เรื่องเล่า"ยักษ์แบกสะพาน"ถนนวิภาวดีรังสิต ความเชื่อที่กล่าวขาน
คติความเชื่อกับคนไทยนั้นยังคงคู่กัน แม้จะผ่านไปทานขนาดไหน อย่างเช่นเรื่องเล่าของ "ยักษ์แบก"ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแบกโทลเวย์ ถนนวิภาวดี-รังสิต ที่กล่าวขานถึงอาถรรพ์ ทั้งนี้ยักษ์แบกยังสอดคล้องกับศาสนา
หากกล่าวถึงคำว่า"ยักษ์"ในตำนานความเชื่อและเรื่องเล่าต่าง ๆ ต้ังแต่สมัยพุทธกาล นั้นมีสืบทอดเป็นความรู้ และนิทานกล่าวขานกันมาจนถึงปัจจุบัน และทุกวันนี้เรามักจะเห็นสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับ "ยักษ์"นั้นถูกประดับตกแต่ง ประกอบอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะพระอารามแทบจะทุกแห่ง นั่นแสดงให้เห็นความเชื่อที่สอดคล้องว่า "ยักษ์"นั้นยังเป็นผู้ปกปักรักษาพระพุทธศาสนาด้วยนั่นเอง แถมยักษ์ บางตนยังได้รับความศรัทธาเลื่อมใส และเป็นสักการะของในปัจจุบัน
กลับเข้ามาสู่ประเด็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับ"ยักษ์แบกสะพาน"ที่เรากำลังจะกล่าวถึงกัน นั้นเกี่ยวเนื่องกับ เสาโทลเวย์ บนถนนวิภาวดีรังสิตนั้นเอง โดยประเด็นนี้ถูกเล่าขานกันปากต่อปากจนกลายเป็นเรื่องที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะว่าบริเวณเสาโทลเวย์นั้น ได้มีประติมากรรมปูนปั้นรูปยักษ์แบกเสา ประดับอยู่ถึงสองตน
โดยเรื่องเล่าดังกล่าวได้บอกว่า "ย้อยไปเมื่อ ปี พ.ศ. 2535 ที่เริ่มมีการก่อสร้างดอนเมืองโทลเวย์ขึ้น ซึ่งในระหว่างการก่อสร้างนั้น ได้เกิด อุปสรรคมากมาย ทำให้การสร้างไม่เกิดความราบรื่น จนกระทั่งช่วงที่จะทำการยกเสาต้นนี้ขึ้น ก็เกิดเหตุปัญหาขึ้นอีกครั้ง เพราะไม่ว่าทีมงานจะทำอย่างไรก็ไม่สามารถยกเสาขึ้นได้
และเมื่อทางผู้รับเหมาสร้างโทลเวย์มาถึงแยกลาดพร้าว นั้นก็ต้องประสบความขัดข้องอีก เพราะว่าเมื่อสร้างเสาและคานได้ไม่กี่วันก็พังลงและมาทับคนจนเสียชีวิต ซึ่งเกิดเหตุการณ์แบบนี้อยู่หลายครั้ง ตั้งคำถามและความสงสัยให้กับเหล่าวิศวกรผุ้ก่อสร้าง เพราะการสร้างทุกอย่างได้ทำถูกต้องตามหลักวิศวกรรมทุกประการ
โดยเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวมากที่สุดก็น่าจะเป็น เหตุคานถล่มที่มีคนงานเสียชีวิตจำนวนมาก ไม่สามารถสร้างต่อ และไม่สามารถยกเสายกขึ้นได้ซึ่งเป็นเฉพาะแยกลาดพร้าว แต่แยกอื่น ๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร กระทั้งมีผู้แนะนำให้ปั้นรูปยักษ์ แบกถนนไว้ที่เสาเพื่อแก้เคล็ดนั่นเอง
จากคำแนะนำสานต่อไปยัง กรมศิลปากร เพื่อให้ทรางสำนักช่วยปั้นยักษ์สองตนนี้ขึ้นมา โดยการแกะสลัก ยักษ์ทำท่าแบกเสา และหลังจากรูปปั้นยักษ์ได้สร้างสำเสร็จ ปรากฏว่าเรื่องเหลือเชื่อ นั้นได้กิดขึ้นเพราะเสาต้นนั้นได้ยกขึ้นอย่างง่ายดาย และสถานะการเงินของโครงการดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ผู้คนต่างใช้งานทางด่วนแห่งนี้มากขึ้น และไม่ค่อยมีอุบัติเหตุอย่างเมื่อก่อนและในปัจจุบันยักษ์แบกเสาก็ยังคงอยู่ที่เดิม ทางลงสะพานข้ามแยกสุทธิสารฝั่งขาออก 1 ตน และ ทางลงสะพานข้ามห้าแยกลาดพร้าวฝั่งขาเข้า 1 ตน"
สำหรับตำนานยักษ์แบกเสา หรือ แบกสะพานโทลเวย์นั้น เชื่อมโยงกับความเชื่อแห่งสถาปัตยกรรมที่ปรากกฏให้เห็นตามพระเจดีย์ต่าง ๆ ในพระอารามหลวงอาทิ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร , พระเจดีย์ ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดพระแก้ว ทั้งยังคล้องกับ ตำนานยักษ์แบกเขาพระสุเมรุตามคดีความเชื่ออีกด้วย