ไลฟ์สไตล์

ถึงเวลาแล้วที่ 'ครูปฐมวัย' ควรแยกใบอนุญาตวิชาชีพ

ถึงเวลาแล้วที่ 'ครูปฐมวัย' ควรแยกใบอนุญาตวิชาชีพ

04 ต.ค. 2563

ถึงเวลาที่จะแยกประเภทใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแล้วหรือยัง ไม่ใช่มีเพื่ออ้างว่าเป็น"วิชาชีพชั้นสูง" แล้วขอเงินเดือน พอถึงคราวต้องปฏิบัติจริงกลับไม่เป็นผล ครูไม่มีใบอนุญาตเกลื่อนเมือง ติดตามบทวิเคราะห์จาก.... ชัยวัฒน์ ปานนิล

จากกรณีที่มีการนำเสนอข่าว ครู 4 คน ทำร้ายเด็กอนุบาล หลังลงพื้นที่ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้กระทำผิดทำร้ายร่างกายเด็กอนุบาลและปรากฏชัดเจนว่า "ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู" หรือ "ตั๋วครู" 

 

อ่านข่าว : 'รร.สารสาสน์' ไล่ครูออกทั้งห้อง 'ครูจุ๋ม' โล๊ะผู้บริหารยกชุด

 

ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เป็นหลักฐานการอนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 เป็นผู้มีสิทธิ์ในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น

 

ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการออกใบอนุญาตฯ คือ คุรุสภา อ้างอิงข้อมูลจากเวบไซด์ของ คุรุสภา ปรากฏว่า ระหว่างปี 2560 – 2563 มีผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูรายใหม่ จำนวน 184,512 ราย และในปี 2563 มีผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จำนวน 316,543 ราย (อ่านรายละเอียดตามตารางประกอบ)

 

ถึงเวลาแล้วที่ \'ครูปฐมวัย\' ควรแยกใบอนุญาตวิชาชีพ

 

เป็นการอนุญาตแบบเหมารวม โดยแยกเป็น ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น เท่านั้น ในส่วนของครูไม่ได้มีการแยกให้ชัดเจนว่า สามารถสอนได้ในระดับไหน อนุบาล ประถม มัธยม หรืออาชีวะ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในแง่ของตัวผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น อายุ ช่วงวัย พัฒนาการ หลักสูตรการสอน แม้จะมีการกำหนดวิชาเอกของครูผู้สอน แต่เมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริงก็ไม่สามารถทำได้

 

ได้มีโอกาสคุยกับเพื่อนที่ย้ายถิ่นฐานไปประกอบวิชาชีพครูที่รัฐๆ หนึ่งของสหรัฐอเมริกา ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ของรัฐที่เขาอยู่แบ่งเป็นระดับชั้นการศึกษา อนุบาล ประถม และมัธยม ในแต่ระระดับมีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน

 

เช่น อนุบาลมีทั้งหมด 6 ระดับ สูงสุดคือ ผู้อำนวยการ แต่ละระดับหมายถึงการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทน หากสอบผ่าน การศึกษาในระดับประถมวัยเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบจัดการเรียนการสอน

 

เนื่องจากไม่ใช่การศึกษาภาคบังคับ มีทั้งจัดการเรียนการสอนในสถานที่เอกชนและเอกชนเข้าไปจัดการเรียนการสอนในสถานที่ของรัฐ ส่วนภาครัฐก็จะรับผิดชอบจัดการศึกษาในรูปแบบของสวัสดิการสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยเท่านั้น

ครูทุกคน รวมถึงผู้ช่วย ต้องผ่านการฝึกปฏิบัติ การ CPR การปฐมพยาบาล ทุกเรื่องรวมถึงแมลงสัตว์กัดต่อย น้ำแข็งกัด ความร้อนจัด การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ เป็นต้น และต้องรับการอบรม ทุก 2 ปี ก่อนเปิดภาคเรียน ต้องมีการให้ความรู้ การรายงานการทำร้ายเด็ก (การ Abuse ทั้งกาย วาจา การคุกคามทางเพศ ) เรียกว่า Mandated Report

 

จะเห็นได้ว่าการดำเนินการของครูในต่างแดน ค่อนข้างละเอียด ชัดเจน และรัดกุม เป็นการบริหารจัดการในเชิงรุก มากกว่าที่จะรอให้เกิดปัญหา

 

ถึงเวลาแล้วที่ \'ครูปฐมวัย\' ควรแยกใบอนุญาตวิชาชีพ

 

มีการแยกแยะอย่างชัดเจน ถึงรูปแบบและขอบเขต ของการปฏิบัติงาน ถึงเวลาแล้วยังที่จะปฏิรูป การอนุญาตให้ผู้ที่สนใจจะประกอบอาชีพครู ให้ชัดเจน และรัดกุมมากยิ่งขึ้น ให้สมกับคำว่า “วิชาชีพชั้นสูง” มากกว่าที่จะนำมาเป็นข้ออ้างเพื่อรับเงินเดือนเพิ่มเท่านั้น