ไลฟ์สไตล์

อาหารและโภชนาการต้านโรค NCDs

อาหารและโภชนาการต้านโรค NCDs

06 ก.ค. 2561

เลือกกินอาหารถูกหลักโภชนาการและดีต่อสุขภาพสังเกตตรา "ทางเลือกสุขภาพ"

         ร่วมเปิดประสบการณ์ใหม่กับ 3 เมนูเพื่อคนรักสุขภาพ ในงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพ ของคาเฟ่ อเมซอน เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคและลูกค้าประจำของคาเฟ่ อเมซอน โดย สุชาติ ระมาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดขายปลีก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ “อาหารและโภชนาการ ต้านโรค NCDs” ที่คนไทยมีแนวโน้มเป็นโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังกันมากขึ้น ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต พบมากในกลุ่มคนเมือง ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด และอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยเลือกรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและดีต่อสุขภาพ หรือสังเกตอาหารและเครื่องดื่มที่มีตราสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ”

อาหารและโภชนาการต้านโรค NCDs

อาหารและโภชนาการต้านโรค NCDs

สุชาติ ระมาศ

          สุชาติ ระมาศ เปิดเผยว่า คาเฟ่ อเมซอนเป็นร้านกาแฟแบรนด์แรก ที่ได้รับตราสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 เมนู ได้แก่ กาแฟดำผสมน้ำผึ้ง ชาดำเย็นผสมน้ำผึ้ง และชามัทฉะแท้ผสมน้ำผึ้ง โดยเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานน้อย และเลือกใช้ความหวานจากน้ำผึ้ง ซึ่งเป็นความหวานจากธรรมชาติ เพื่อตอบสนองเทรนด์คนรักสุขภาพในปัจจุบัน

อาหารและโภชนาการต้านโรค NCDs

ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต

         ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้นจากไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารรสชาติเค็มหรือหวานจัด ในประเทศไทยเองสถิติล่าสุดพบว่ามีถึง 14 ล้านคน ที่เป็นโรคในกลุ่ม NCDs ทางเลือกในการรับประทานอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่คนทั่วไปสามารถดูแลตัวเองได้ รวมถึงการออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค

         ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ฉลากบนบรรจุภัณฑ์เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและให้ความรู้แก่ผู้บริโภคที่มีความสำคัญมาก และยังเป็นช่องทางที่สำคัญของผู้ผลิตในการโฆษณาสินค้า นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ยังใช้ฉลากเป็นเครื่องมือในการติดตามและทดสอบคุณภาพอาหารหลังออกสู่ท้องตลาดด้วย ดังนั้นฉลากที่มีข้อมูลครบถ้วนเข้าใจง่ายย่อมช่วยให้ผู้บริโภคเลือกตัดสินใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมได้มากขึ้น