จินตนาการจากงานเขียนสู่งานศิลป์ชูแนวคิด "บวร"
สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยการซึมซับแรงบันดาลใจที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไทยที่สอดแทรกวิถีชีวิตที่ผูกพันกับ "บ้าน วัด โรงเรียน"
ประสบความสำเร็จในการปลูกฝังให้เยาวชนไทยรักการอ่านมาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้โครงการจินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ปีที่ 13 ชวนเหล่าจิตรกรรุ่นใหม่ร่วมปลดปล่อยจินตนาการผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยการซึมซับแรงบันดาลใจที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไทยที่สอดแทรกวิถีชีวิตที่ผูกพันกับ “บ้าน วัด โรงเรียน” หรือเลือกอ่านได้จาก 50 ตัวอย่างวรรณกรรมชวนอ่าน อาทิ แก้วจอมซน (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), อยู่กับก๋ง (หยกบูรพา), กลิ่นสีและกาวแป้ง (พิษณุ ศุภนิมิตร), ความสุขของกะทิ (งามพรรณ เวชชาชีวะ), เด็กชายมะลิวัลย์ (ประภัสสร เสวิกุล) เป็นต้น โดยเป็นวรรณกรรมที่ร้อยเรียงเรื่องราวให้อ่านสนุก เปี่ยมอรรถรสและงดงาม ด้วยวรรณศิลป์ สอดแทรกขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ผูกพันกับ “บ้าน วัด โรงเรียน” ตั้งแต่แรกเกิดจนวันสุดท้ายของชีวิต
อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
บ้าน วัด โรงเรียน รวมเรียกสั้นๆ ว่า “บวร” เปรียบเสมือน 3 เสาหลักที่เชื่อมโยงผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีต บวรเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะสอดแทรกอยู่ในวรรณกรรมหลายเล่ม ทั้งยังปรากฏในศิลปะการแสดงทุกแขนง อินทัชจึงได้นำบวรมาเป็นโจทย์ของการสร้างสรรค์งานศิลปะในปีนี้ ด้วยมุ่งหวังปลูกจิตสำนึกรักการอ่านให้เยาวชนไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย ผ่านการถ่ายทอดจินตนาการที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมนำมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะที่สื่อความหมายเชิงบวก บ่งบอกถึงความสุข ความสวยงาม และสะท้อนความเป็น “บวร” ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างแจ่มชัด ผ่านเทคนิคลายเส้นหรือการใช้สีที่ถนัด (ยกเว้นการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิก)
ธนาธิป นาฉลอง-พิสชา พ่วงลาภ กับถ้วยรางวัลพระราชทาน
อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) พุทธศักราช 2536 และหนึ่งในกรรมการตัดสินโครงการ จินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช กล่าวว่า เพราะศิลปะทุกแขนงบนโลกเชื่อมโยงกันด้วยอารมณ์ความรู้สึกจะเห็นได้จากศิลปินระดับโลกที่สร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอกจากการอ่านหนังสือ โดยไม่จำเป็นต้องถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดในนั้น แต่อาจจะเป็นการหยิบยก เรื่องราวบางช่วงตอนที่กระทบใจหรือสร้างแรงบันดาลใจจนเราอยากถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ ให้เป็นผลงานศิลปะ เพราะศิลปะที่มีคุณค่าต้องประกอบด้วยองค์รวม 3 ประการ นั่นคือความรู้สึก จินตนาการ และปัญญา
“อีสาน” ผลงานของธนาธิป นาฉลอง เจ้าของรางวัลชนะเลิศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เมื่อปีที่แล้ว
“โครงการที่ให้ความสำคัญและปลูกฝังให้เยาวชนไทยรักการอ่านมีน้อยมาก ทั้งที่เมืองไทยมีวรรณกรรมดีๆ ชวนอ่านเยอะ การอ่านหนังสือดีๆ สักเล่มจะเป็นองค์รวมของปัญญา ยิ่งถ้าเรามีความสามารถในการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยแล้ว ยิ่งส่งเสริมจินตนาการให้แจ่มชัดขึ้น เป็นการบูรณาการด้านปัญญาและจิตใจไปพร้อมกัน โครงการนี้จึงเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เยาวชนไทยที่ดีมาก ผมจึงอยากสนับสนุนให้เยาวชนส่งผลงานเข้ามาประกวดกันมากๆ เพราะสะท้อนว่าพวกเขาอ่านหนังสือมากขึ้นและทำให้เติบโตอย่างลึกซึ้งผ่านการอ่านหนังสือ นำมาถ่ายทอดเป็นศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของจิตใจและเป็นเสน่ห์ อย่างหนึ่งที่อยู่ในผลงานศิลปะของเยาวชน” อ.เนาวรัตน์ กล่าว
“สุขสุดของปวงไทย” ผลงานของพิสชา พ่วงลาภ เจ้าของรางวัลชนะเลิศระดับอุดมศึกษา เมื่อปีที่แล้ว
ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา โครงการประสบความสำเร็จในการปลูกจิตสำนึกรักการอ่านให้เยาวชนไทย 16,580 คน พร้อมส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอผลงานศิลปะที่ได้แรงบันดาลใจการอ่านวรรณกรรมพื้นบ้าน วรรณกรรมในชั้นเรียน วรรณกรรมร่วมสมัย และวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลกว่า 2,000 เรื่อง มอบทุนการศึกษาให้แก่เยาวชนและสถาบันการศึกษาถึง 15,140,000 บาท รวมถึงรายได้จากการจำหน่ายภาพ การกุศลสมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาให้เยาวชนที่เรียนดีแต่ ขาดแคลนทุนทรัพย์ 7,500,000 บาท
“เยาวชนได้รางวัล สถาบันก็ได้ด้วย” นอกจากน้องๆ จะได้รับรางวัลแห่งความภูมิใจแล้ว โครงการยังมีเงินสนับสนุนให้แก่สถาบันการศึกษาของน้องๆ ที่ได้รับรางวัลเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน หรือจัดกิจกรรมด้านศิลปะด้วยเช่นกัน น้องๆ คนไหนสนใจรีบส่งผลงานมาร่วมประกวด ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 กรกฎาคม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.08-2796-1670-1, 0-2934-6767 หรือ 0-2118-6953 และติดตามความเคลื่อนไหวหรือค้นหา 50 ตัวอย่างวรรณกรรมชวนอ่านที่ www.intouchcompany.com, FB : intouchstation