ไลฟ์สไตล์

ยังมีหวัง.."ณัฏฐพล" ลั่นใช้เวลา1-2ปี ปรับเปลี่ยนการศึกษาไทยต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ

ยังมีหวัง.."ณัฏฐพล" ลั่นใช้เวลา1-2ปี ปรับเปลี่ยนการศึกษาไทยต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ

03 ก.ย. 2563

ยังมีหวัง.."ณัฏฐพล" รมว.ศธ. ชู การศึกษายกกำลัง2 จี้ข้าราชการบูรณาการแผนรวมเป็นหนึ่ง ขีดเส้นตาย1เดือนรู้ผล เผยพบทูตกว่า 40 ประเทศสนใจลงทุนในไทย แต่ห่วงบุคลากรแรงงาน ลั่นใช้เวลา 1-2 ปีปรับเปลี่ยนการศึกษาไทย เพื่อต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ

         เมื่อวันที่ 2 กันยายน นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (เสมา 1 ) ได้เรียกประชุมสำนักนโยบายและแผนของทุกส่วนงานในกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทำความเข้าใจและติดตามแผนงานการศึกษายกกำลังสองเพื่อสร้างความเป็นเลิศทางการศึกษา

 อ่านข่าว: ม.มหิดล ได้ที่ 1 ของไทย ในภาพรวม และ ด้านวิจัย

 

         โดยในที่ประชุม นายณัฎฐพล กล่าวขอบคุณที่ทุกส่วนงานมีความรู้ ความเข้าใจถึงนโยบายการศึกษายกกำลังสอง และมีแผนงานชัดเจนในการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทย

 

       นายณัฏฐพลกล่าวว่า ขณะนี้ทุกประเทศเผชิญสถานกาณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่นเดียวกัน หากประเทศไทยซึ่งมีมาตรการด้านสาธารณสุขเป็นอันดับต้นของโลก ถือเป็นข้อได้เปรียบหากจะมีนักลงทุน หรือนักท่องเที่ยวมาประเทศไทย จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของเด็กนักเรียน และคุณครู เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

       “ผมเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาฯ ที่พบทูตกว่า 40 ประเทศ ซึ่งได้สอบถามว่าหากจะเข้ามาลงทุนในเมืองไทย มีข้อกังวลอะไร ทุกคนจะพูดเหมือนกันว่า ห่วงเรื่องปัญหาความไม่พร้อมของบุคลากรด้านแรงงาน ดังนั้นหากสถานการณ์พลิกฟื้นกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาอีก 1-2 ปี ถ้าเราสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองด้านการศึกษา โดยสามารถผลิตบุคลากรคุณภาพเพื่อรองรับได้ ถึงเวลานั้น เราก็จะสามารถเป็นประเทศที่ดึงดูดนักลงทุน นักท่องเที่ยว ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศให้พลิกฟื้นขึ้นมาได้” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าว      

         นายณัฎฐพลได้กล่าวในที่ประชุมด้วยว่า อยากให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนที่มีอยู่ให้รวดเร็วมากขึ้น รวมถึงการร่วมกันหาแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม เช่น แนวทางการสอบเพื่อคัดเลือกครูให้ได้คนที่มีความสามารถจริงมาเป็นครูสอน ผู้บริหารโรงเรียนจะมีหลักเกณฑ์ หรือแนวทางในการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนสถานการศึกษาของตนเองให้มีความเป็นเลิศเฉพาะทางของตนเองได้อย่างไร หรือปรับวิธีการสอบโดยใช้ข้อสอบแบบสุ่ม (Random) เป็นต้น

 

       “เราต้องก้าวข้ามข้อจำกัด และขยายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนมากขึ้น ต้องเพิ่มด้านปริมาณ และคุณภาพอย่างเข้มข้น หากมีข้อติดขัด เช่นงบประมาณ พวกเราต้องช่วยกัน และสรุปข้อเสนอแนะอย่างมีเหตุมีผล ซึ่งผมพร้อมที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติในการปลดล็อคแนวทางการทำงาน” นายณัฏฐพลกล่าว

 

       ทั้งนี้ ในที่ประชุม นายณัฏฐพลได้แสดงความเห็นให้ทุกหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ บูรณาการแนวคิด และวิธีการทำงานเป็นหนึ่งเดียว เพื่อหาแนวทางร่วมกันในลักษณะข้ามหน่วยงาน ให้เป็นแผนงานของกระทรวงศึกษาธิการที่ทุกคนเป็นเจ้าของผลงานร่วมกันอย่างเป็นองค์รวม โดยให้มีการประชุมเพื่อจัดทำแผนบูรณาการด้านการศึกษายกกำลังสอง และนำเพื่อหารือร่วมกันภายในระยะเวลา 1 เดือน

 

      “หากเราทุกคนในกระทรวงศึกษาฯ ช่วยกัน คุยร่วมกันทั้งกระทรวง จะเป็นวิวัฒนาการใหม่ของการบริหารราชการไทย เป็นกระทรวงแรกที่มีการร่วมมือกันทุกหน่วยงาน อยู่ที่ว่า ทุกคนพร้อม และกล้าหรือไม่ หากเราจะมาช่วยกันรื้อด้านการศึกษาของไทย ซึ่งเริ่มต้นได้ทันที รวมถึงการทำแผนงานงบประมาณในปี 2565 อย่างบูรณากการร่วมกัน”นายณัฏฐพล กล่าว

 

       ทั้งนี้ ในที่ประชุม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำเสนอแผนงานที่ได้ดำเนินการแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการ ตามแนวคิดด้านการศึกษายกกำลังสอง ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Human Capital Excellence Center – HCEC, แฟลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Digital Education Excellence Center-DEEP และ แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ Excellence Individual Development Pan - EIDP      

       โดยมีแผนงานสำคัญ อาทิ ทางสภาการศึกษาแห่งชาติ จะดำเนินการด้านหลักสูตรให้เป็นที่เรียบร้อยในเดือนพฤษภาคม 2564 และในปี 2563 จะสามารถจัดทำฐานข้อมูล และแฟ้มผลงาน (Portfolio) ของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ ทางสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอแผนงานการควบรวมโรงเรียนใน 29 จังหวัด จำนวนกว่า 2,00 โรงเรียน และแผนการโยกย้าย และพัฒนาครูผู้สอน

 

        ด้านสำนักงานอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอแผนเร่งรัดและขยายความร่วมมือกับภาคเอกชนด้านหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านแรงงานของภาคเอกชน และเสนอแนะการสร้างแรงจูงใจให้เด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้นหันมาศึกษาด้านอาชีวะมากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการแรงงานที่มีความต้องการในอนาคต

 

        โดยเฉพาะสาขาสำคัญๆ เช่น โรโบติกส์ ระบบราง แม็คคาทรอนิกส์ เป็นต้น ด้านสำนักส่งเสริมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้นำเสนอการฝึกอบรมครูด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ด้วยระบบออนล์ และการขออนุมัติงบประมาณในการเปลี่ยนพื้นที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองสะเต็มศึกษา (STEM Edupolis) เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ให้กับครูทั่วประเทศ ด้านสำนักงานการอาชีวศึกษา ได้นำเสนอข้อมูล