ไลฟ์สไตล์

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

21 ก.ย. 2560

ล่าสุด ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เขียน จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ กรณีกระบวนการสรรหาอธิการบดีใหม่

    หลังจากที่ อาจารย์นิพนธ์ พัวพงศกร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียดจดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ ผู้บริหารชุดใหม่จะต้องมีทีมอาจารย์หนุ่มสาวจากสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรม เข้ามาร่วมในสัดส่วนที่มากขึ้น

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

       รวมทั้งในอนาคตอันใกล้ ธรรมศาสตร์ควรจะมีอธิการบดีที่มาจากคณะเหล่านั้น เหมือนในมหิดล จุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ มจธ. ที่มีผู้บริหารหนุ่มสาวในสายวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม-แพทย์ เข้ามาเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย คนเหล่านี้กล้าคิดเรื่องใหม่ๆ กล้าทำ กล้าทดลอง แถมยังเป็นคนเก่งที่มีพลังมหาศาล

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์ จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

      ล่าสุด ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เขียน จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ กรณีกระบวนการสรรหาอธิการบดีใหม่ เช่นกัน 

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

    กระบวนการสรรหาอธิการบดีใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ผมใกล้ถึงจุดสุดท้ายแล้ว เราได้แคนดิเดท 2 คน ที่ได้รับคะแนนหยั่งเสียงมากที่สุดจากประชาคมธรรมศาสตร์หลายพันคน โดยอันดับ 1 ได้รับการเสนอชื่อจาก 49 หน่วยงาน คิดเป็น 98% ของหน่วยงานทั้งหมด อันดับ 2 ได้ 33 หน่วยงาน คิดเป็น 66% แต่ยิ่งใกล้เท่าไหร่ การเคลื่อนไหวและการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงก็มากขึ้นเรื่อยๆ จนอาจทำให้ชาวธรรมศาสตร์ เข้าใจผิดตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวานนี้มีคนส่งจดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ของอาจารย์ นิพนธ์ พัวพงศกร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้แก่ผมอ่าน ผมเองค่อนข้างตกใจเนื้อหาที่อาจารย์ นิพนธ์ให้ข้อมูลกับชาวธรรมศาสตร์ อาจารย์นิพนธ์บอกว่า

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

      1. การจัดอันดับของ Times Higher Education (THE) และ QS ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก ธรรมศาสตร์ไม่มีชื่อติดอันดับใดๆ ของมหาวิทยาลัยโลกเลย และในประเทศไทยเราอยู่อันดับ 9-17

      2. ธรรมศาสตร์ควรมีอธิการบดีที่มาจากหนุ่มสาวอายุ 45-55 ปี จากสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิศวกรรม เหมือนในมหิดล จุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ มจธ.

     3.แนวโน้มที่ธรรมศาสตร์จะได้อธิการบดีคนใหม่และทีมงานซึ่งเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยมา ติดต่อกันกว่า 13 ปี แต่สลับตำแหน่งกันจะเป็นสิ่งที่ไม่ดีกับธรรมศาสตร์และขอให้อธิการบดีคนใหม่อย่าเลือก ผู้บริหารชุดเก่ามาทำงานต่อเลย

     4. การสรรหาคณบดีหลายคณะ มหาวิทยาลัยไม่เลือกคณบดีที่บุคคลากรสายต่างๆ ของคณะ โดยเฉพาะสายอาจารย์เป็นผู้เสนอมาในอันดับแรก

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

      ผมขออธิบายสิ่งที่อาจารย์นิพนธ์เขียนและหลายคนที่อาจารย์นิพนธ์รับข้อมูลมาให้เข้าใจเพื่อไม่ให้ ธรรมศาสตร์เสียหาย

1. ในการจัดอันดับ QS World University Rankings ปี 2018 นั้น มธ. ได้อันดับ 4 ในประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

ผมคาดว่าภายใน 1-2 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์น่าจะแซงขึ้นเป็นอันดับ 3 ได้ ส่วนการจัดอันดับ QS Asian University Rankings ปี 2015 มธ. ได้อันดับที่ 143 ปี 2016 ได้อันดับที่ดีขึ้นมากคืออันดับที่ 101 โดยเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย (ปี 2017-2018 ยังไม่ประกาศผล) และกรณีของ Times เนื่องจาก มธ. เลือกที่จะยังไม่เข้าไปจัดอันดับจึงไม่ได้ส่งข้อมูลให้ Times การจัดอันดับจึงไม่มีชื่อ มธ. แต่ ประการใด หาใช่เพราะ มธ. ไม่ติดอันดับแต่ประการใดไม่ ผมเลยไม่แน่ใจว่าอาจารย์นิพนธ์เอาข้อมูลเรื่อง QS และ Times มาจากที่ใด

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

      2. ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2558 และข้อบังคับการสรรหาอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้งคำพิพากษาของศาลปกครองนครราชสีมาต่างก็ไม่ได้กำหนดอายุของผู้ที่มา เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่ประการใด ถ้าหากเอาอายุ 45-55 ปีของอาจารย์นิพนธ์มาจัด อันดับอดีตอธิการบดีในรอบ 13 ปีที่ผ่านมาและแคนดิเดทอธิการบดีคนใหม่ จะไม่มีใครอยู่ในข่ายได้เป็น อธิการบดีเลย นอกจากตัวผมเองเพราะ รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร เป็นอธิการบดีตอนอายุ 43 ปี ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นอธิการบดีตอนอายุ 44 ปี แคนดิเดทอธิการบดี 2 คนที่มีอยู่ในปัจจุบันอายุน้อยที่สุดก็ 57 ปี กว่าๆ ใกล้เกษียณเต็มที ผมจึงอยู่ในข่ายของอาจารย์นิพนธ์คนเดียวเท่านั้น เพราะตอนเป็นอธิการบดีครั้งแรก ผมอายแุค่ 51 ปี

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

        อาจารย์นิพนธ์ยังพูดว่า มหิดล จุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ มจธ. ล้วนมีอธิการบดีที่มาจากคนหนุ่มสาว ข้อมูลนี้ก็ผิดพลาด เพราะทั้ง 4 มหาวิทยาลัยในอดีตจนถึงปัจจุบันต่างก็มีอธิการบดีที่อายุเกิน 60 ปีทั้งสิ้น จะมียกเว้นก็แต่อธิการบดีจุฬาลงกรณ์คนปัจจุบันที่อายุเพียง 51 ปี ถ้าอาจารย์นิพนธ์ยกตัวอย่างว่า มหาวิทยาลัยทั้ง 4 มีความก้าวหน้ามากกว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะมีอธิการบดีที่อายุน้อย บทสรุป เช่นนี้ก็คงผิดพลาดเช่นกัน

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

      อาจารย์นิพนธ์ยังพูดว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และทีมผู้บริหารควรมาจากหนุ่มสาวสาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวะและแพทย์ เพราะคนเหล่านี้กล้าคิดเรื่องใหม่ๆ กล้าทา กล้าทดลอง แถมยัง เป็นคนเก่งที่มีพลังมหาศาล การพูดเช่นนี้ก็เท่ากับบอกว่าอาจารย์จากสายสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ไม่มี สิ่งเหล่านี้เลย การพูดเช่นนี้ก็เท่ากับบอกว่าเสียงส่วนใหญ่ของชาวธรรมศาสตร์ที่เลือกอธิการบดีสาย สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ไม่มีความหมาย การพูดเช่นนี้ก็เท่ากับบอกว่า ชาวธรรมศาสตร์เลือกอธิการบดี ไม่เป็น และหากอาจารย์นิพนธ์ดูข้อมูลเรื่องรองและผู้ช่วยอธิการบดีของผม อาจารย์นิพนธ์ก็อาจไม่เรียกร้อง อีกต่อไป เพราะทีมผู้บริหารจานวนมากของผมเป็นหนุ่มสาวและเป็นหนุ่มสาวที่มาจากคณะวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี คณะแพทย์ศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ SIIT และคณะสหเวชศาสตร์ ฯลฯ

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

     ผมอยากเรียนพวกเราเพิ่มเติมด้วยว่า แม้อธิการบดี มธ. ที่ผ่านมาจะไม่ได้มาจากสายวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี วิศวะ หรือการแพทย์ก็ตามแต่อธิการบดีทุกคนก็ตระหนักดีว่าสาขาวิชาเหล่านี้มีความสาคัญ เราจึงเห็นคุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี จากคณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชีเป็นผู้ริเริ่มตั้งโรงพยาบาล ธรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม จากคณะเศรษฐศาสตร์ที่เป็นผู้ก่อตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศ.นรนิติ เศรษฐบุตร จากคณะรัฐศาสตร์ที่มีบทบาทสาคัญในการตั้งสถาบันเทคโนโลยี นานาชาติสิรินธร ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ จากคณะนิติศาสตร์ ผู้ก่อตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ 

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

     หรือแม้แต่ ในสมัยของผม ผมก็เป็นคนก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ วิทยาลัยแพทย์นานาชาติจุฬาภรณ์ ศูนย์ค้นคว้าและวิจัยยา ศูนย์เครื่องมือทดลองวิทยาศาสตร์ขั้นสูง หรือหากจะดูตัวชี้วัดด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวะและ การแพทย์ ตัวชี้วัดทุกตัวก็บ่งชี้ว่า มธ. กำลังก้าวไปในทิศทางนี้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนงบประมาณวิจัยที่เพิ่มจาก ไม่กี่ร้อยล้านเป็นพันล้าน จำนวนอาจารย์และบุคคลากรที่เพิ่มขึ้น จำนวนรางวัลด้านการวิจัยที่ได้รับมากขึ้นทุกปี จำนวนการตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus เพิ่มจาก 547 ผลงานในปี 2555 เป็น 784 ในปี 2559 จำนวนนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลมากกว่าทุกมหาวิทยาลัยที่ไปแข่งขันในต่างประเทศซึ่งล่าสุด มธ. ได้รางวัล grand prize ซึ่งไม่เคยมีใครได้มาก่อนในประเทศไทย

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

    3. อาจารย์นิพนธ์เพ่งเล็งมาที่รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีในรอบ 13 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งก็คือในสมัย ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ และผม และเรียกร้องให้รองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีเหล่านี้อย่าได้รับตำแหน่ง ต่อไปในอนาคต ผมไม่แน่ใจว่าอาจารย์นิพนธ์มีข้อมูลแค่ไหนเพียงพอหรือไม่ เพราะตอนที่ผมรับตำแหน่งต่อ จาก ศ.ดร.สุรพล ผมก็เปลี่ยนรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีไปเป็นจานวนมาก มากกว่าครึ่งหนึ่งล้วนเป็น คนหนุ่มสาวหน้าใหม่ทั้งสิ้น และผมก็เชื่อว่า เมื่อแคนดิเดตคนใดคนหนึ่งในสองคนขึ้นแทนผม รองอธิการบดี และผู้ช่วยอธิการบดีจานวนมากก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

     ในส่วนของอธิการบดีนั้น หากแคนดิเดทคนใดคนหนึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีเพราะเขาได้รับ คะแนนนิยมสูงสุดจากชาวธรรมศาสตร์ เพราะเขาเป็นคนมีความรู้ความสามารถ เพราะเขามีวิสัยทัศน์ เพราะเขากล้าตัดสินใจ เพราะเขามีประสบการณ์หลากหลายตำแหน่งที่จะช่วยมหาวิทยาลัยได้ อาจารย์นิพนธ์จะกีดกันเขาด้วยเหตุเพราะเขาเป็นรองอธิการบดีในช่วงที่ผ่านมากระนั้นหรือ

จดหมายเปิดผนึกถึงชาวธรรมศาสตร์ : สมคิด เลิศไพฑูรย์

    4. ระบบการสรรหาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นระบบที่ดีมาก เราเปิดให้มีการหยั่งเสียงเพื่อดู ความนิยมของประชาคม ในขณะเดียวกันเราก็ให้สภามหวิทยาลัยเป็นผู้ชี้ขาด ในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ร้อยละ 95 ของคณบดีล้วนแล้วแต่มาจากเสียงข้างมากของประชาคมทั้งสิ้น สำหรับอธิการบดีตั้งแต่อาจารย์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นต้นมา จนถึงสมัยของผม สภามหาวิทยาลัยก็เลือกอธิการบดีจากผู้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ของบุคคลากรสายต่างๆ โดยเฉพาะสายอาจารย์ ผมจึงไม่เข้าใจว่าอาจารย์นิพนธ์เอาข้อมูลเรื่องสภา มหาวิทยาลัยมักเลือกคณบดีจากคนเสียงข้างน้อยมาจากที่ใด

     ผมรู้จักอาจารย์นิพนธ์ส่วนตัวมานาน เสียดายที่ตลอด 7 ปีที่ผมบริหารมหาวิทยาลัยผมพบเจอ อาจารย์นิพนธ์หลายครั้งหลายหน อาจารย์ไม่เคยแนะนำอะไรผมเลย ไม่เคยพูดเรื่องคนหนุ่มสาว ไม่เคยพูด เรื่องอาจารย์สายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวะและการแพทย์ ไม่เคยพูดเรื่อง Ranking ไม่เคยพูดเรื่อง ทีมรองอธิการบดีหรือผู้ช่วยอธิการบดีของผม และผมแน่ใจว่าอาจารย์นิพนธ์ซึ่งสนิทกับ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เช่นเดียวกันก็คงไม่ได้ให้ข้อคิดแก่อาจารย์สุรพลแต่ประการใด

    ผมหวังว่าจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ คงทำให้อาจารย์นิพนธ์ในฐานะนักวิชาการที่ผมเคารพนับถือ รวมทั้งคนอื่นๆ ได้มีข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ ธรรมศาสตร์ ได้เห็นมุมมองที่แตกต่าง ได้เข้าใจ มธ. ยุคปัจจุบันที่อาจารย์นิพนธ์ห่างหายไปนาน