ไลฟ์สไตล์

 เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

07 ก.ย. 2563

เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว  คอลัมน์...  ตามรอยตำนานแผ่นดิน  โดย...  เอก อัคคีส่อง

 

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองได้สำเร็จ คณะราษฏร์ ที่นำโดยนายปรีดี พนมยงค์ ก็ได้เชิญ พระยามโนปกรณนิติธาดา ให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์ชุดแรกที่มีด้วยกันทั้งหมด 70 คนที่มาจากการแต่งตั้ง และในสภาได้คัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศ

 

อ่านข่าว...   เปิดตัวอลังการณ์ "แปะโรงสี รุ่น เจ้าสัว" ตอกย้ำพลังแห่งศรัทธาหนุนชะตาค้าขายร่ำรวย

 


ด้วยหวังว่าท่านจะเป็นคนกลางประสานความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้นิยมการปกครองแบบเก่า และกลุ่มผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ถูกทาบทามตั้งแต่วันแรกที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ทว่ายังไม่ตอบรับเลยในทันที เพียงแต่ขอเวลาไปตัดสินใจหนึ่งคืน และได้ให้คำตอบรับในเช้าวันถัดมา

 

 

เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

ด้านหน้าของเหรียญเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗

 


ซึ่งจะว่าไป หมากการเมือง หมากนี้ก็ล้ำลึกมากและอำมหิตต่อจิตใจขุนนางฝ่ายราชสำนักมากเพราะพระยามโนปกรณนิติธาดา  ก่อนหน้าเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ให้เป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์และคุณหญิงนิตย์ มโนปกรณนิติธาดา (สกุลเดิม สาณะเสน) ภริยาของท่าน ผู้เป็นธิดาของพระยาวิสูตรโกษา (ฟัก สาณะเสน) คือนางสนองพระโอษฐ์ของสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี


แต่เสียชีวิต ขณะตามเสด็จประพาสอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่กำหนดไว้ระหว่างวันที่ 6 เมษายน - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 แต่วันที่ 4 พฤษภาคมนั้น ได้เกิดอุบัติเหตุเมื่อรถยนต์ที่เธอนั่งพุ่งชนเข้ากับเสาโทรเลข เนื่องจากความประมาทของพลขับ ทำให้คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดาบาดเจ็บสาหัสที่ศีรษะมีบาดแผลฉกรรจ์ ภายหลังคุณหญิงทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงเสียชีวิตลงในเวลา 12.35 นาฬิกา ของวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473


จึงยกเลิกพระราชกรณีกิจทั้งหมด เสด็จกลับประเทศไทยทันที อีกทั้งยังโปรดเกล้าให้สร้างอนุสาวรีย์เสาหินรูปหน้านางสี่หน้าเพื่อเก็บอังคารของคุณหญิงที่วัดปทุมวนาราม ตราบจนทุกวันนี้


แต่เอาเถอะ....ไม่อยากลงลึกเรื่องการเมือง มาว่ากันเรื่อง วัตถุมงคลดีกว่า

 

 

เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

ด้านหลังของเหรียญมีรูปอุณาโลมภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์ อยู่บนสมอเรือและคันไถ มีรวงข้าวล้อมรอบ

 

…........

เหรียญนี้มีข้อมูลว่า นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศสยาม(สมัยนั้นยังไม่เปลี่ยนนามเป็นประเทศไทย) อนุญาตให้กองทัพเรือ เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง เหรียญที่ระลึกที่ราษฎรได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ 

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงหยดน้ำ มีห่วงด้านบนของเหรียญ ด้านหน้าของเหรียญเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ฉลองพระองค์ด้วยพระบรมราชภูษิตาภรณ์ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เต็มพระยศประทับบัลลังก์เต็มองค์ ผินพระพักตร์ ไปทางด้านซ้าย พระราชทานรัฐธรรมนูญ อันเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า การพระราชทานพระราชอำนาจที่ทรงได้รับเมื่อวันเสด็จฯขึ้นครองราชย์สมบัติแก่ปวงชนชาวไทยนั้นทรงกระทำด้วยเต็มพระราชหฤทัย


ล้อมรอบด้วยข้อความที่เป็นตัวอักษรและตัวเลขไทยว่า "ที่ระลึกราษฎรได้รับรัฐธรรมนูญ ๒๗.๓.๗๕" หมายถึง เป็นที่ระลึกที่ราษฎรไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) จากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ โดย “๒๗” หมายถึงวันที่ ๒๗ ส่วน “๓” หมายถึง เดือนที่ ๓ ของปี คือเดือนมิถุนายน เนื่องจากในสมัยนั้นประเทศไทยนับเดือนเมษายนเป็นเดือนที่ 1 ของปี จึงนับเดือนมิถุนายน เป็นเดือนที่สามของปี และ “๗๕” หมายถึง ปีพุทธศักราช ๒๔๗๕


ส่วนด้านหลังของเหรียญมีรูปอุณาโลมภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์ อยู่บนสมอเรือและคันไถ มีรวงข้าวล้อมรอบ สื่อความหมายว่า อุณาโลมในกรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หมายถึง “ความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา” ถัดลงมาเป็นรูปสมอเรือ หมายถึง “ทหารเรือ” บนสมอเรือมีรูปคันไถ หมายถึง “ประชาชนพลเมืองที่เป็นเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ (ในยุคนั้น)” ใต้สมอเรือมีหนังสือเล่มหนึ่ง หมายถึง “ความเจริญรุ่งเรืองด้านวิทยาการของพลเมือง” ด้านข้างของสมอเรือจะมีรวงข้าวมัดรวมกันอยู่ หมายถึง “ความอุดมสมบูรณ์”

 

 

เหรียญที่ระลึกคณะราษฏร์ยุค ๒๔๗๕ พระยามโนปกรณนิติธาดา นายกฯคนแรกหลวงพ่ออี๋ ปลุกเสกเดี่ยว 

 สี่ทหารเสือแห่งคณะราษฏร์

 


นักสะสมเหรียญเชื่อกันว่า เป็นเหรียญที่ระลึกที่มีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ เพนสะได้รับการปลุกเสกจากพระเกจิอาจารย์ในสมัยนั้นคือ "หลวงพ่ออี๋" หรือ พระครูวรเวทมุนี (อี๋ พุทธสโร) ผู้ถูกขนานนามว่า "เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำทะเลตะวันออก" ทำให้ได้รับความนิยมจากนักสะสมเหรียญและของเก่าเป็นอย่างมาก  


แม้ว่า พฤติกรรมของนักการเมืองยุคต่อมาตราบจนทุกวันนี้ มันจะน่า...อี๋....ที่สุด 
แต่ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับหลวงพ่ออี๋นะขอรับ!?!
…............