”1ใน10ค้นพบสปีชีส์ใหม่โลก2017

 

         จึงได้ผนึกกำลังร่วมมือกับทำวิจัยเกี่ยวกัยองค์ประกอบทางเคมี และชีวเคมีของพิษตะขาบที่มีการค้นพบในประเทศไทย ถึง 47 สายพันธุ์ โดยคณะวิจัย จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อนำไปสู่การเป็นฐานของธุรกิจชีวภาพ ตามแนวทางของรัฐบาล