ไลฟ์สไตล์

ชัยนาท

ชัยนาท

25 เม.ย. 2560

ทริปสิริมงคล ไหว้พระ 9 วัด ชมวัด 700 ปี และเจดีย์สวยที่สุดในประเทศไทย


1. วัดปทุมธาราม (วัดหนองบัว) จ.ชัยนาท

ชัยนาท

สักการะพระมหาธาตุเจดีย์ศรีชัยนาท เจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในจังหวัด ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุของพุทธสาวก.. แล้วกราบอธิษฐานขอพรพระพุทธศากยมุนี ศรีประทานพร พระพุทธรูปปางประทานพรสีทององค์ใหญ่ ให้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ

สภานที่ : ตำบลหนองบัว อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท 17120

เบอร์โทร : 056-949-834

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


2. วัดปากคลองมะขามเฒ่า (วัดหลวงปู่ศุข) จ.ชัยนาท

ชัยนาท

บรรยากาศที่ให้ความสุขสงบทั้งกายและใจ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีทิวทัศน์สวยงามรื่นรมย์ มีต้นมะขามเก่าแก่ตั้งตระหง่านเป็นไฮไลท์อยู่บริเวณหน้าวัดติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อ วัดปากคลองมะขามเฒ่า หรือวัดหลวงปู่ศุข ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่ผู้คนให้ความเคารพเลื่อมใส แม้วันนี้ท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ด้วยวัย 76 พรรษา แต่ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อหลวงปู่กลับมิเคยจางหายหรือลดเลือนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์ด้านวิชาอาคมและเครื่องรางของขลัง สะท้อนให้เห็นได้จากความนิยมในพระเครื่องหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่าที่ยังคงมีอยู่สูงมาก และผู้คนนิยมนำไปสักการบูชา ตามความเชื่อที่ว่าจะมีโชคลาภ เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพัน ส่วนใครที่มากราบไหว้ขอพรถึงวัดปากคลองมะขามเฒ่าก็จะพบกับความสุขสมปรารถนา มีสิริมงคลต่อชีวิตและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงอีกด้วย

ภายในวัดยังคงอนุรักษ์กุฏิของหลวงปู่ศุขซึ่งเป็นแบบทรงไทยโบราณ ภาพถ่ายและข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งหุ่นขี้ผึ้งและรูปหล่อของหลวงปู่ศุข พร้อมด้วยรูปหล่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไว้ให้เป็นที่สักการบูชา นอกเหนือจากนี้ คุณจะได้ยลโฉมภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ที่ติดอยู่ตามผนังในพระอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติ ที่ทรงวาดร่วมกับข้าราชบริพารทั้งหมดเขียนด้วยอักษรขอม ผนังด้านใต้มีภาพเขียนบอกเวลาที่เขียนไว้คือปี พ.ศ. 2433 เพื่อถวายแก่หลวงปู่ศุข เมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถซึ่งทางวัดยังคงอนุรักษ์ไว้อย่างดีเยี่ยม

สภานที่ : หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทร : 035 525 867

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


3. วัดทรงเสวย จ.ชัยนาท

ชัยนาท

ตามตำนานเล่ากันว่า วัดทรงเสวยเป็นชื่อพระราชทานที่ได้จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยขณะนั้นทรงเสด็จพระราชดำเนินเพื่อตรวจสอบลำน้ำเก่า (ซึ่งตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2451) ผ่านลำน้ำมะขามเฒ่าและตลาดวัดสิงห์ ครั้งนั้น พระอธิการคล้อยเป็นเจ้าอาวาสได้ชักชวนราษฎรสร้างพลับพลา เพื่อรับเสด็จฯ และชาวบ้านยังได้ร่วมแรงร่วมใจจัดเตรียมพระกระยาหารเพื่อนำไปถวาย ได้แก่ ยอดหวายโปงเผาไฟ หยวกกล้วยต้ม น้ำพริกปลามัจฉะ พระองค์จึงโปรดให้เรียกวัดแห่งนี้ว่าวัดเสวย แต่ชาวบ้านได้เติมคำว่า ทรง เข้าไปด้วย จึงเป็นที่มาของ วัดทรงเสวย จนถึงทุกวันนี้

ต่อมาวัดทรงเสวยถูกบูรณะเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช พระโอรสองค์ที่ 75 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังสิ้นพระชนม์ด้วยวัย 17 พรรษา อีกทั้งได้ถวายของที่ระลึกแด่พระอธิการคล้อย ซึ่งเป็นของที่ระลึกงานพระศพ ได้แก่ บาตร ฝาบาตรมีตราสีทองรูปวงรี มีข้อความว่า ร.ศ. 128 งานพระศพพระเจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ปิ่นโตขนาดใหญ่ที่ฝาปิ่นโตมีข้อความ เช่นเดียวกับฝาบาตร พระขรรค์ ตาลปัตรใบลาน ตะเกียงลาน เรือสำปั้น ป้านน้ำชา 1 ชุด ปัจจุบันสิ่งของเหล่านี้เก็บรักษาไว้อย่างดีใน พิพิธภัณฑ์วัดทรงเสวย

สภานที่ : บ้านหนองแค หมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทร : 035 525 867

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


4. วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท

ชัยนาท

ใครก็ตามที่มาเยือนจังหวัดชัยนาทต้องแวะไปสักการะวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปปางห้ามญาติที่ประทับบนฐานรูปดอกบัว งดงามด้วยศิลปะประยุกต์สมัยเชียงแสนตอนปลายถึงสุโขทัยตอนต้นผสมกับสมัยอยุธยา มีรูปพระธรรมจักรปรากฏอยู่กลางฝ่าพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งคาดกันว่าเป็นความคิดของช่างสมัยนั้นที่ตั้งใจสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ให้มีเครื่องหมายแห่งมหาปุริสลักษณะ (หรือลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ตามคติอินเดีย เช่น ในฝ่าเท้ามีจักรลักษณะ มีลายตาข่ายในฝ่ามือฝ่าเท้า ข้อเท้าเหมือนสังข์ที่ตั้งขึ้น คางเหมือนคางราชสีห์ เป็นต้น) โดยทุกๆ ปีจะมีงานนมัสการหลวงพ่อธรรมจักรเป็นประจำปีละ 2 ครั้งคือวันขึ้น 4-8 ค่ำเดือน 6 และแรม 4-8 ค่ำ เดือน 11

ประวัติหลวงพ่อธรรมจักร

เดิมทีมีพระพุทธรูปลอยน้ำตามแม่น้ำเจ้าพระยาในกาลก่อนพร้อมกัน 3 องค์ ได้แก่ หลวงพ่อโสธร (วัดโสธรวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา) หลวงพ่อวัดบ้านแหลม (วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม) และหลวงพ่อธรรมจักร (วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวคือ หลวงพ่อธรรมจักรนั้น ที่หยุดลอยอยู่หน้าวัดธรรมามูล จนพระภิกษุและชาวบ้านได้ทำพิธีอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัด ครั้งแรกใช้เชือกพร้อมด้ายสายสิญจน์ ผูกกับพระพุทธรูป แต่ไม่สามารถดึงขึ้นมาได้ กระทั่งตกเย็นปรากฏเรื่องน่าอัศจรรย์เมื่อมีผู้พบเห็น พระพุทธรูปองค์ที่ลอยน้ำมานั้น กลับประดิษฐานปิดขวางทางเข้าประตูวิหารวัดธรรมามูล ชาวบ้านจึงเกิดความศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อธรรมจักรเป็นอย่างมาก และได้ร่วมกันต่อเติมพระวิหารขึ้น ในเวลาต่อมาจากคำบอกเล่าเมื่อองค์หลวงพ่อประดิษฐานอยู่ได้ 3 วัน ก็ได้หายไปจากพระวิหาร และกลับมาประดิษฐานดังเดิมโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีโคลนและจอกแหนติดเปื้อนมาด้วยชาวบ้านจึงนำโซ่มาผูกไว้ เพื่อไม่ให้หลวงพ่อหายไปอีก

ต่อมามีชายต่างถิ่นล่องแพมาจากทางเหนือ เพื่อตามหาพระพุทธรูป เมื่อมาถึงวัดธรรมามูล จึงได้พระพุทธรูปที่กำลังตามหาอยู่ ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำ ชายผู้นั้นจึงได้อาศัยนอนอยู่ที่วัด เพื่อรอเวลาอัญเชิญองค์พลวงพ่อกลับไปประดิษฐาน ณ วัดเดิมในเวลาเช้า แต่กลับฝันว่าหลวงพ่อไม่ขอกลับแต่จะขออยู่ที่วัดธรรมามูลวรวิหาร ครั้นรุ่งเช้าเขาจึงลาท่านสมภารเพื่อเดินทางกลับบ้าน และได้ขอถอดเอา จักร ที่ฝ่าพระหัตถ์องค์หลวงพ่อกลับไปด้วย นับแต่นั้นมาหลวงพ่อก็ไม่เคยหายไปไหนอีกเลย ชาวบ้านจึงได้นำโซ่ออกและได้ร่วมกันสร้าง จักร ขึ้นมาใหม่ โดยจัดงานสมโภชกันต่อเนื่องทุกปีจนถึงทุกวันนี้

สภานที่ : ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูล ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หมู่ 1 ตำบลธรรมนูญ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทร : 035 525 867

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


5. วัดปฐมเทศนาอรัญวาสี (วัดเขาพลอง) จ.ชัยนาท

ชัยนาท

สักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ องค์พระธาตุเจดีย์ กราบขอพร พระพุทธอริยธัมโม ซึ่งมีพระพักตร์อิ่มเอิบเปี่ยมเมตตา จากนั้นเดินทางมุ่งสู่ยอดเขาพลอง นมัสการรูปหล่อหลวงพ่อชื้น อริยธัมโม อดีตเจ้าอาวาส และชมวิวอาทิตย์อัสดงเหนือขอบฟ้าเมืองชัยนาท จากระเบียงรอบองค์พระธาตุเจดีย์จำลอง

สภานที่ : ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมืองชัยนาท ชัยนาท 17000

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


6. วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จ.ชัยนาท

ชัยนาท

ไม่เพียงแต่เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมาเนิ่นนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ภายในวัดยังเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้างน่าสนใจที่ให้ความรู้สึกราวกับนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปสู่ในยุคกาลก่อน เช่น เจดีย์พระบรมธาตุตามรูปแบบสถาปัตยกรรมอู่ทองภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในจังหวัดชัยนาท และจังหวัดใกล้เคียง โดยในวันเพ็ญเดือน 6 ของทุกๆ ปีจะมีงานเทศกาลสมโภชพระบรมธาตุที่คลาคลั่งไปด้วยผู้คนทั่วสารทิศที่พากันมาเที่ยวชม

น่าชม

เจดีย์พระบรมธาตุ ที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ องค์เจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งต่อมุมขึ้นไปรองรับ ใต้องค์ระฆังมีซุ้มจระนำเล็ก ๆ 4 ด้าน ภายในประดิษฐานพระปรางค์นาคปรก 4 ทิศ หน้าบันของซุ้มจระนำมีสองชั้นซ้อนกัน มีปูนปั้นประดับเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ เหนือฐานบัวหงาย 4 กลับอยู่ตรงกลาง หน้าตักกว้าง 23 ซม. สูงจากฐานจรดพระเศียร 31ซม. ทรงจีวรแบบห่มตอง หรือห่มเฉียง ผ้าสังฆาฏิพาดลงมาเกือบถึงฝ่าพระบาท ลักษณะของพระเศียรและพระพักตร์มีเค้าของศิลปะลพบุรี หรืออู่ทองรุ่นแรก ระหว่างซุ่มจระนำมีผนังทำเป็นมุมเหลี่ยมขึ้นไปรองรับองค์ระฆังและเหนือมุมระหว่างหน้าบันของซุ้มจระนำ ทำเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอีกหลายองค์เรียงรายอยู่โดยรอบ จากนั้นถึงองค์ระฆังทรงกลมรองรับ ปลีย่อส่วนบนสุดมีลักษณะเป็นโลกประดับ ทำนองเป็นฉัตรประดับอีกต่อหนึ่ง จัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบอู่ทอง (อยุธยาตอนต้น) ที่นิยมใช้เจดีย์เล็ก ๆ ประดับ

วิหาร สันนิฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมเจดีย์พระบรมธาตุ แต่ยังคงมีร่องรอยการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ภายหลัง ปัจจุบันพระวิหารดังกล่าวเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน

พระอุโบสถ อยู่ทางด้านใต้ติดกับพระวิหาร สันนิษฐานว่าสร้างพร้อมกับพระวิหาร มีร่องรอยการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้งมีพระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปแบบสรรคบุรี ลงรักปิดทองขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปแบบสรรคบุรี รอบนอกพระอุโบสถมีใยเสมาสลักด้วยหินทรายเป็นศิลปกรรมแบบอยุธยา

แผ่นศิลาจารึก บันทึกข้อความของการฉลองการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุเจดีย์ ปัจจุบันแผ่นศิลาจารึกประดิษฐานอยู่ที่ฝาผนังวิหารด้านหลังติดกับองค์พระธาตุ

สภานที่ : บ้านไทยเมือง หมู่ 6 ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทร : 035 525 867

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


7. โบสถ์หลวงพ่อหิน จ.ชัยนาท

ชัยนาท

เคล็ดลับการสักการะบูชาโบสถ์หลวงพ่อหิน ให้จุดธูป 21 ดอก กราบขอพรกลางแจ้ง ตั้งจิตอธิษฐานต่อ พระพุทธมหาศิลา (หลวงพ่อหินใหญ่) พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอู่ทอง สร้างด้วยหินทรายอายุเก่าแก่กว่า 600 ปี

สภานที่ : ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา ชัยนาท

เบอร์โทร : -

เวลาทำการ : 08:00 - 18:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


8. วัดมหาธาตุ จ.ชัยนาท

ชัยนาท

บ้างก็เรียกว่า...วัดพระธาตุหรือวัดหัวเมือง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นชื่อเดิมของวัดมหาธาตุด้วยกันทั้งสิ้นที่นี่เป็นวัดโบราณคู่เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 ซึ่งยังคงมีลายพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสได้ทรงบันทึกไว้ โบราณสถานที่น่าสนใจภายในวัดและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ พระปรางค์กลีบมะเฟือง (พูมะเฟือง) สร้างด้วยอิฐถือปูน 3 องค์ พระปรางค์มีลักษณะคล้ายกลีบมะเฟือง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม (ฐานเขียง) เป็นศิลปะสมัยลพบุรี โดยกรมศิลปากรได้บูรณะปฏิสังขรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2526 นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปที่รังสรรค์ตามแบบศิลปะลพบุรีและอยุธยาตอนต้น ตลอดจนพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรักษาสิ่งของโบราณต่างๆ ให้เยี่ยมชมอย่างจุใจ

สภานที่ : หมู่ที่ 8 ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทร : 035 525 867

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map


9. วัดพระแก้ว จ.ชัยนาท

ชัยนาท

หนึ่งในสถานที่สำคัญของจังหวัดชัยนาท และควรค่าแก่การแวะเวียนมาเยี่ยมชมสักครั้งให้เป็นขวัญตาซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 ถือเป็นวัดเก่าแก่แห่งประวัติศาสตร์ที่ปลูกสร้างตั้งแต่ปี พ. ศ. 1900 เดิมทีผู้คนรู้จักในชื่อวัดป่าแก้ว ใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของคณะสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีหรือวิปัสสนาธุระ

ต่อมามีคนพบพระพุทธรูปองค์เล็กเท่าปลายนิ้วจากในเจดีย์ ซึ่งสร้างจากแก้วหลายสีส่องประกายระยิบระยับสวยงามยามต้องแสงไฟ หลังจากนั้นผู้คนจึงเรียกกันติดปากว่าวัดพระแก้วนับจากนั้น ความโดดเด่นของวัดนอกจากจะตั้งอยู่กลางทุ่งนาแล้ว ยังมีพระเจดีย์ทรงเหลี่ยมตั้งตระหง่านเป็นไฮไลท์ ลักษณะคล้ายเจดีย์สมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยสุโขทัยกับศรีวิชัยผสมผสานกันจนกลายเป็นเอกลักษณ์และหาชมได้เฉพาะที่นี่

เจดีย์มีพระพุทธรูปประดับทั้ง 4 ด้าน บนฐานชั้นที่ 3 ในซุ้มตรงกลางเป็นพระพุทธรูปปั้น ปางถวายเนตรประทับยืนขนาบทั้งสองข้างด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นปางประทานอภัย ลักษณะพระพุทธรูปสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้นเนื่องจากมีเค้าโครงศิลปะสุโขทัยผสม ที่เห็นได้ชัดคือพระรัศมีเป็นเปลวเพลิงถัดแท่งสี่เหลี่ยมทรงสูงขึ้นไปเป็นแท่งแปดเหลี่ยม มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายพระเนตรประทับยืนทั้งสี่ทิศ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เหมาะสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์อันล้ำค่าของเมืองไทย

น่าชม

เจดีย์แบบละโว้ทรงสูง ผสมกับเจดีย์ทวารวดีตอนปลาย สร้างแบบสอปูน เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐานไพที ฐานเขียงและฐานเรือนธาตุแบบลอดท้องไม้ มีพระพุทธรูปปั้นแบบนูนสูงประดับทั้งสี่ด้าน สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 อายุราว 600-700 ปี ลักษณะการก่อสร้างแฝงคติธรรมไว้ตั้งแต่ฐานสี่เหลี่ยม หมายถึงพระพุทธศาสนาโดยมีอริยสัจสี่เป็นฐาน เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพาน ซึ่งแทนด้วยยอดเจดีย์ ฐานสูงแปดเหลี่ยมหมายถึงอริยมรรคมีองค์แปด ปล้องไฉน 12 ปล้องหมายถึงปฏิจจสมุทปบาท สิ่งที่อาศัยกันเกิดเหมือนลูกโซ่ ความสูง 37 เมตร คือโพธิปักขิยธรรม ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ 37 ประการ อันประกอบด้วย สติ ปัฏฐาน 4 สัมมัปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 85 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และอริยมรรคมีองค์ 8 พระสถูป เดิมทีเจดีย์แห่งนี้มีเจดีย์บริวารรายล้อมอยู่หลายสิบองค์

หลวงพ่อฉาย เป็นพระพุทธรูปศิลาแลงสีแดง ตั้งอยู่ในวิหารด้านหน้าพระเจดีย์สี่เหลี่ยม สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 800 ปี ด้านหลังหลวงพ่อฉายมี ทับหลัง ซึ่งแกะสลักติดกับองค์ ตั้งอยู่ชิดกำแพงวิหารมาก เป็นรูปช้างนอนหงายอยู่บนแท่น ส่วนบนสุดเป็นรูปพระอินทร์หรือพระศิวะกำลังหลั่งน้ำมนต์มีทางน้ำมนต์ไหลถึงตัวช้างที่นอนหงายบนแท่น

หลวงพ่อพลอย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น หน้าตักกว้าง 2 เมตร เดิมอยู่วัดทัพย่าน ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี ซึ่งเป็นวัดร้างและประชาชนชาวบางน้ำพระร่วมใจกันอัญเชิญใส่เกวียนมา แล้วใช้แพข้ามแม่น้ำน้อยมาประดิษฐานที่วัดพระแก้ว จึงเรียกกันว่า หลวงพ่อลอย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร.โทร. 0 5642 4435

สภานที่ : หมู่ 10 บ้านบางน้ำพระ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

เบอร์โทร : 056 424 435

เวลาทำการ : 00:00 - 00:00

คลิกดูแผนที่ด้วย Google Map