ไลฟ์สไตล์

'ทีโออาร์'กำจัดขยะเหมาะสม

'ทีโออาร์'กำจัดขยะเหมาะสม

17 ม.ค. 2562

คอลัมน์เปิดซองส่องไทย : ยันกำหนดทีโออาร์โครงการเตาเผาขยะ กทม. เหมาะสม

 

               ผอ.สำนักสิ่งแวดล้อม ปัด ทีโออาร์กำจัดขยะมูลฝอยที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมและอ่อนนุช เอื้อประโยชน์เอกชน เผยราคา กทม. แตกต่างกับต่างจังหวัด แจงข้อมูลข้อเท็จจริงมีหลายองค์ประกอบ

 

               นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวชี้แจงข้อเท็จจริงกรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ยื่นคำร้องต่อสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และคณะกรรมการป้องกันและทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบการกำหนดขอบเขตของงาน ขนาดไม่น้อยกว่า 1,000 ตันต่อวัน ที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยหนองแขมและอ่อนนุช ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณโครงการละ 6,570 ล้านบาท รวม 2 โครงการมูลค่า 13,140 ล้านบาท อาจเอื้อประโยชน์ให้เอกชนบางราย

 

               ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่า สำหรับประเด็นราคาที่แตกต่างกับต่างจังหวัดนั้น เห็นว่าการเปรียบเทียบราคา ควรจะอยู่ในพื้นฐานของข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตรงกัน เช่น ลักษณะของการดำเนินการโครงการ ต้องเหมือนกันในรูปแบบ BOT (BOT-Build Operate Transfer) (ก่อสร้าง-ดำเนินงาน-โอนสิทธิ์) เหมือนกัน บางแห่งเป็นลักษณะ BOO (ก่อสร้าง-เป็นเจ้าของ-ดำเนินงาน)

 

               ดังนั้น โครงการของต่างจังหวัดมีข้อแตกต่างกับ กทม. ที่ต้องพิจารณา ประกอบด้วย

               1.เทคโนโลยีของเตาเผาขยะที่แตกต่างกัน บางแห่งไม่ใช่เตาเผา ที่เป็นลักษณะ Stoker type เหมือนกับของ กทม. เมื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเผาขยะแตกต่างกัน ทำให้ราคาต่างกันด้วย

 

ร้องทุกข์ ร้องเรียน บอกเล่าปัญหา ที่ [email protected] หรือ

 

\'ทีโออาร์\'กำจัดขยะเหมาะสม

 

               2.ลักษณะสมบัติของขยะมีความแตกต่างกัน ของต่างจังหวัด บางแห่งเผาขยะเก่าที่กองทิ้งไว้ ทำให้มีความชื้นน้อย ไม่เหมาะสำหรับเผาขยะสดเหมือนของกทม. ทำให้ค่าความร้อนของขยะมีปริมาณที่แตกต่างกัน ถ้าเผาขยะแห้งจะได้ค่าความร้อนมาก สามารถผลิตไฟฟ้าได้มาก ขายไฟฟ้าได้มากขึ้น

               3.การลงทุนระบบสาธารณูปโภค เช่น น้ำประปาที่ใช้ในการหล่อเย็นเตาเผา โครงการบางแห่งในต่างจังหวัดใช้น้ำตามธรรมชาติได้ แต่ของกทม. ต้องใช้น้ำประปาเท่านั้น ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น

               4.ระบบไฟฟ้าที่ผลิตเพื่อขายให้กับการไฟฟ้า ของต่างจังหวัดสามารถเดินสายส่งด้วยการปักเสาพาดสายไฟฟ้าได้ แต่ของกทม.ต้องเป็นระบบไฟฟ้าลงดิน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

               5.อัตราการรับซื้อไฟฟ้าแตกต่างกัน โดยของต่างจังหวัดผลิตไฟฟ้าได้ต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ อัตราการรับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ 5.78 บาทต่อยูนิต แต่ของ กทม.ผลิตไฟฟ้าเกิน 10 เมกะวัตต์ อัตราการรับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ 3.66 บาทต่อยูนิต ทำให้รายรับของผู้ลงทุนมีความแตกต่างกัน

               และ 6.ค่าจ้างในการกำจัดมูลฝอย ของต่างจังหวัดบางแห่งมีการปรับราคาค่าจ้างเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อทุกปี ปีละ 3% หรือบางแห่งอาจปรับราคาเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี ปีละ 10% แต่ของ กทม. กำหนดอัตราค่าจ้างคงที่ตลอดระยะเวลาสัญญา 20 ปี