ไลฟ์สไตล์

กาแฟ"อีโคแบรนด์"เต็มรูปแบบ

กาแฟ"อีโคแบรนด์"เต็มรูปแบบ

24 ก.ค. 2562

ปลุกสำนึกคนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช่แค่รักกาแฟ แต่ต้องช่วยกันดูแลโลกใบนี้

          ความมุ่งหวังและตั้งใจจริงในการสร้างความตระหนักรู้กับสังคม เรื่องการลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเอาจริงเอาจังกับการรับผิดชอบปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านเครือข่ายผู้บริโภค ธุรกิจเครื่องดื่มกาแฟแบรนด์ “อินทนิล” ภายใต้การดำเนินงานโดย ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดตัวฝายกดื่มรูปแบบใหม่ กระชับ ใช้ง่าย สร้างกระแส “ไม่หลอด” และ “ร้านกาแฟสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ปลุกสำนึกคนรุ่นใหม่ที่ไม่ใช่แค่รักกาแฟ แต่ต้องช่วยกันดูแลโลกใบนี้

กาแฟ\"อีโคแบรนด์\"เต็มรูปแบบ

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช

กาแฟ\"อีโคแบรนด์\"เต็มรูปแบบ

แก้วแบบฝายกดื่ม

          ชัยวัฒน์ กล่าวว่า ตามที่กลุ่มธุรกิจบางจากได้ให้ความสำคัญต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะร้านกาแฟอินทนิล ดำเนินธุรกิจ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ด้วยการรณรงค์ลดการใช้พลาสติก ผ่านโครงการ “นำแก้วมาเอง” เป็นรายแรกๆ ตั้งแต่ปี 2554 การริเริ่มใช้ "แก้วไบโอพลาสติก" ซึ่งผลิตจากพืชและย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ 100 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2558 จนเป็นผู้ใช้รายใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน การทดลองเปลี่ยนมาใช้ “ฝายกดื่ม” ในเมนูเย็น เพื่อลดขยะจากหลอดพลาสติกในปี 2561 (อินทนิลไม่หลอด) และพัฒนาสู่ฝายกดื่มรูปแบบใหม่ที่มีกำหนดให้บริการพร้อมกันทุกสาขาทั่วประเทศในวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์รายการต่างๆ อาทิ แก้วกระดาษเคลือบไบโอพลาสติกสำหรับเมนูร้อนและหลอดไบโอพลาสติก ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อลดปริมาณพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ลดปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริงและเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวความคิด "อินทนิลทุกแก้วของคุณ เพื่อโลกของเราทุกคน"

กาแฟ\"อีโคแบรนด์\"เต็มรูปแบบ

บรรจุภัณฑ์ใหม่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ 100 เปอร์เซ็นต์

กาแฟ\"อีโคแบรนด์\"เต็มรูปแบบ

โครงการล่าสุด “แก้วเพาะกล้า”

          ล่าสุดได้จัดทำโครงการ “แก้วเพาะกล้า” ร่วมกับศูนย์เพาะชำกล้าไม้ของกรมป่าไม้ ในการทดลองใช้วัสดุย่อยสลาย ด้วยแก้วไบโอพลาสติกของอินทนิล ซึ่งผลิตจากพลาสติกชีวภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ ย่อยสลายโดยธรรมชาติภายใน 180 วัน (ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม) ในศูนย์เพาะชำกล้าไม้ 3 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ ราชบุรี และฉะเชิงเทรา เพื่อทดแทนถุงพลาสติกสำหรับเพาะชำกล้าไม้ของสำนักส่งเสริมการปลูกป่าเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยศูนย์เพาะชำกล้าไม้มีโครงการเปลี่ยนมาใช้วัสดุย่อยสลายภายใน 3 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกได้มากกว่าปีละ 50 ล้านใบ