ไลฟ์สไตล์

"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ

"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ

03 ต.ค. 2563

เปิดกรุพระเครื่อง นายกรัฐมนตรีประเทศไทย  "พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ คอลัมน์...  ตามรอยตำนานแผ่นดิน   โดย...  เอก อัคคี  FB:Akeakkee Ake

ในยุคเรืองอำนาจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม  นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีเรื่องเล่าลือเกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของพระเครื่องที่ท่านผู้นำได้อาราธนาติดตัวมากมาย โดยเฉพาะจากคำบอกเล่าของ  หลวงวิจิตรวาทการ ขุนพลปากกาทองคู่ใจ ผู้เคยรจนาเอาไว้ว่า เคยเห็นมีแสงรัศมีเปล่งออกมาจากตัว จอมพล ป. และศรัทธาแก่กล้าถึงขนาดก้มลงกราบต่อหน้าสาธารณชน ใครจะมองว่า ประจบสอพลอก็ช่าง ท่านคุณหลวงท่านเห็นของท่านเช่นนั้นจริงๆ สอบถามได้ความว่าเป็นแสงที่เปล่งมาจาก ‘พระเครื่อง’ ที่ท่านห้อยติดตัวอยู่ แม้กระทั่งในการขึ้นครองอำนาจครั้งที่สอง (พ.ศ.๒๔๙๑-๒๕๐๐) เมื่อทหารเรือก่อกบฏแมนฮัตตัน จี้จับท่านจอมพล ป.เป็นตัวประกันอยู่ในเรือรบ 

 

อ่านข่าว...  เมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร บัญชาให้สร้าง"พระอู่ทองออกศึก" แจกทหารจงอางศึก พกไปลุยศึกสงครามเวียตนาม

 

\"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ\" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ

จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม

\"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ\" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ


ปรากฏว่ามีผู้หวังดี(แต่อาจจะประสงค์ร้าย)พากันขับเครื่องบินทิ้งระเบิดและยิงถล่มใส่เรือที่ท่านถูกจับอยู่ ท่านก็ยังสามารถกระโดดลงน้ำว่ายหนีกลับขึ้นฝั่งอย่างน่ามหัศจรรย์ ก็เลยมีเสียงร่ำลือกันว่าเป็นเพราะพระเครื่องที่ท่านห้อยแขวนอยู่อีกเช่นกัน ซึ่งเซียนพระรุ่นเก๋าบอกว่า หนึ่งในพระเครื่องของ จอมพลป.คือพระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ เนื้อผงพุทธคุณ กรุวัดบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก


มีข้อมูลระบุว่า สร้างในสมัยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้สร้างพระเจดีย์ ๒ องค์ไว้ที่ ณ.วัดลำครทำ ต.ช่างหล่อ ธนบุรี (อยู่ใกล้วัดระฆัง) เพื่อบรรจุพระธรรมคำสั่งสอนพระพุทธองค์ และท่านได้สร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ด้วย โดยพระพิมพ์ที่ท่านสร้างไว้นั้น ได้ซ่อนปริศนาธรรมเอาไว้(พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ) กาลเวลาต่อมาพระเจดีย์นอนหนึ่งองค์ได้พังทลายลง พระอาจารย์ถีร์ ได้นำพระพิมพ์ที่แตกกรุออกมาจากพระเจดีย์มาบรรจุลังไม้สบู่เก็บไว้ และนำอิฐจากพระเจดีย์มาปูทางเดินในวัด


ต่อมาพระอาจารย์ถีร์ ต้องการนำพระพิมพ์มามอบให้ หลวงพ่อขำ ที่วัดปรักไม้ดำ(วัดโพธิ์เตี้ย) ต.ลานกระบือ อ.พาน จ.กำแพงเพชร เพื่อนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่หลวงพ่อขำได้สร้างไว้หน้าโบสถ์ ๒ องค์ แต่ระหว่างทางเรือเสีย จึงนำพระพิมพ์ทั้งหมดขึ้นฝากไว้ที่บ้าน นายอู๋ ใช้ แซ่ลิ้ม จากนั้นพระอาจารย์ถีร์ได้เดินทางกลับ โดยไม่ได้กลับไปหานายอู๋ใช้อีกเลย


ต่อมานายอู๋ ใช้ ได้ขายบ้านหลังนั้นให้กับคนอื่นไป และเจ้าของบ้านคนต่อมาได้นำพระพิมพ์ทั้งหมดมามอบให้ วัดบางระกำ ในสมัยที่หลวงพ่อหรุ่นเป็นเจ้าอาวาส พระมีจำนวน ๒ ถัง (ขนาด ๒๐๐ ลิตร)พระพิมพ์บางระกำ เริ่มเป็นที่รู้จักกัน ตั้งแต่ ปี ๒๔๘๖ เป็นต้นมา


พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ กรุบางระกำ มีขนาดกว้างประมาณ ๓ ซ.ม. สูงประมาณ๔.๕ ซ.ม. ด้านหน้าเป็นพระปรางค์ลีลาหันพักตร์ไปทางซ้าย ด้านข้างมีอักขระยันต์นูน ด้านหลังเป็นองค์พระ ๓ องค์ ประทับนั่งสมาธิปางมารวิชัยและพนมมือ ใต้องค์พระและเหนือองค์มีอักขระยันต์นูน ด้านล่างสุดมีราชสีห์กับเสือ พุทธคูณ ทั้งเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยมขนาด แม้ราซสีห์ที่ว่าโหดร้ายยังศิโรราบต่อเมตตาธรรมป้อนเหยื่อให้กับเสือที่เป็นศัตรูกัน 

 

\"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ\" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ

คณะราษฏร์

\"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ\" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ

 


จึงนับว่าเป็นที่แสวงหาของนักนิยมพระเครื่องเป็นอย่างมาก แม้แต่ ฯพณฯท่าน จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังนำพระสิงห์ป้อนเหยื่อ มาบรรจุตลับทองฝังเพชรและอาราธนาติดตัวตลอดเวลา และว่ากันว่าในยุคนั้นเหล่าบรรดานายทหาร จอมพล ต่างแขวนขึ้นคอกันแทบทั้งนั้น รวมทั้งสั่งให้ลูกน้องเสาะหามาใช้เช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน และน่าจะเป็นเหตุผลนี้นี่เองจึงทำให้พระพิมพ์กรุบางระกำหลุดเข้าสู่สนามน้อยเต็มทีจนแทบจะกลายเป็นตำนานหนึ่งของพระเครื่องเมืองไทยไปแล้วในขณะนี้ รวมไปถึงเครื่องรางอย่าง มีดหมอ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิและหนุมานแกะ หลวงพ่อสุ่น ที่จอมพล ป.ก็พกติดตัวตลอดเวลาและท่านจอมพล ป.ให้ความเคารพนับถือ สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ (ฟื้น)วัดสามพระยามากและท่านยังเคยสร้างพระเครื่องพิมพ์เชียงแสน หลังเหรียญมีลายเซ็นต์ของท่านด้วย


เรียกว่าเป็นท่านผู้นำที่เล่นของระดับแนวหน้าคนหนึ่ง
และเชื่อว่า พุทธคุณก็ช่วยท่านให้อยู่รอดปลอดภัยมายาวนาน


เพราะเฉียดตายมาหลายรอบมาก นี่ยังไม่นับการถูกลอบสังหารโดยการวางยาพิษในอาหาร และการลอบยิงหลายต่อหลายครั้งที่แคล้วคลาดมาได้ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการที่นายกรัฐมนตรียุคนี้ โดนด่าบ้างโดนเหน็บแหนมบ้างถือว่าเป็นเรื่องหิดๆสิวๆกลากเกลื้อนมากแค่แสบๆคันๆต้องทนให้ได้(ฮา)


เพราะฉะนั้น นับได้ว่า ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงครามหรือฉายา‘จอมพลกระดูกเหล็ก’ของสยามประเทศเรานั้น เป็นผู้นำที่มีศรัทธาในพุทธคุณอย่างเหนียวแน่น และความศรัทธาของท่านก็เผื่อแผ่มายังประชาชนชาวไทยที่เพิ่งเปลี่ยนนาม จาก ‘สยาม’ จะเห็นได้จากสงครามอินโดจีนที่มีการสร้างพระบำรุงขวัญแจกทหารจนเป็นที่เลื่องลือรู้จักกันในชื่อ ‘พระพุทธชินราชอินโดจีน’และเป็นที่นิยมมาจนถึงยุคนี้


กลายเป็นพระเครื่องยอดนิยมที่เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
บรรดาเซียนพระทั้งหลายมาตราบจนทุกวันนี้


…......


แต่ผลงานที่โดดเด่นมากของท่านจอมพล ป. คือ ?????


คือดำริให้สร้าง‘พุทธมณฑล’ในครั้งแรกไงล่ะครับ ท่านจอมพล ป. ประสงค์ที่จะสร้างปูชนียสถานเป็นพุทธบูชาและเป็นพุทธานุสรณียสถาน เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศักราชเวียนมาบรรจบครบรอบ ๒,๕๐๐ปี และเพื่อสถาปนาประเทศไทยเราให้เป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาของโลก โดยเฉพาะในพุทธศาสนาแบบหินยาน’ โดยครั้งแรกโครงการจัดสร้างนี้เกิดขึ้นที่ จ.สระบุรี ควบคู่ไปกับโครงการย้ายเมืองหลวงใหม่ไปอยู่ จ.เพชรบูรณ์ ผลปรากฏว่าทั้งสภาล่าง-สภาบน ลุกขึ้นยืนท้าวสะเอววิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย และลงมติไม่อนุมัติ แถม ท่านจอมพลฯ ก็ตกจากอำนาจเพราะแพ้โหวตคะแนนเสียงในสภาด้วย

 

\"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ\" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ

พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ

 


แต่จะว่าไป...ท่านก็มีดีของท่าน เพราะคงมีคุณพระช่วยเพราะแม้จะถูกขึ้นศาลทหาร ท่านก็แคล้วคลาดปลอดภัยไม่ถูกพิพากษาอะไรให้ระคายเคือง แถมยังกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง ครั้งนี้ท่านก็ยังไม่ละความพยายามที่จะสร้างอนุสรณ์สถานอันตั้งความหวังให้เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา 
 

ด้วยเหตุนี้‘พุทธมณฑล’แห่งใหม่ที่จ.นครปฐม จึงถูกดำเนินการขึ้นโดยตั้งงบประมาณทั้งสิ้น๒๕ ล้านบาท แต่กระทรวงการคลังให้ได้แค่ ๔ล้านต้นๆ เท่านั้น แต่ท่านผู้นำผู้ซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและเชื่อมั่นในพุทธคุณ แถมมองการตลาดขาดกระจุยทะลุจักรวาล ท่านได้ประกาศจัดสร้างวัตถุมงคลพระเครื่อง "พระ๒๕พุทธศตวรรษ"เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศเช่าบูชา ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ แล้วจัดงานพุทธาภิเษกฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ถือเป็นการทำธุรกิจพระเครื่องโดยรัฐบาลเป็นครั้งแรกและครั้งใหญ่ที่สุดนับแต่มีการตั้งประเทศไทยเรามาเลยทีเดียวเชียว


เป็นพระเครื่องปาง‘พระพุทธลีลา’ ซึ่งมีนัยยะว่าเป็นการก้าวย่างไปข้างหน้าของพุทธศาสนา แต่หลายคนเชื่อว่าเป็นเพราะ ฯพณฯท่านศรัทธาพระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ เนื้อผงพุทธคุณ กรุวัดบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก นั้นแหละ


แม่งานคนสำคัญคือ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์  คู่รักคู่แค้นของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นประธานการจัดสร้าง พระเครื่องชุดนี้เป็นพระพุทธรูปยืนปางลีลาแบบเดียวกับพระองค์ประธานพุทธมณฑล, พระเนื้อทองคำหนัก ๖สลึง จำนวนเท่ากับกึ่งพุทธกาล คือ ๒๕๐๐ เหรีญ ผลปรากฏว่า เกลี้ยง เพราะเป็นรายการเปิดจองแบบบัตรจี้ โดยเฉพาะกับหน่วยงานราชการ แต่ตอนนี้ก็ถือว่าเป็นพระมีราคาหลักเป็นแสนแล้ว


แต่เวลาเช่าให้ดูเม็ดกลมใต้ฐานบัว และรอยเส้นแตกที่ตัว "มะ" เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมี เนื้อเงินแท้ เนื้อนาก ซึ่งสร้างจำนวนน้อย แต่สำหรับพระเนื้อชินและเนื้อดินนั้น สร้างอย่างละ ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ จากความตั้งใจเดิม พล.ต.อ.เผ่าต้องการจะสร้าง ๕ ล้านองค์ เพราะเชื่อว่า ภายใต้ดวงอาทิตย์ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยจะทำไม่ได้(แม่การการจี้ให้เช่าพระ!?!)

 

 

\"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ\" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ

พระเครื่องเชียงแสน ด้านหลังมีนามจอมพล ป.


แต่ปรากฏว่าเกิดบล็อกแตกเสียก่อนในการปั๊มพระเนื้อชิน ทำให้บางส่วนด้านล่างใต้ฐานมีขีดเล็กๆ คล้ายเข็มเย็บผ้า เรียกว่า "มีเข็ม" กลายเป็นพิมพ์นิยมไปและต่อมาได้ยังมีการออก ‘เหรียญใบเสมา ๒๕ พุทธศตวรรษ’ เพิ่มเติม


สำหรับในการจัดสร้างพระ๒๕พุทธศตวรรษนั้น มีพิธีมหาพุทธาภิเษกถึง ๒ครั้ง 
ครั้งที่๑คือ พิธีพุทธาภิเษกมวลสารทั้งหมดที่นำมาใช้ในการจัดสร้าง จัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๙ –๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๐และครั้งที่๒ พิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อได้จัดสร้างพระเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างวันที่ ๒-๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐


โดยในพิธีแต่ละครั้งได้นิมนต์พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจากทุกนิกายทั่วประเทศรวมทั้งหมด ๑๐๘ รูป มาร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก โดยกระทำพิธี ณ พระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม สำหรับรายนามพระเกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษก ๑๐๘ รูป(ยึดถือสมณศักดิ์และข้อมูลจังหวัดตามเอกสารเก่า) มีดังนี้

๑. พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๒. พระครูสุนทรสมาธิวัตร  วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๓. พระญาณาภิรัต วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๔.พระครูพิบูลย์บรรณวัตร  วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๕.พระครูสุนทรศีลาจารย์  วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๖.พระครูพิศาลสรกิจ  วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๗.พระมหาสวน  วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๘.พระอำนวย  วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๙.พระปลัดสุพจน์  วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ กรุงเทพ
๑๐.พระครูวิสิษฐ์วิหารการ วัดชนะสงคราม กรุงเทพ
๑๑.พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ กรุงเทพ
๑๒.พระอาจารย์สา  วัดราชนัดดาราม กรุงเทพ
๑๓.พระปลัดแพง  วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพ
๑๔.พระวิสุทธิสมโพธิ  วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพ
๑๕.พระวรเวทย์คุณาจารย์  วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพ
๑๖.พระครูฐาปนกิจประสาท  วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพ
๑๗.พระอินทรสมาจารย์ วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพ
๑๘.พระครูวินัยธร (เฟื่อง )  วัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพ
๑๙.พระครูภักดิ์  วัดบึงทองหลาง กรุงเทพ
๒๐.พระครูกัลญาณวิสุทธิ  วัดดอนทวาย กรุงเทพ
๒๑.พระอาจารย์มี  วัดสวนพลู กรุงเทพ
๒๒.พระอาจารย์เหมือน วัดโรงหีบ กรุงเทพ
๒๓.พระหลวงวิจิตร  วัดสะพานสูง กรุงเทพ
๒๔.พระอาจารย์หุ่น  วัดบางขวด กรุงเทพ
๒๕.พระราชโมลี  วัดระฆัง ธนบุรี กรุงเทพ
๒๖.หลวงวิชิตชโลธร วัดสันติธรรมาราม ธนบุรี กรุงเทพ
๒๗.พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร ธนบุรี กรุงเทพ
๒๘.พระครูภาวนาภิรัต วัดหนัง ธนบุรี กรุงเทพ
๒๙.พระครูทิวากรคุณ วัดตลิ่งชัน ธนบุรี กรุงเทพ
๓๐.พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
๓๑.พระครูญาณสิทธิ์  วัดราชสิทธาราม ธนบุรี  กรุงเทพ
๓๒.พระอาจารย์มา  วัดราชสิทธาราม ธนบุรี กรุงเทพ
๓๓.พระอาจารย์หวน  วัดพิกุล ธนบุรี กรุงเทพ
๓๔.พระมหาธีรวัฒน์  วัดปากน้ำ ธนบุรี กรุงเทพ
๓๕.พระอาจารย์จ้าย  วัดปากน้ำ ธนบุรี กรุงเทพ
๓๖.พระอาจารย์อินทร์ วัดปากน้ำ ธนบุรี กรุงเทพ
๓๗.พระครูกิจจาภิรมย์  วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี กรุงเทพ
๓๘.พระครูวินัยสังวร  วัดประยูรวงศวาส ธนบุรี กรุงเทพ
๓๙.พระสุขุมธรรมาจารย์  วัดหงษ์รัตนราม ธนบุรี กรุงเทพ
๔๐.พระครูพรหมวินิต วัดหงษ์รัตนาราม ธนบุรี กรุงเทพ
๔๑.พระอาจารย์อิน  วัดสุวรรณอุบาสิการ ธนบุรี กรุงเทพ
๔๒.พระครูวิริยกิจ  วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี กรุงเทพ
๔๓.พระปรีชานนทมุนี  วัดโมลี บางบัวทอง จ.นนทบุรี
๔๔.พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง)  วัดศรีรัตนาราม ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
๔๕.พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) วัดบางจาก ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
๔๖.พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
๔๗.พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
๔๘.พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
๔๙.พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
๕๐.พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
๕๑.พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
๕๒.พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
๕๓.พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
๕๔.พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
๕๕.พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
๕๖.พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ์ จ.ปทุธานี
๕๗.พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
๕๘.พระครูวิสุทธิรังสี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
๕๙. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
๖๐. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
๖๑. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย)อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
๖๒. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี ) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
๖๓. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
๖๔. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแดง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
๖๕. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
๖๖. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
๖๗. พระสุทธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
๖๘. พระอาจารย์อ๊วง อ.อัมพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
๖๙. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง ) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
๗๐. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
๗๑. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
๗๒. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
๗๓. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
๗๔. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
๗๕. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
๗๖. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ อ.เมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
๗๗. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
๗๘. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราษฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
๗๙. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
๘๐. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
๘๑. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
๘๒. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
๘๓. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
๘๔. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
๘๕. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
๘๖. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
๘๗. พระครูสุนทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
๘๘. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
๘๙. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
๙๐. พระครูจันทร อ.ชุมแสง วัดคลองระนง ค์ จ.นครสวรรค์
๙๑. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
๙๒. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
๙๓. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
๙๔. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
๙๕. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
๙๖. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
๙๗. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
๙๘. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
๙๙. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
๑๐๐. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
๑๐๑. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
๑๐๒. พระครูศุข วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
๑๐๓. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
๑๐๔. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดสว่างอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
๑๐๕. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
๑๐๖. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
๑๐๗. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
๑๐๘. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
….............

 

\"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ\" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ

พระ 25 ศตวรรษ

 


เรียกว่า หาขลังว่านี้ไม่มีอีกแล้ว


และในที่สุดท่านจอมพล ป. ได้มีเงินมากพอจะดำเนินงาน  สามารถจัดซื้อที่ดินสร้างพุทธมณฑลสำเร็จตามประสงค์ รวมถึงการวางผังและออกแบบพระพุทธรูปองค์ประธาน โดยเมื่อวันที่๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๘ รัฐบาลในขณะนั้น จึงได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ไปทรงประกอบรัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล ณ บริเวณที่จะก่อสร้างพระพุทธรูปประธานพุทธมณฑล


แต่การก่อสร้าง“พุทธมณฑล"จนแล้วเสร็จสมบูรณ์แบบนั้น มาสำเร็จเอาในสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี(พระอิสริยยศในขณะนั้น)เสด็จประกอบพิธีสมโภช เมื่อวันที่๒๑ ธันวาคมพ.ศ.๒๕๒๕ 

สวยจบครบทุกลุกกับลาซาด้า

\"พระลีลาสิงห์ป้อนเหยื่อ\" พระเครื่องในดวงใจ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม สู่พระปางลีลา พระพุทธ ๒๕ ศตวรรษ