
เกาะรั้วอาฟตาผู้บริโภคได้อะไร เอเชีย คาร์
ช่วงนี้วงการรถยนต์ดูเงียบเหงาเป็นธรรมชาติเพราะว่า ในแต่ละปีรถยนต์เขามีฤดูการทำกิจกรรมต่างกันออกไป ในช่วง 1-2 เดือนแรกส่วนใหญ่จะนิ่ง เนื่องจากกำลังซื้อโหมจ่ายเงินไปแล้วเมื่อปลายปี เพราะมีงานโชว์ความคึกคักจะกลับมาอีกครั้งก่อนสงกรานต์เพราะ
งานโชว์ใหญ่อีกงานจะเริ่มขึ้นแล้วหลังจากนั้นเมื่อเข้าหน้าฝน คนออกรถน้อย ก็จะซบเซาหรือเช่นเดียวกับเดือนที่มีวันหยุดยาว ก็ช่วงสงกรานต์อีกเช่นกันความคึกคักก็จะน้อย แม้ช่วงนี้จะไม่คึกแต่มีข่าวรถยนต์สองค่าย ลดราคาลงมาคือมาสด้ากับโตโยต้า โดยเหตุเพราะว่าภาษีนำเข้าลดลงจากเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟต้าซึ่งมีข้อกำหนดว่าในปี 2553 ทุกประเทศสมาชิกอาฟต้า จะต้องลดภาษีรถยนต์สำเร็จรูปลงเหลือ 0% (จากเดิมเก็บอยู่5%)
อาฟตา เกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีการค้าโดยนโยบายทำให้อาเซียน ยกเลิกกำแพงภาษี และกลายเป็นตลาดเดียว เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนมาลงทุนที่ประเทศสมาชิกไหนก็ได้ก็จะได้สิทธิ์ในการขายของในเขตอาฟตา โดยที่ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าส่งออก (เฉพาะรายการสินค้าที่ตกลงกันไว้เท่านั้น) สำหรับรถยนต์สิ่งที่เปลี่ยนแปลงจะตามมามากหรือ น้อยมีเรื่องที่เกี่ยวข้องคนซื้อรถบ้านเราอย่างไรติดตาม
ใครเป็นใครที่ได้สิทธิ์ภาษีอาฟตา
รถที่ใช้สิทธิภาษี อาฟตาต้องมีฐานผลิตในอาฟต้าซึ่งกำหนดไว้ว่า ต้องอย่างน้อยใช้ชิ้นส่วน 40% นอาฟต้า ถึงจะได้สิทธิ์แน่นอนว่า ถ้ามองจากมุมของประเทศไทย รถจากไทยทุกรุ่นจะสามารถส่งออกไปได้สะดวกโดยไม่มีภาษี เช่นกันบริษัทใน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ก็สามารถ ส่งรถเข้ามาขายได้สะดวก ปัจจุบันมี ค่ายรถยนต์ทำการส่งรถเข้ามาขายในเมืองไทย ภาษีใต้ภาษี อาฟตา 0% คือ
ฟอร์ด โฟกัส และเอสเคป (ฟิลิปปินส์)
โตโยต้า อินโนวา และอวันซา (อินโดนิเซีย)
ฮอนด้า ฟรีด (อินโดนิเซีย)
นาซ่า ฟอร์ซ่า (มาเลเซีย)
โปรตอน ทุกรุ่น (มาเลเซีย}
นิสสัน เอ็กซ์เทรล (อินโดนีเซีย)
เกีย ปิคันโต (มาเลเซีย)
วอลโว่ (มาเลเซีย)
มาสด้า 3 (ฟิลิปปินส์)
ซูซูกิ สวิฟท์ (อินโดนิเซีย)
เปอโยต์ 206 (มาเลเซีย) ส่วนรถส่งออกจากไทย ส่งไปทุกที่เกือบทุกรุ่น ไม่ต้องนับกัน
มีรถใหม่ให้เลือกมากแค่ไหนหลังอาฟตา
รถรุ่นใหม่ๆ จากการเปิดเสรีอาฟต้าในเวลาคงตอบว่ามีแต่ไม่มากเพราะว่า ถ้าเทียบความหลายหลายแล้วรถเหล่านั้นเจ้ามาขายในเมืองไทยเกือบครบ ความเป็นไปได้ที่จะมีรถยนต์รุ่นใหม่ ในกลุ่มที่เรียกว่า เอเซียคาร์หรือแบรนด์เอเชียเข้ามาตลาดไทยเพิ่มขึ้น อาจจะมียี่ห้อ โปโรดัว รถจากมาเลเซียเหลือยี่ห้อหนึ่ง ที่ถือหุ้นใหญ่โดยโตโยต้าทั้งนี้โปโรดัว ใช้แพทฟอร์มของไดฮัทสุ (บริษัทในเครือโตโยต้า) ดังนั้นอาจจะมีตลาดรถเล็ก (เอ-เซ็กเมนท์) ที่โตโยต้าไม่ทำในไทยแล้วให้ โปโรดัว ลุยแทนนอกจากนี้ ยังมีรุ่นใหม่ๆ บางตัวจากการเพิ่มรุ่นของค่ายที่มีอยู่แล้วในไทยเช่น ฮุนได อาจจะเลือกรถเก๋งเล็ก สุด ในกลุ่มเอ-เซ็กเทนท์ มาจากมาเลเซียมาขาย ยังมีค่ายรถที่ปักธงอยู่ในมาเลเซียและรอการเปิดตลาดเสรี อาฟตา เช่น ค่ายรถแดนน้ำหอมอย่าง ซีตรอง และเรโนลด์ ค่ายซังยอง จากเกาหลีใต้ ก็มีแผนจะลงทุนขึ้นไลน์ผลิตรถเอสยูวี รุ่นเร็กซ์ตัน ค่ายซูบารุ จากญี่ปุ่นก็มีแผน ผลิตรถอิมเพรซ่า ส่งมาทำชนตลาดเก๋ง ในไทย ค่ายไดฮัทสุ ก็มีโรงงานผลิตรถจิ๋วตามความถนัดทางฝั่งค่ายยุโรปก็มีแลนด์โรเวอร์และเดมเลอร์ ไครสเลอร์ แน่นอนว่าถ้าค่ายรถเหล่านี้มาเพิ่มรุ่นมากขึ้นคนใช้รถ ก็มีทางเลือกมากขึ้นไม่เฉพาะไทยแต่เป็นทั่วอาเซียน สำหรับคนไทยมีทางเลือกเพิ่ม ก็อาจจะไม่เลือกรถเหล่านั้นก็ได้ เพราะดูจากรสนิยมของการใช้รถ แล้วรถที่ขายอยู่ภายใต้ภาษี 0% หลายยี่ห้อ ไม่ประสบผลสำเร็จ ยกเว้น มาสด้า 3 ฟอร์ด และโปรตอน
รถยนต์ราคาถูกลงหรือไม่
ภาษีนำเข้ารถสำเร็จรุป มีส่วนทำให้ต้นทุนผู้ผลิตที่ต้องส่งรถข้ามไปขายในแต่ละประเทศสมาชิกถูกลง แต่ลดลงไม่มาก จากการถอดภาษี แบบเป็นขึ้นตอน ล่าสุด ภาษี5% เหลือ 0% ภาษีนำเข้ารถสำเร็จรูป ทำให้รถลดราคาลง 1.5-3 หมื่นบาท สำหรับอาฟตาเป็นภาระภาษีส่วนน้อย ตัวกระทบหลักๆ กับราคาคือ ภาษี สรรพสามิต ไม่ใช่ภาษีนำเข้า นอกจากนี้ ราคาขึ้นอยู่กับกับกระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวาของผู้ผลิต เช่น ยอมขาดทุนในอีกประเทศหนึ่งแล้วมาทำกำไรกับอีกประเทศหนึ่ง เรื่องนี้ ถือเป็นอิสระของการตั้งราคาขายปลีก ภาษีทำให้ค่ายรถต้นทุน ลดลง (กำไรเพิ่มขึ้น) แต่ ราคาขายปลีก บอกได้เลยว่า ภาษีลด ราคาขายไม่จำเป็นต้นลดเพราะอ้างโน่นอ้างนี่ได้ แต่ถ้าภาษีขึ้น ราคาขาย เพิ่มขึ้นแน่นอน
ทำไม โตโยต้าลด ราคา ค่ายอื่นไม่ลด
หลังภาษีอาฟตา เหลือ 0% ในวันที่1 ม.ค.2553 ต่อมาในวันที่ 7 มกราคม มีรถ 2 ค่ายที่ประกาศลดราคาคือ มาสด้า กับ โตโยต้า การตัดสินใจลดราคารถยนต์ที่นำเข้า ตามเงื่อนไขของอาฟตา เป็นเรื่องไม่ปกติเท่าไรนักแม้ตามกรอบจะคิดได้ว่าราคาต้องลด
ผู้บริหารของโตโยต้าบอกว่า ในฐานะที่โตโยต้าเป็นผู้นำตลาดรถยนต์เมืองไทย จึงอยากสร้างแบบอย่างและวัฒนธรรมที่ดี ในเมื่อตลาดอาเซียนเปิดเสรีตามกรอบอาฟตาแล้ว เลย ปรับราคาจำหน่ายรถยนต์ที่นำเข้าจากอินโดนิเซีย 2 รุ่น คือ รถอเนกประสงค์หรือเอ็มพีวี คือ โตโยต้า อินโนว่า ราคาจำหน่ายประมาณ 8.34 แสนบาท ถึง 1.07 ล้านบาท ปรับลดลงเฉลี่ย 1.5 หมื่นบาทต่อคัน และโตโยต้า อวันซ่า ราคาจำหน่ายประมาณ 5.79 - 7.04 แสนบาทปรับลดลงเฉลี่ย 9,000 บาทต่อคัน
ประเด็นที่น่าปรบมือให้โตโยต้าคือ แม้ว่าจะเป็นรถที่สต็อก ก่อนที่อาฟตาจะมีผล (ภาระภาษีศุลกากรขาเข้า 5%) แต่โตโยต้าก็กัดฟันแบกรับภาษีนี้ไป สิ่งที่ได้มาคุ้มมากมาย 1.5 หมื่นที่ลดให้ นั่นคือ ได้ภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาชาวบ้าน อาศัยจังหวะนี้ลดราคาจูงใจเพื่อระบายสต็อกรถที่ขายยาก มีข้ออ้างลดราคาโดยที่คนซื้อรถไปก่อนหน้านี้ไม่สามารถโวยวายได้เพราะลดตามภาษีนำเข้า นี่ถือเป็นการซื้อจังหวะที่สุดคุ้มเพียง 1.5 หมื่นบาท
ด้านบริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ก็ออกมา ขานรับนโยบายเขตการค้าเสรีอาเซียน ประกาศปรับลดราคาจำหน่ายรถยนต์มาสด้า 3 ทุกรุ่นใหม่ สูงสุด 30,000 บาท เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป โดยราคาเริ่มต้นที่ 7.55 แสนบาท
เหตุผลที่มาสด้าลดราคา คือ เร่งเคียร์ของเก่า มาสด้า 3 โฉมใหม่กำลังมา ขนาดลดราราแล้วมาสด้า ยังแถม ข้อเสนอพิเศษด้วยดอกเบี้ยต่ำสุดเพียง 2.19% ฟรีค่าบำรุงรักษา 3 ปี และฟรีประกันภัยชั้นหนึ่งอีกเพียบ
ส่วนค่ายรถยนต์อื่นๆ ที่ไม่ลด เพราะ ขายดีอยู่แล้วอย่างโปรตอน หรือ ฮอนด้าฟรีด ที่อ้างว่ากำหนดราคาต่ำ ไว้ล่วงหน้ารับมือภาษีอยู่แล้ว