ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม"พีจีเอส(PGS)" ก้าวแรกสู่การทำ"เกษตรอินทรีย์"มาตรฐานสากล
ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม"พีจีเอส(PGS)" ก้าวแรกสู่การทำ"เกษตรอินทรีย์"มาตรฐานสากล
การทำเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมหรือพีจีเอส(PGS)ที่กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นก้าวแรกในการขับเคลื่อนส่งเสริมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศอย่างยั่งยืนตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีเป้าหมาย ปี 2564 จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 600,000 ไร่ และมีจำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 30,000 ราย
โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์จะจำหน่ายในประเทศ 40% และจำหน่ายตลาดต่างประเทศ 60% พร้อมหวังการเดินหน้ายุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ 1,333,860 ไร่ ตั้งเป้า 5 ปีไทยสามารถผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้อันดับ 5 ของเอเชียจากปัจจุบันอันดับ 8
ขณะเดียวกันรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้เร่งรัดดำเนินการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ให้เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพส่งเสริมการผลิตที่ปลอดภัยต่อสุขภาพเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 5 ล้านไร่จากพื้นที่การเกษตรทั้งหมดกว่า 26 ล้านไร่ โดยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากเดิม ไปสู่ระบบการผลิตตามแนวทางของเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น เกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ หรืออื่น ๆ เช่น พุทธเกษตร ส่วนที่เหลือจะเป็นการทำเกษตรปลอดภัย ภายใต้การรัรองมาตรฐานจีเอพี(GAP)
ดร.สถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีและโฆษกกรมพัฒนาที่ดิน
“พีจีเอส(PGS)เป็นระบบพื้นฐานที่จะก้าวไปสู่ไอฟอม(IFOAM)เกษตรอินทรีย์มาตรฐานสากล ต้องอย่าลืมว่าประเทศไทยพื้นฐานของเกษตรกรมีความหลากหลาย เพราะฉะนั้นเกษตรที่จะเข้าร่วมควรมีขั้นตอนแบบง่าย ๆ ก่อน หนึ่งในนั้นคือระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมหรือพีจีเอส(GPS)” ดร.สถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีและโฆษกกรมพัฒนาที่ดินเผยระหว่างนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมตลาดจริงใจหรือจริงใจ มาร์เก็ต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แหล่งรวมสินค้าเกษตรอินทรีย์ขนาดใหญ่ในพื้นที่เหนือตอนบน
รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินเผย ต่อว่า กรมพัฒนาที่ดินดูแลเรื่องดินซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำเกษตรอินทรีย์ เพราะฉะนั้นสิง่ที่กรมพัฒนาที่ดินส่งเสริมาตลอดคือการส่งเสริมให้มีกาใข้อินทรียวัตถุในดิน มีการใช้ปุ๋ยอินทนีย์ มีการใช้ที่ดินให้เหมาะสม ซึ่งถ้ารเจะปูพืน้ฐานเกษตรอนิทรีย์จะต้องเริ่มจากพีจีเอส ปัจจุบันนโยบายกระทรวงเกษตรฯให้ตลาดนำการผลิต จึงไม่ใช่แค่ส่งเสริมให้เกษตรปลูกพืชในที่ดินที่ปลอดภัย เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังต้องดูแลในเรื่องการตลาด ให้เกษตรกรได้มีพื้นที่ขายหรือ แลกเปลี่ยนสินค้า โดยเริ่มจากในชุมชนหรือในพื้นที่ท้องถิ่นของตัวเองก่อน
ขณะที่ ฉวีวรรณ์ พัฒนพงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มหมอดินอาสาและบริหารจัดการเครือข่าย กรมพัฒนาที่ดิน อธิบายถึงขั้นตอนการทำเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมหรือพีจีเอส(PGS) โดยระบุว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเกษตรกรที่สนใจในทำเกษตรอินทรีย์ที่ผ่านการรับรองแบบมีส่วนร่วม โดยมีการรวมกลุ่มใช้เครือข่ายในการดำเนินการ ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี จึงจะเห็นผลสำเร็จ
“กว่าจะตั้งตัวได้ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ปีแรกอยู่ในระยะเริ่มต้นเน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก มุ่งปรับเปลี่ยน ทั้งแนวความคิดและขั้นตอนการปฎิบัติ ส่วนปีที่สองเป็นระยะเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ขาดทุน พอปีที่สามถึงจะมีกำไร'ผอ.กลุ่มหมอดินอาสากล่าวและย้ำว่า
สิ่งที่ได้จากระบบพีจีเอส(PGS) ทำให้เกษตรกรเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันละกัน ทั้งการผลิต แปรรูปและการตลาด มีการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน ผู้ผลิตกับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ตลอดจนทำให้การบูรณาการร่วมกันในทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการและเกษตรกร
เสาวนีย์ เมฆานุพักตร์ เจ้าของฟาร์ม'Get Family
ฟาร์ม'Get Family'หรือเกษตรในสวนเพื่อนของ เสาวนีย์ เมฆานุพักตร์ บนเนื้อที่ 19 ไร่เศษ ในต.สันผีเสื้อ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นหนี่งในการทำเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมหรือพีจีเอส(PGS) แม้จะเริ่มดำเนินการมาเพียง 1 ปีเศษ แต่ก็สามารถสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ โดลผลผลิตหลักคือไข่ไก่อินทรีย์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 350 ฟองต่อวันจากจำนวนแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงไว้ 700 ตัว
“ตอนนี้รายได้หลักมาจากไข่ไก่ ของเราเป็นไข่อินทรีย์ อาหารที่ใช้เลี้ยงเราผลิตเอง ใช้วัตถุดิบภายในฟาร์ม สนนราคาฟองละ 5 บาท จะมีพ่อค้ามารับซื้อที่หน้าฟาร์มทุกวัน ส่วนรายได้ที่เป้นรายสัปดาห์รายเดือนก็จะมีพืชผักสมุนไพร ขิงข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ฯลฯ กล้วยน้ำว้านี่ขายได้ทุกส่วนทั้งกล้วย หัวปลี ใบ ลำต้นก็จะมาผลิตอิหารไก่ สำหรับข้าวก็จะปลูกไว้รับประทานเองในครัวเรือน”
เสาวนีย์ ยอมรับว่าการทำฟาร์มอินทรีย์ในปีแรกจะมุ่งไปที่การลงทุนด้านปัจจัยการผลิตเป็นหลัก รวมทั้งต้องใจแข็ง อดทนต่อการใช้สารเคมีแม้จะใช้ง่าย เห็นผลเร็ว แต่ก็มีปัญหาในระยะยาว หากผ่านพ้นปีแรกไปได้ก็จะเริ่มก้าวไปสู่ความเป็นอินทรีย์อย่างเต็มรูปแบบ เพราทั้งสภาพดินที่เริ่มฟื้นตัว พืชผักที่ปลูกไว้ก็เริ่มให้ผลผลิตและรายได้เริ่มเข้ามา โดยรายได้ส่วนหนึ่งก็จะนำมาลงทุนต่อยอดการดำเนินกิจการภายในฟาร์มต่อไป
“ไม่งายค่ะการทำเกษตรอินทรียืหากใจไม่แข็ง พอบางครั้งเงินเป็นแค่ปัจจัยรอง ถ้าเรามุ่งมั่นตั้งใจ คิดถึงสุขภาพต้องมาก่อน เราก็จะก้าวข้ามสารเคมีไปได้” เจ้าของฟาร์ม'Get Family'หรือเกษตรในสวนเพื่อนกล่าวย้ำ
ผ่องพรรณ สะหลี เจ้าของสวนฮ่อสะหลี
บ้านเกษตรกร ของ”ผ่องพรรณ สะหลี” ในต.หนองเต่าคำ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ”สวนฮ่อสะหลี”ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เข้าร่วมโครงการทำเกษตรอินทรีย์ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมหรือพีจีเอส(PGSของกรมพัฒนาที่ดิน แม้มีพื้นที่ไม่มากแต่ 4 ไร่เศษ แต่ก็ใช้ทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยยึดหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่9มาเป็นต้นแบบในการดำเนินงาน
สวนฮ่อสะหลี มีพื้นที่ จำนวน 4 ไร่ 70 ตารางวา โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 2556 ระยะแรกเป็นการปลูกพืชผักไว้บริโภคในครัวเรือน อาทิ ผักกาด คะน้ากะหล่ำปลื ถั่วฝักยาว ถั่วพู ถั่วลันเตา พริกขี้หนู จึงจูถ่าย ผักบุ้ง และผลไม้ต่าง ๆ เช่น มะม่วง ลำไย กล้วย มะพร้าวน้ำหอม หม่อน อัญชัญ เสาวรส ผลมลิตที่เหลือจกการบริโภค ได้นำไปขายในชุมชน
ต่อมาได้มีการปรับพื้นที่มาทำกษตรเผ่นใหม่ โดยขุดบ่อน้ำ จุดร่องสวน ปลูกหญ้าแม่ก และไต้มีโอกาสเข้าอบรมการทำเกษตรอินทรีย์จกมหาวิทยาลัยแม่โจ้และร่วมป็นสมาชิกสหกรณ์เกษตรอินทรีย์ เชียงใหม่ จำกัด ได้รับองค์ความรู้ในการผลิตพืชอินทรีย์ ได้รับการสนับสนุนมล็ดพันธุ์พืช พร้อมตำเนินการจัดหาดลาตเพื่อสินค้าเกษตรอินทรีย์ นับเป็นจุดเริ่มตันของการทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มตัว
“ผลผลิตภายในฟาร์มส่วนใหญ่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่ร้านมากกว่า เพราะหน้าฟาร์มเราจะเปิดเป็นร้านกาแฟ มีอาหารเพื่อสุขภาพไว้บริการด้วย ที่นี่จะเป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้วย กลุ่มคนที่มาดูงานส่วนใหญ่ก็จะซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้าน ถ้าช่วงไหนผลผลิตออกจำนวนยมาก เราก็จะเก็บมาวางขายหน้าฟาร์ม ซึ่งก็ไม่พอขาย ทำให้ที่ฟาร์มม่ามีปัญหาเรื่องการตลาด ผลผลิตออกมาเท่าไหร่ก็ขายหมดถึงแม้ราคาจะสูงกว่าพืชผักทั่วไปก็ตาม”เจ้าของสวน ”สวนฮ่อสะหลี”เผยและว่านอกจากนี้สวนเกษตรฮ่อสะหลียังได้รับรางวัลการปลูกแฝกดีเด่นระดับประเทศสำหรับสวนเกษตรกรจากสำนักงานกปร.ประจำปี 2563 อีกด้วย โดยมีผู้สนใจมาดูงานตลอดทั้งปี
เชาวพรรณ อัชนันท์ เจ้าของผลิตภัณฑ์แบรนด์'พิงค์ธรรมชาติ”
ขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูป ภายใต้แบรนด์'พิงค์ธรรมชาติ”ของ เชาวพรรณ อัชนันท์ ในต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ถือเป็นกลุ่มกลางน้ำที่ รับซื้อวัตถุดิบผลผลิตจากสมาชิกเกษตรอินทรีย์ในเครือข่ายพีจีเอส(PGS)จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 190 กลุ่มจากทุกอำเภอ และสินค้าเกษตรอินทรีย์ตกเกรดจากเครือข่ายกลุ่มสมาชิกเกษตรกรในโครงการหลวงเพื่อนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
เชาวพรรณ เผยว่าผลิตภัณฑ์แปรรูปในแบรนด์ “พิงค์ธรรมชาติ” เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือน เพื่อผู้รักธรรมชาติ และต้องการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ผลิตจากสิ่งที่ดีที่สุดที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ โดยการนำจุลินทรีย์ DMO (Develop Micro-Organism) ที่มีประโยชน์ และได้รับการพัฒนา มาสกัดพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษชนิดต่าง ๆ พลังเอนไซม์ และกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำความสะอาด และกำจัดกลิ่นอับชื้น
และทุกผลิตภัณฑ์ จะหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิดที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ใช้สารกันบูด สารแต่งกลิ่น และสีสังเคราะห์ โดยมีผลการตรวจรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้า เพื่อส่งออกจากห้องปฏิบัติการสถาบันตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
“วัตถุดิบส่วนหนึ่งรับซื้อจากกลุ่มเกษตรกรในโครงการหลวง เป็นสินค้าตกเกรดที่โครงการหลวงไม่รับซื้อแทนที่จะทิ้งหรือทำปุ๋ยก็นำมาแปรรูปเพิ่มมูลค่าดีกว่า อย่างผลไม้มีจุดนิดหน่อยเขาก็ไม่เอาแล้ว ไม่สวย แต่เนื้อในยังดี เพราะเกษตรกรเหล่านี้เขาเน้นแต่ปลูก ไม่ถนัดการแปรรูป เราก็เอามาทำแทน เขาก็จะมีรายได้เพิ่มแทนที่จะทิ้งหรือนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์”เจ้าของแบรนด์“พิงค์ธรรมชาติ” กล่าวทิ้งท้าย
อย่างไรก็ตามสำหรับเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์พีจีเอส( PGS) จ.เชียงใหม่ ที่มีอยู่กว่า 190 กลุ่มในทุกอำเภอ ส่วนใหญ่จะนำผลผลิตที่ได้ไปวางจำหน่ายที่ตลาดจริงใจหรือจริงใจ มาร์เก็ต ซึ่งเป็นแหล่งรวมซื้อ-ขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเปิดขายเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์เท่านั้น