ไลฟ์สไตล์

เรื่องน่ารู้ สำหรับ "ผู้หญิงมีบุตรยาก" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

เรื่องน่ารู้ สำหรับ "ผู้หญิงมีบุตรยาก" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

09 มิ.ย. 2564

ถ้าพูดถึงในยุคสมัยนี้ ปี 2021 หลายๆครอบครัว คงจะมีปัญหาในเรื่องของการมีบุตรยาก ซึ่งเกิดจากในหลายปัจจัย การรับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ และ ได้รับวิตามิน รวมถึง แร่ธาตุที่เพียงพอ "ก่อนการตั้งครรภ์"

ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อโอกาสในการท้องได้ง่ายขึ้น และ ยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่สมบูรณ์อีกด้วย ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องของการมีบุตรยาก ครอบครัวที่มีบุตรยากในวงการบันเทิง ต้องยกให้กับ ครอบครัวของ นักร้อง นักแสดงยุค 90 “เจมส์ เรืองศักดิ์” กับ “ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” ที่มีลูกแบบธรรมชาติไม่สำเร็จ จนต้องหันมาพึ่งวิธีทางวิทยาศาสตร์  รวมถึง ศึกษาค้นคว้า งานวิจัยเพิ่มเติม จนประสบความสำเร็จในเรื่องของการมีบุตรยาก 

เรื่องน่ารู้ สำหรับ \"ผู้หญิงมีบุตรยาก\" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

โดย “เจมส์ เรืองศักดิ์ และ “ครูก้อย นัชชา” ได้ทำการศึกษาค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับการมีบุตรยากเพิ่มเติม จากในวารสาร “Clinical Medicine Insight Woman’s Health” เมื่อปี 2019 ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ “micronutrients” ซึ่งได้แก่ วิตามิน และ แร่ธาตุที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ ช่วยส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์ 5 ประการ ดังนี้ 

1. ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation)

2. การปฏิสนธิ ( fertilization)

3. การฝังตัวของตัวอ่อน (implantation)    

4. การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo development)

5. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์

เรื่องน่ารู้ สำหรับ \"ผู้หญิงมีบุตรยาก\" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

จากการศึกษางานวิจัย พบว่า  วิตามินและแร่ธาตุที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์ ได้แก่

  1. กรดโฟลิก (Folic)

กรดโฟลิกจำเป็นอย่างมากต่อหญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากความพิการของทารกแต่กำเนิด ได้แก่ หลอดประสาทไม่ปิด , ปากแหว่งเพดานโหว่ , ความผิดปกติของแขนขา , หัวใจพิการแต่กำเนิด , ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ , ไม่มีรูทวารหนัก และ กลุ่มอาการดาวน์

เรื่องน่ารู้ สำหรับ \"ผู้หญิงมีบุตรยาก\" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

2. โคเอ็นไซม์ คิว10 (Coenzyme Q10)

โคเอ็นไซม์คิวเท็น (Coenzyme Q10) จัดเป็นสารจำพวกวิตามิน หรือคล้ายวิตามิน ซึ่งถือเป็นขุมพลังงานสำคัญในชีวิตประจำวัน ที่คอยเติมความสดชื่นแข็งแรงให้แก่เซลล์ เพราะถ้าหากร่างกายขาด Coenzyme Q10 เซลล์ในร่างกายจะหยุดทำงานทันที!! Q10 มีบทบาทสำคัญในกระบวนการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนหลังไข่ถูกปฏิสนธิ และ ยังชะลอการเสื่อมของเซลล์ไข่  

เรื่องน่ารู้ สำหรับ \"ผู้หญิงมีบุตรยาก\" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

3. น้ำมันปลา (Fish Oil)

น้ำมันปลา เป็นไขมัน หรือ น้ำมันที่สกัดจากเนื้อเยื่อของปลาแซลมอน น้ำมันปลาอุดมไปด้วยกรดไขมัน โอเมก้า-3ในส่วนของการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) นั้น โอเมก้า 3 ช่วยเพิ่มการสร้าง nitrix oxide ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะสืบพันธุ์ได้ดีขึ้นมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มคุณภาพเซลล์ไข่ โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 35 ขึ้นไปที่เซลล์ไข่เริ่มเสื่อมคุณภาพ ประสิทธิภาพในการทำงานของรังไข่ลดลง ควรทานโอเมก้า 3 ให้เพียงพอ นอกจากนี้โอเมก้า 3 ยังมีบทบาทสำคัญในการเพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม

เรื่องน่ารู้ สำหรับ \"ผู้หญิงมีบุตรยาก\" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

4. วิตามินและแร่ธาตุรวม (Multivitamin & Minerals)

วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อการเสริมภาวะเจริญพันธุ์อีก 20 ชนิด ได้แก่

วิตามิน B รวม ช่วยให้เซลล์ไข่มีคุณภาพ ป้องกันภาวะตกไข่ผิดปกติ ช่วยให้ระบบเผาผลาญทำงานได้เป็นปกติ บำรุงสมองและระบบประสาทของทารกในครรภ์

วิตามิน C : ให้สารแอนตี้ออกซิแดนท์ ช่วยฟื้นฟูเซลล์ไข่และป้องกันไข่ไม่ให้เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ และจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนและช่วยให้ไข่ตกอย่างปกติ

วิตามิน D : ลดความเสี่ยงการเป็น PCOS (ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ , ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง) และยังมีงานวิจัยชี้ว่า วิตามินดี ช่วยเพิ่มอัตราการฝังตัวของตัวอ่อน โดยสรุปว่า ผู้หญิงที่ได้รับวิตามินดีเสริม มีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้รับวิตามินดีเสริม

วิตามิน E : วิตามินอีเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระชั้นเยี่ยม ช่วยนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายทำให้เลือดไหลเวียนดี หากร่างกายขาดวิตามินอีจะส่งผลให้เกิดความเสียหายในการสร้างเซลล์อสุจิและการสร้างเซลล์ไข่ 

 วิตามิน K1 : ช่วยในกระบวนการสร้างเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ

Inositol: อิโนซิทอล ช่วยให้รังไข่ทำงานเป็นปกติ ส่งผลต่อการผลิตไข่ที่มีคุณภาพ ช่วยแก้ปัญหาไข่ใบเล็ก ช่วยรักษาระดับอินซูลิน เยียวยาและป้องกัน PCOS ลดความเสี่ยงเบาหวาน นอกจากนี้นโนซิทอลยังเป็นตัวช่วยให้ตัวอ่อนพัฒนาอย่างสมบูรณ์

เรื่องน่ารู้ สำหรับ \"ผู้หญิงมีบุตรยาก\" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

Zinc: ธาตุสังกะสีช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงทำงานเป็นปกติ ตั้งแต่กระบวนการผลิตเซลล์ไข่ การแบ่งเซลล์ การช่วยให้เซลล์ไข่เจริญเติบโตสมบูรณ์ และสุกพร้อมปฏิสนธิ

Manganese: แมงกานีสช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ ทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ วงจรการตกไข่เป็นปกติ มีงานวิจัยศึกษาพบว่าผู้หญิงที่ได้รับแมงกานีสไม่เพียงพอมีความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกสูงขึ้น

Selenium: ซีลีเนี่ยมช่วยปกป้อง และชะลอความเสื่อมถอยของเซลล์ไข่ โดยทำงานร่วมกับวิตามินอีในการรักษาเนื้อเยื่อต่างๆ และชะลอการแก่ตายของเซลล์ตามธรรมชาติ เสริมสร้าง follicular fluid ที่ห่อหุ้มเซลล์ไข่ ทำให้เซลล์ไข่สมบูรณ์ ป้องกันการแท้ง

Iron: ธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง มีงานวิจัยศึกษาพบว่าผู้หญิงที่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอจะลดความเสี่ยงภาวะไข่ไม่ตกได้ถึง 50%

Copper: แร่ธาตุทองแดงเป็นตัวช่วยให้ร่างกายผลิตเอนไซม์และฮอร์โมนอย่างเป็นปกติ ช่วยให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ช่วยในเรื่องระบบการเผาผลาญของร่างกายให้เป็นปกติ และกระตุ้นให้ร่างกายใช้ธาตุเหล็กเพื่อสร้างฮีโมโกลบิน

Chromium: โครเมี่ยมช่วยรักษาระดับอินซูลินในร่างกาย ลดภาวะดื้ออินซูลิน ลดฮอร์โมนเพศชายเทศโทสเตอโรน ช่วยเยียวยาและป้องกันภาวะ PCOS

Iodine: ไอโอดีนจะถูกใช้ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการใช้พลังงานของร่างกาย และควบคุมการทำงานต่างๆ ของเซลล์ทุกชนิด โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อและเซลล์สืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์ทุกชนิด โดยเฉพาะในช่วงเป็นทารกในครรภ์ (ต่อเซลล์สมอง เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และกระดูก) ช่วยให้ตัวอ่อนเติบโตอย่างเป็นปกติ

Beta Carotene: เบต้าแคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยบำรุงและปกป้องเซลล์ ข่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและป้องกันการแท้งในระยะเริ่มต้น

Kelp Powder: ผงสาหร่ายเคลป์ หรือสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล คือสาหร่ายที่มีคุณประโยชน์อย่างมาก อุดมไปด้วยไอโอดีน (Iodine) และวิตามินหลากหลายได้แก่ A, B, E, D และ K มีส่วนช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติเป็นสาเหตุหนึ่งของการมีบุตรยาก

เรื่องน่ารู้ สำหรับ \"ผู้หญิงมีบุตรยาก\" ผลงานวิจัยชี้ควรทำอย่างไร

ดังนั้นผู้หญิงวางแผนตั้งครรภ์ ควรได้รับประทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ และได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอ "ก่อนการตั้งครรภ์" โดยเน้นอาหาร 70% วิตามิน 30% “อาหารก็ต้องกิน วิตามินก็ห้ามขาด” บำรุงก่อนเตรียมตั้งครรภ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีบุตรยากควรมีการเตรียมความพร้อมในการบำรุงร่างกายให้ดี ก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF / ICSI) ยิ่งบำรุงอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และต่อเนื่อง โอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์และเป็นครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงก็จะมีมากขึ้นนั่นเอง

ขอขอบคุณที่มาจากข้อมูล “ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์”