ไลฟ์สไตล์

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย "พระศาสดา"

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย "พระศาสดา"

05 มี.ค. 2563

การเดินทางจาริกแสวงบุญ ณ แดนพุทธภูมิ ไปตาม "สังเวชนียสถาน 4 แห่ง" ก็เหมือนได้ใกล้ชิดพระพุทธองค์

       หน้าที่ชาวพุทธนอกจากการน้อมนำหลักธรรมคำสอนของ “สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” มาใช้ดำเนินชีวิต ยึดเหนี่ยวจิตใจให้ประพฤติแต่กรรมดีละเว้นความชั่วแล้ว การเดินทางจาริกแสวงบุญ ณ แดนพุทธภูมิ ไปตาม “สังเวชนียสถาน 4 แห่ง” สักครั้งในชีวิต ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางเหมือนได้ใกล้ชิดพระพุทธองค์ และยิ่งได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปบวชครองผ้าเหลืองถึงดินแดนแห่งศรัทธาก็นับเป็นบุญยิ่ง ในแต่ละปีจึงได้เห็นพุทธศาสนิกชนมหาศาลจากทั่วโลกมุ่งหน้าสู่อินเดียและเนปาล ดินแดนอันเป็นต้นกำเนิดแห่งพระพุทธศาสนา

    สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ในพิธีปลงผมนาค

    การเดินทางครั้งนี้ก็เช่นกัน โอกาสครบรอบ 10 ปีการดำเนินงานของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้จัดโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศลแด่ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ แดนพุทธภูมิ สาธารณรัฐอินเดีย และสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ระหว่างวันที่ 15-23 กุมภาพันธ์ 2563

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ขบวนแห่นาคไปยังวัดมหาโพธิ์ พุทธคยา

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

พิธีบรรพชาเป็นสามเณรนวกะ

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

สามเณรนวกะ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

พิธีอุปสมบท

      ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีปลงผมนาค ณ พระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย ทรงขริบผมนาคจำนวน 44 คนซึ่งเป็นบุคลากรของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สถาบันการศึกษาจุฬาภรณ์ และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ นำโดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยมี พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา และหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล กล่าวนำประกอบพิธี 

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

      พร้อมกันนี้ เสด็จไปยังมณฑลพิธีใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ภายในวัดมหาโพธิ์ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีบรรพชาสามเณรนวกะ (บวชใหม่) ทั้ง 44 รูป ก่อนที่สามเณรนวกะจะเข้าสู่พิธีมหามงคลอุปสมบทเป็น “พระนวกโพธิ” อย่างสมบูรณ์ภายในพระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา โดยมี สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ และเจ้าอาวาสวัดยานนาวา เป็นต้น เป็นพระอุปัชฌาย์ 

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ทรงบาตรพระนวกโพธิ ที่วัดไทยพุทธคยา

     ในการนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนฯ ได้ทรงบาตรพระนวกโพธิ อีกทั้งทรงปลูกต้นราชพฤกษ์ บริเวณลานหมอชีวก ณ วัดไทยพุทธคยา และในวันสุดท้ายของโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศล ซึ่งเป็นวันลาสิกขาพระนวกโพธิ ได้เสด็จไปยังปรินิพพานวิหาร ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา รัฐอุตตรประเทศ สถานที่จำลองการดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ทรงกระทําประทักษิณในพระวิหาร ทรงสักการะปรินิพพานสถูป ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีลาสิกขาพระนวกโพธิทั้ง 44 รูป ที่พระอุโบสถวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ทรงสักการะพระพุทธรูปปางปรินิพพานภายในปรินิพพานวิหาร เมืองกุสินารา

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีลาสิกขาพระนวกโพธิ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

     และในการนี้ยังโปรดให้มีหน่วยแพทย์พระราชทานจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อตรวจรักษาพระภิกษุสงฆ์ ผู้จาริกแสวงบุญ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่โดยรอบวัดไทยพุทธคยา และวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการตรวจรักษาอาการเบื้องต้นในโรคพื้นฐานทั่วไป สร้างความซาบซึ้งในพระกรุณาธิคุณอย่างยิ่ง 

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

หน่วยแพทย์พระราชทานจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

     ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนามาตลอด เข้าพระทัยอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ซึ่งเปิดดำเนินการมาครบ 10 ปี จึงถือโอกาสจัดโครงการดังกล่าวเพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่พระองค์ที่ทรงงานหนักเพื่อประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะด้านสุขภาพของประชาชนผู้ยากไร้ รวมถึงการดูแลรักษาโรคมะเร็งซึ่งเป็นความเจ็บป่วยที่สร้างความทุกข์ทรมาน

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

พระนิธิยานนฺทโพธิ (ศ.นพ.นิธิ มหานนท์)

     “แรกเริ่มที่ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตั้งพระทัยให้เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็ง แต่เมื่อมีคนไข้มากขึ้น จึงได้ขยับขยายเป็นโรงพยาบาลทั่วไป เพื่อรักษาพยาบาลให้ครบทุกเรื่อง มีพระประสงค์ที่จะขยับขยายเพิ่มเป็น 400 เตียง ซึ่งจะเปิดให้บริการรักษาทุกโรคในต้นปี 2565 โดยเครื่องไม้เครื่องมือของเรามีคุณภาพเช่นเดียวกับต่างประเทศ บางอย่างดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะเราเข้าใจในการวิจัยที่ก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ในด้านนี้ อีก 1-2 ปีข้างหน้าเราจะมีเทคโนโลยีการรักษามะเร็งเฉพาะจุด หรือ “เฮฟวี่ พาร์ติเคิล เธอราพี” มีผลข้างเคียงน้อย ทุกคนสามารถมาใช้รักษาได้ โดยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์จะเป็นศูนย์กลางในการดูแล” ศ.นพ.นิธิ กล่าว

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

     ในการบรรพชาอุปสมบทถวายเป็นพระกุศลครั้งนี้ พระนวกะแต่ละรูปได้นามฉายาต่อท้ายด้วยคำว่า “โพธิ” ซึ่งเป็นรูปแบบการให้ฉายาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อเป็นเครื่องแสดงให้รู้ว่าผู้บวชได้มาประกอบพิธีบรรพชาใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า หนึ่งในสังเวชนียสถานทั้งสี่ นับเป็นความปีติของทุกคนที่ได้บวชเป็นพระสงฆ์อย่างสมบูรณ์ อาทิ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ฉายา “นิธิยานนฺทโพธิ” ผู้มีขุมทรัพย์เป็นเครื่องเพลิดเพลินยินดี, รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ ผู้ช่วยอธิการบดี สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้ฉายา “สุธีรโพธิ” นักปราชญ์ผู้มีปัญญาดี, ณรงค์ฤทธิ์ ศรีธนะ นักวิจัย โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้ฉายา “วริทฺธิโพธิ” ผู้มีความสำเร็จอันประเสริฐ เป็นต้น

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

วิหารมหามายาเทวี ลุมพินี สถานที่ประสูติ

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

มหาเจดีย์พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ธรรมเมกขสถูป ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ต.สารนาถ สถานที่แสดงปฐมเทศนา

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ปรินิพพานวิหาร ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา​​​​​​​

    สาระสำคัญอีกประการของการอุปสมบทหมู่ คือการที่พระนวกโพธิ ทั้ง 44 รูป ได้ออกเดินทางจาริก ปฏิบัติธรรม และเจริญสมาธิยังพุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้แก่ สถานที่ประสูติ ณ ลุมพินี, สถานที่ตรัสรู้ ณ พุทธคยา, สถานที่แสดงปฐมเทศนา ณ สารนาถ และสถานที่ปรินิพพาน ณ กุสินารา รวมถึงสถานที่แม้ไม่ใช่สังเวชนียสถานทั้ง 4 หากว่ามีความสำคัญตามพุทธประวัติ อย่างที่เมืองพุทธคยา ที่เต็มไปด้วยวัดพุทธนานาชาติ ของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งสายมหายาน และเถรวาท ต่างมีศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้น วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสาร ทรงสร้างถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้า และเป็นสถานที่ซึ่งพระอารยสงฆ์สาวก 1,250 รูป มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย เป็นต้น กำเนิด “วันมาฆบูชา” หรืออย่าง “นาลันทาคาม” บ้านเกิดของพระสารีบุตร อัครสาวกฝ่ายขวาซึ่งต่อมาเป็นสถานที่สร้างมหาวิทยาลัยนาลันทา มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลก เคยมีพระภิกษุจำพรรษากว่าหมื่นรูปมาศึกษาพระธรรม

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

วัดญี่ปุ่นหนึ่งในวัดพุทธนานาชาติ ที่เมืองคยา

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

สถูปพระสารีบุตร ที่นาลันทาคาม

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ยอดเขาคิชกูฏ 

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

กุฏิพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวันมหาวิหาร

    ยอดเขาคิชกูฏ สถานที่ตั้งพระคันธกุฏิของพระพุทธเจ้า ที่สมัยพุทธกาลพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ได้เสด็จขึ้นไปกราบนมัสการพระพุทธเจ้า ที่นี่เต็มไปด้วยรอยพระบาทของพระพุทธองค์ การดั้นด้นขึ้นไปจาริกและได้กราบพระพุทธบาทจึงเป็นยอดมงคลชีวิตอย่างหาใดเปรียบ เช่นเดียวกับการมีโอกาสล่องเรือในแม่น้ำคงคาที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์ จึงมีพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อมากมาย โดยเฉพาะการลงไปอาบน้ำล้างบาป การบูชาสุริยเทพ การเผาศพ ริมแม่น้ำ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการลอยกระทงใบสาละเล็กๆ บูชาพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกับขอขมาแม่น้ำคงคา หรืออย่าง “วัดพระเชตวันมหาวิหาร” เมืองสาวัตถี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับจำพรรษานานที่สุดถึง 19 พรรษา และยังมีกุฏิของพระราหุล กุฏิพระมหากัสสปะเถระ กุฏิพระสีวลี และกุฏิพระสารีบุตรอีกด้วย

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ลอยกระทงใบสาละ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ณ คงคามหานที

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

เผาศพตามวรรณะริมแม่น้ำคงคา

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

อาบน้ำล้างบาปตามความเชื่อ

     พระครูปลัดเฉลิมชาติ ชาติวโร เลขานุการหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาล ให้มุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การจาริกแสวงบุญยังแดนพุทธภูมินับว่าได้อานิสงส์หลายด้าน ประการแรกเป็นการสืบทอดมรดกธรรมที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตรัสไว้ว่าบุคคลใดที่ปรารถนาจะไปกราบสักการะพระองค์หลังการล่วงลับก็สามารถไปได้ที่สังเวชนียสถาน 4 แห่ง บุคคลใดเมื่อได้ไป 4 สถานที่นี้แล้วสามารถยังจิตให้เกิดความเลื่อมใส ยังใจให้เกิดความศรัทธาได้ เมื่อกายใจแตกดับก็สามารถไปจุติยังโลกสวรรค์

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

เข้านมัสการพระพุทธเมตตา ในมหาเจดีย์พุทธคยา

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

มกุฎพันธเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิง พระสรีระของพระพุทธเจ้า

     ประการถัดมา เป็นการเรียนรู้รากฐานของพระพุทธศาสนาให้ถึงแก่นแท้ เรียนรู้จุดที่พระพุทธศาสดาทรงถือกำเนิดขึ้นในโลก แม้ว่าปัจจุบันจะเป็นซากอิฐกองปูน แต่เมื่อเราได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธองค์เชื่อมโยงกับสถานที่นั้นๆ  ซากอิฐกองปูนก็กลับกลายมีชีวิตขึ้นมาเหมือนว่าพระพุทธศาสนดายังคงประทับอยู่ ณ สถานที่นั้นๆ ประการที่ 3 เป็นรูปแบบที่พระอรหันต์สมัยก่อนได้ประพฤติปฏิบัติกันมาตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังดำรงชีวิตอยู่ และเมื่อปรินิพพาน กล่าวคือเมื่อออกพรรษาแล้วมีธรรมเนียมไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเชตวันมหาวิหารบ้าง วัดเวฬุวันบ้าง เพื่อถวายรายงานการปฏิบัติของตนเอง สืบต่อเนื่องเป็นพันปีถึงปัจจุบัน การจาริกแบบนี้จึงเหมือนได้ตามรอยพระอรหันต์ ทำให้ได้ใกล้ชิดพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ยิ่งขึ้น 

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

พระพุทธรูปปางปรินิพพาน ปรินิพพานวิหาร ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา

      และประการที่ 4 ใช่เพียงได้เข้าไปสู่พุทธสถาน แต่ในระหว่างที่เดินทางไกลนั้น จะมีพระธรรมวิทยากรคอยถ่ายทอดเรื่องราวของพระพุทธเจ้า บทธรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับพุทธสถานต่างๆ เป็นการใช้พุทธสถานสื่อให้เห็นธรรมของพระพุทธองค์ จากไม่เคยรู้ก็ได้รู้ จนทำให้เกิดศรัทธามากยิ่งขึ้น เป็นสิ่งที่มีค่ามากนำพาให้เราพ้นทุกข์ได้ และนำไปสู่ปัญญา

สักครั้งในชีวิต จาริกตามรอย \"พระศาสดา\"

ศรัทธาไร้พรมแดน ณ พุทธภูมิ

       กล่าวได้ว่าการมาสู่สังเวชนียสถาน ณ แดนพุทธภูมิ ด้วยประโยชน์มากมายเช่นนี้ ชาวพุทธจึงควรสักครั้งหนึ่งที่จะมีโอกาสได้ตามรอยเท้า ตามรอยธรรมขององค์สมเด็จพระศาสดา...