ส่องร่างพรบ.บัตรทองฉบับแก้ไข(เบื้องต้น)
ร่างพรบ.บัตรทองฉบับปรับปรุง ไม่แตะหมวดสิทธิการรับบริการ เพิ่มการช่วยเหลือผู้ให้บริการ-อัตราค่าบริการต้องสะท้อนต้นทุน-แหล่งรายได้สปสช.-ผู้แทนรพ.เข้าเป็นบอร์ด
จากที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะปรับปรุงกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ 30บาทรักษาทุกโรค หรือบัตรทองให้ยั่งยืนด้วยคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเป็นธรรม จึงได้มีแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ..ที่มีรศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เป็นประธาน เพื่อพิจารณายกร่างพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ..... ที่เป็นการปรับปรุงแก้ไขพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาาติ พ.ศ.2545 และมีการแต่งตั้งอนุกรรมการย่อย 2 ชุด ประกอบด้วย คณะอนุกรรมการพิจารณาประเด็นที่1 มี นพ.เสรี ตู้จินดา ที่ปรึกษารมว.สธ. เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการพิจารณาประเด็นที่ 2 มี นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการ สปสช. เป็นประธาน
ล่าสุด เมื่อวันที่ นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการพิจารณา(ร่าง)พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ..... กล่าาวถึงความคืบหน้าเรื่องนี้ว่า เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2560 คณะกรรมการพิจารณา(ร่าง)ฯได้เห็นชอบร่างพรบ.หลักประกันสุขภาพฯ ฉบับที่มีการแก้ไขปรับปรุงแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแก้ในรายละเอียดบางส่วนจากคณะกรรมการกฤษฎี จึงจะนำมารับฟังความคิดเห็นและประชาพิจารณ์ อย่างไรก็ตาม การปรับแก้โดยสาระสำคัยจะครอบคลุมถึง 14 ประเด็นใหญ่ที่ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.)ที่มีศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่า่การกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) ในฐานะประธานบอร์ดสปสช.รับทราบแล้ว
ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 จะมีการประชุมภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำการประชาพิจารณ์ต่อร่างพรบ.ฉบับนี้ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)ดำเนินการใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1.การรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบออนไลน์ (Online Hearing) คาดว่าจะสามารถเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางนี้ได้ภายในสัปดาห์นี้ 2.การจัดเวทีประชาพิจารณ์(Public Hearing) ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วันที่ 10 มิถุนายน จ.เชียงใหม่ 11 มิถุนายน จ.ขอนแก่น 17 มิถุนายน และภาคกลางและทั้งประเทศวันที่ 18 มิถุนายน 2560 ที่ศูนย์การประชุมเซ็นทรา แจ้งวัฒนะ และ3.การรับฟังความคิดเห็่นจากผู้เชี่ยวชาญ(Public Consultation)โดยเชิญผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือถึงเป้าหมายและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการบกร่างพรบ.ฉบับใหม่นี้ จะจัดขึ้นในวันที่ 20-21 มิถุนายน 2560
"จุดประสงค์หลักของการแก้ไขปรับปรุงพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ เพราะ 1.ต้องการให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพิ่มขึ้นหรืออย่างน้อยเท่าเดิม 2.ให้สามารถคงหลักประกันสุขภาพฯให้เดินหน้าต่อไปได้ โดยแก้ไขในส่วนของสปสช.ที่มีปัญหาติดขัดอยู่ และส่วนผู้ให้บริการที่มีปัญหาติดขัดก็แก้ไขเพื่อทำให้ระบบเดินต่อไป" นพ.มรุตกล่าว
รายงานข่าว ระบุว่า สำหรับร่าง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(ฉบับที่...)พ.ศ..... มีการแก้ไขปรับปรุง อาทิ 1.บริการสาธารณสุข ให้หมายความรวมถึงการสนับสนุนการจัดบริการสสาธารณสุขด้วย ที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุข ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำ เช่น เงินเดือน ค้าข้าง ค่าตอบแทน เป็นต้น ,ค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยค่าเสื่อมของสิ่งก่อสรา้งและครุภัณฑ์ที่ใช้ในการบริการผู้ป่วยนอก บริการผู้ป่วยในและบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น
2.ในหมวด 2 ที่เกี่ยวกับ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในส่วนผู้แทนสภาวิชาชีพเพิ่มจาก 5 คนเป็น 6 คน โดยเพิ่มผู้แทนสภาการแพทย์แผนไทย อีกทั้ง เพิ่มผู้แทนหน่วยบริการจำนวน 7 คน จากเดิมที่ไม่มี ได้แก่ ผู้แทนหน่วยบริกรภาคเอกชน ผู้แทนหน่วยบริการสังกัดสธ. ได้แก่ ผู้แทนโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)หรือโรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) โรงพยาบาลชุมชน(รพช.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้แทนหน่วยบริหารสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ ผู้แทนหน่วยบริการสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้แทนหน่วยบริการสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างละ 1 คน นอกจากนี้ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯในส่วนที่กำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตและอัตราค่าบริการสาธารณสุข ต้องคำนึงถึงต้นทุนการบริการด้วย
3. ในหมวด 3 ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพิ่มเติม นอกจากเงินงบประมาณให้สำนักงานมีรายได้ เช่น เงินอุดหนุนจากหน่วยงานรัฐ ภคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งจ่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศและที่มีผู้บริจาค ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน เป็นต้น และไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
4. หมวด 4 ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แก้ไขในมาตรา 41 จากเดิมที่ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นเฉพาะผู้รับบริการ เพิ่มเป็นให้การช่วยเหลือทั้งผู้รับและผู้ให้บริการในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ
และ 5. หมวด 6 ที่เกี่ยวกับคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ใน(4)มาตรา 50 ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ จากเดิมที่ให้เสนอแนะอัตราราคากลางของโรคทุกโรค เพิ่มเป็นเสนอแนะอัตราราคากลางสะท้อนต้นทุนการให้บริการที่แปรผันตามสภาพเศรษฐกิจ สถานการณ์ของโรค โดยต้องเสนแนะให้มีการทบทวนอัตราราคากลางอย่างน้อยทุกๆ 2 ปี เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานในการแก้ไขพรบ.หลักประกันสุขภาพฯฉบับนี้ ไม่ได้มีการแก้ไขในหมวดสิทธิการรับบริกรสาธารณสุข แต่อย่างใด