ไลฟ์สไตล์

3 หัวใจ.."การศึกษา" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

3 หัวใจ.."การศึกษา" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

13 ต.ค. 2560

"ครู"...เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษา

       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ปี 2558 ได้มีกระแสพระราชดำรัสถึงผู้ที่ทำหน้าที่ครูอยู่เสมอ ด้วยทรงตระหนักอย่างถ่องแท้ว่า“ครูดี”คือผู้ที่สร้าง “คนดี” สู่สังคมไทย  หนึ่ง...ให้ครูรักเด็ก และเด็กรักครู สอง...ให้ครูสอนเด็กให้มีน้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แค่ให้แข่งขันกับตัวเอง...ให้เด็กที่เรียนเก่งกว่าช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า สาม...ให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กทำร่วมกัน เพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี " 

    วันนี้ได้รับการขานรับสานต่อยึดถือเป็นหัวใจในการ “ปฏิรูปการศึกษาไทย” ให้เดินหน้าไปอย่างยั่งยืนรอบด้าน

     ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการทุกคนต่างน้อมนำกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ไปปฏิบัติกันอย่างถ้วนหน้า

3 หัวใจ..\"การศึกษา\" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

     โดยเฉพาะ “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาทางการศึกษา” เพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม ที่ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อ้างถึงทุกครั้งว่าเป็นเสมือนองค์ความรู้ที่อยู่คู่แผ่นดินไทย รวมทั้งแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้พระราชทานไว้กว่า 40 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ประชาชนชาวไทย นำไปเป็นแนวทางการพัฒนาตนเองและครอบครัวให้มีภูมิคุ้มกันที่มั่นคงในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

     ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เร่งผลักดันและขยายผลนโยบายโรงเรียนคุณธรรมไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศ โดยมีสถานศึกษาจำนวนมากนำนโยบายโรงเรียนคุณธรรมไปสู่การปฏิบัติ ตามกรอบแนวคิดที่สำคัญ 5 ด้าน คือ ความพอเพียง ความกตัญญู ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ และการยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรม

    โรงเรียนคุณธรรม กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินงานโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ปี 2559 ในโรงเรียนเป้าหมาย 10,000 แห่ง และในปีนี้ได้ขยายโครงการให้ครอบคลุมโรงเรียนกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ จึงต้องการมาพบปะเพื่อขอความร่วมมือร่วมใจจากครูและผู้บริหาร เพื่อปลูกฝังให้ลูก ๆ หลาน ๆ มีคุณธรรมจริยธรรมและมีคุณลักษณะตามเป้าประสงค์ที่โรงเรียนกำหนด 

     ส่วนลูกหลานนักเรียนต้องให้ความร่วมมือและเชื่อฟังครูด้วย เพราะครูคือผู้ประสิทธิ์ประสาท เป็นผู้เสียสละทุ่มเท มีความเมตตากรุณาอย่างหาใดเปรียบ เพียงเพื่อหวังส่งศิษย์ทุกคนให้ถึงฝั่งดังที่ต้องการ ฉะนั้น ครูจึงเป็นผู้มีพระคุณที่ควรเคารพยกย่องตลอดมาและตลอดไปอย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทั้งการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ทักษะในการแสวงหาความรู้ ทักษะในการทำงาน

3 หัวใจ..\"การศึกษา\" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

       พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการศึกษาที่จะช่วยให้บรรลุถึงจุดหมายไว้ ว่า

       “...ความรู้ที่จะศึกษามีอยู่สามส่วน คือ ความรู้วิชาการ ความรู้ปฏิบัติการ และความคิดอ่านตามเหตุผลความเป็นจริง ซึ่งแต่ละคนควรเรียนรู้ให้ครบเพื่อสามารถนำไปใช้ประกอบกิจการงาน และแก้ปัญหาทั้งปวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ...” ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม 2535  ที่เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ นำมาลงไว้ใจความดังนี้ 

   1. ความรู้วิชาการ

    ความรู้วิชาการ หรือการศึกษาทางทฤษฎี จะทำให้เรามีพื้นฐานในเรื่องนั้น ๆ รู้กรอบหรือแนวทางของการคิดและการปฏิบัติ สามารถที่จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการต่อยอดความรู้และความเข้าใจ การศึกษาพื้นฐานของแต่ละเรื่องมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการศึกษาในระดับสูงขึ้นไป ถ้าความรู้พื้นฐานดี ก็จะช่วยให้สามารถศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไปได้มาก ในทางกลับกันถ้าความรู้พื้นฐานไม่ดีหรือไม่แข็งแรง การศึกษาที่ระดับสูงขึ้นไปก็จะทำไม่ได้หรือได้น้อย ถ้าจะเปรียบเสมือนการสร้างบ้าน การวางรากฐานของบ้าน เช่น เสาเข็ม คานพื้นบ้าน เป็นต้น จะทำหน้าที่เป็นรากฐานให้สามารถก่อฝาผนังบ้านขึ้นไปจนถึงหลังคาได้ฉันใด ความรู้เดิมก็เปรียบเสมือนฐานรากให้แก่ความรู้ใหม่ที่จะพัฒนาขึ้นไปฉันนั้น ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

       “วิชาความรู้อันพึงประสงค์นั้น ได้แก่ วิชาความรู้ที่ถูกต้อง ชัดเจน แม่นยำ ชำนาญ นำไปใช้การเป็นประโยชน์ได้พอเหมาะพอควร ทันต่อเหตุการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ” (26 มิถุนายน 2523)

3 หัวใจ..\"การศึกษา\" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

      2. ความรู้ปฏิบัติการ

  การมีความรู้ทางทฤษฎีอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอต่อการรับประกันถึงความสำเร็จ ผู้ที่มีความรู้เชิงทฤษฎีจะต้องนำทฤษฎีไปทดลองปฏิบัติจนให้เกิดความคล่องแคล่วชำนาญเสียก่อน การฝึกฝนปฏิบัติจนเชี่ยวชาญนี้ช่วยให้เกิดความรู้อีกส่วนหนึ่งที่เสริมความรู้เชิงทฤษฎีให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญอย่างยิ่งแก่การปฏิบัติงานด้วยตนเอง ดังพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า

   “การมีความรู้ถนัดทฤษฎีประการเดียว ไม่เพียงพอที่จะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ ผู้ที่ฉลาดสามารถในหลักวิชาโดยปกติวิสัยจะได้แต่เพียงชี้นิ้วให้ผู้อื่นทำซึ่งเป็นการไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจทำให้ผู้ใดเชื่อถือหรือเชื่อฟังอย่างสนิทใจได้ เหตุด้วยไม่แน่ใจว่าผู้ชี้นิ้วเองจะรู้จริง ทำได้จริงหรือ ความสำเร็จทั้งสิ้นทำได้เพราะลงมือกระทำ” (18 ตุลาคม 2517) 

     3. ความคิดอ่านตามเหตุผลความเป็นจริง

       พระองค์ทรงอธิบายเรื่องนี้ว่า    “วิชาการทั้งปวงนั้นถึงจะมีประเภทมากมายเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อนำมาใช้สร้างสรรค์สิ่งใดก็ต้องใช้ด้วยกัน หรือต้องนำมาประยุกต์เข้าด้วยกันเสมอ อย่างกับอาหารที่เรารับประทาน กว่าจะสำเร็จขึ้นมาให้รับประทานได้ ต้องอาศัยวิชาประสมประสานกันหลายอย่างและต้องผ่านการปฏิบัติมากมายหลายอย่างหลายตอน ดังนั้นวิชาต่าง ๆ มีความสัมพันธ์ถึงกันและมีอุปการะแก่กันทั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์และฝ่ายศิลปศาสตร์ ไม่มีวิชาใดที่นำมาใช้ได้โดยลำพัง หรือเฉพาะอย่างได้เลย” (3 สิงหาคม 2521)  

3 หัวใจ..\"การศึกษา\" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

    เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครู”...เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ที่สำคัญในการปฏิรูปการศึกษา “ครูดี”คือผู้ที่สร้าง “คนดี” สู่สังคมไทย 1...ให้ครูรักเด็ก และเด็กรักครู 2...ให้ครูสอนเด็กให้มีน้ำใจต่อเพื่อน ไม่ให้แข่งขันกัน แค่ให้แข่งขันกับตัวเอง...ให้เด็กที่เรียนเก่งกว่าช่วยสอนเพื่อนที่เรียนช้ากว่า 3. ให้ครูจัดกิจกรรมให้เด็กทำร่วมกันซึ่งหาก ซึ่งหากครูทำหน้าที่ได้ครบถ้วนทั้ง 3 ประการแล้ว ครูคนได้ก็ควรอย่างที่จะได้รางวัล "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี” หรือ Princess Maha Chakri Award รางวัลเกียรติยศแห่งความเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ครั้งแรกเมื่อปี 2558 ที่จัดขึ้นในระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และติมอร์เลสเต 11 ประเทศ

      ครูเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ ครูเชี่ยวชาญกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นครูคนแรกของประเทศไทย ที่มีคุณูปการต่อการศึกษามีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับจากลูกศิษย์และคนทั่วไปอย่างกว้างขวาง..มีวิญญาณของการเป็นผู้ให้อย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย.. 

3 หัวใจ..\"การศึกษา\" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

ครูเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ

       ครูเฉลิมพร ปัจจุบันอายุ 60ปี จบการศึกษาระดับปริญญาการศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เริ่มต้นเส้นทางวิชาชีพครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา และปฏิบัติหน้าที่ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 35 ปีของชีวิตความเป็น       “ครู” จัดการเรียนการสอน เน้นการสร้างกระบวนการคิดให้แก่นักเรียนโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นสื่อ และเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้เรียนวิทยาศาสตร์บนพื้นฐาน ความสนใจของตนเอง ทำให้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องใกล้ตัวและสนุก ซึ่งมองว่าหากสามารถพัฒนาให้เด็กนักเรียนมีกระบวนการคิดจะเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิตได้ในทุกๆ ด้าน เพราะถ้านักเรียนคิดดี คิดเป็น เขาจะเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยนำพาประเทศชาติของเราไม่สู่ความรุ่งเรือง 

      “การที่เรามาเป็นครูต้องทำหน้าที่ในฐานะครู โดยไม่หาข้อแม้หรือข้อโต้แย้งในการทำงาน ต้องทำงานด้วยใจที่มุ่งมั่นและอยากจะทำ ทั้งนี้การทำงานไม่ว่าเรื่องใดก็ตามมักพบเจออุปสรรคทั้งสิ้น แต่ต้องไม่เอาสิ่งเหล่านี้เป็นตัวตั้ง เพราะจะทำให้การทำงานไม่ประสบผลสำเร็จ ขอให้ทำงานโดยยึดความซื่อสัตย์และขยัน เชื่อว่าจะส่งผลไปสู่การพัฒนาเด็กนักเรียนของเราให้มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติด้วย” ครูรางวัลเจ้าฟ้ามหาจักรีฝากข้อคิดทิ้งท้าย 

3 หัวใจ..\"การศึกษา\" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

ครูจิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง

      ต่อมาคือครู “จิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง” ครูโรงเรียนสวนกุหลาบนนท์ ผู้บุกเบิกการสอนไอซีที และนวัตกรรมหุ่นยนต์ ได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทย ประจำปี 2560” ถือเป็นคนที่ 2 โดยคัดเลือกครูจากทั่วประเทศกว่า 160 คนเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 

    ซึ่งคัดเลือกสุดยอดครู 2 ปีครั้งโดยปีนี้เป็นปีที่ 2 ของการพระราชทานรางวัล ประกอบด้วย เหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร โล่ เข็มเชิดชูเกียรติทองคำ และเงินรางวัล รางวัลละ 10,000 เหรียญสหรัฐ พร้อมกับประเทศที่เข้าร่วมโครงการอีก 10 คน

    ขณะเดียวกัน มูลนิธิได้มีการพิจารณารางวัลคุณากร จำนวน 2 รางวัล ได้เเก่ นฤมล เเก้วสัมฤทธิ์ ครู กศน.ของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาบ้านกรูโบ จ.ตาก เเละนายศรัณย์ ศรีมะเริง ครูนักพัฒนาดนตรีโรงเรียนเมืองนครราชสีมา นอกจากมียังมีรางวัลครูยิ่งคุณจำนวน 17 รางวัลเเละรางวัลครูขวัญศิษย์ 136 รางวัล รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

     นายจิรัฏฐ์ เเจ่มสว่าง  ครูเชี่ยวชาญ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี จ.นนทบุรี ครูผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล บุกเบิกการสอนไอซีทีและนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงเรียนมากว่า 32 ปี ปัจจุบันอายุ 60 ปี และเป็นผู้ให้โอกาสแก่เด็กกลุ่มเสี่ยงด้วยใจรัก จนลูกศิษย์ประสบความสำเร็จทั้งในเวทีระดับชาติและนานาชาติ

3 หัวใจ..\"การศึกษา\" ในหลวง ร.9 ทรงฝากไว้

        ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ประเทศไทยปี 2560 กล่าวว่าภูมิใจที่ได้รับรางวัลนี้ เป็นรางวัลที่มาจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับลูกศิษย์ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตที่ตั้งใจทุ่มเทในฐานครูผู้สอน สำหรับหลักในการสอนจะศึกษาเด็กเเต่ละคนว่าเเตกต่างกันอย่างไร มีความรู้ความสามารถด้านใดเเละอ่อนด้านใด เเละพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคล แต่จะให้ความสำคัญกับเด็กอ่อนเเละเด็กเกเร เพราะเด็กกลุ่มนี้ไม่ใช่จุดอ่อนหากพวกเขาได้ทำสิ่งที่ชอบก็จะพลังในการขับเคลื่อนประเทศได้ และด้วยเป็นครูสอนคอมพิวเตอร์ ก็ได้ส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้เทคโนโลยี และนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ซึ่งเรียนรู้อย่างเท่าทันและใช้อย่างสร้างสรรค์ 

      ทั้งนี้ครูที่ได้รับรางวัล ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ทุกคนล้วนแต่มี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นต้นแบบบ ที่ทรงเสียสละ ทรงงานหนักเพื่อคนไทยอีก 60 ล้านคนได้อยู่ดีมีสุข เมื่อได้มาเป็นครูจึงนำหลักคำสอนของพระองค์ท่านมาใช้การสอนลูกศิษย์ด้วยนั่นเอง

         พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร ให้ความสำคัญของการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง และทรงเป็นผู้เข้าใจแก่นของการศึกษาอย่างถ่องแท้ ทรงให้ความสำคัญแบบบูรณาการ ทั้งทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานเพื่อเป็นรากฐานรองรับพื้นฐานที่สูงขึ้นไป แต่หากเรียนแค่ทฤษฎีไม่นำไปปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์ ได้แต่รู้ทฤษฎีไม่สามารถใช้ได้จริง และทุกอย่างจะสำเร็จได้ด้วยการรู้จักคิดอ่านตามเหตุผล รู้จักคิดวิเคราะห์ สะสมความรู้และเรียนรู้จากการลองผิดลองถูกจนประสบความสำเร็จ ถ้าเราน้อมนำพระราชดำริแนวคิดของพระองค์มาปรับใช้ไม่ใช่แค่ด้านการศึกษา แต่รวมถึงด้านหน้าที่การงานด้วย เราก็จะบรรลุถึงเป้าหมายอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

0 คุณภาพชีวิต [email protected]

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

9ทุนการศึกษาพระราชทาน