"ปาท่องโก๋" กรอบนอกนุ่มในและความเสี่ยง
ข้อมูลของศูนย์สารนิเทศทางอาหาร สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร อ้างอิงถึงอาหาร 10 อย่าง ที่ไม่ควรกินมากเกินไป ในจำนวนนี้ มี"ปาท่องโก๋" รวมอยู่ด้วย
“ ปาท่องโก๋” กรอบนอกนุ่มใน เหมาะกับทานคู่กับน้ำเต้าหู้,เครื่องดื่มร้อน หรือ กระทั่งโจ๊ก เป็นเมนูขั้นพื้นฐานในเวลาเช้า อย่างไรก็ตาม “ปาท่องโก๋” นอกจากความอร่อยแล้ว แต่ก็ยังมีภัยของอาหารแฝงอยู่ ความอันตรายในอาหารทอดชนิดนี้ ไม่ได้อยู่ที่ส่วนผสมหรือ แป้งที่นำมาเป็นวัตถุดิบแต่อย่างใด เพราะถึงแม้ว่าการทานแป้งจะทำให้อ้วน แต่ในกระบวนการแล้วโรคอ้วน ถูกกำจัดออกไปได้ด้วยการออกกำลังกาย
อันตรายของ “ปาท่องโก๋” อยู่ที่ “น้ำมัน” ที่ใช้ในการทอดและการทอดซ้ำ ในการทำการค้า การควบคุมต้นทุนคือหัวใจสำคัญ ดังนั้นการทอดอาหารเพื่อขาย จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยากว่าจะไม่ใช้น้ำมันเดิมนำกลับมาทอดซ้ำ มีข้อมูลงานวิจัยที่ทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำมันทอดซ้ำ พบว่า มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำโดยที่ไม่มีการเติมน้ำมันใหม่ถึงร้อยละ 65 และส่วนใหญ่มีการทอดซ้ำมากกว่า 30 ครั้ง
ดังนั้นการจะซื้อ "ปาท่องโก๋"ที่ไม่ทอดน้ำมันซ้ำ หรือไม่มีการหมุนเวียนน้ำมันกลับมาใช้ใหม่ จึงน่าจะเป็นเรื่องยาก ข้อมูลที่น่าสนใจอีกด้านหนึ่งก็คือ ที่มาของโรคความดันโลหิตสูง , โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองตีบ, โรคหัวใจวาย, โรคอัมพฤกษ์ และ โรคมะเร็ง ปัจจัยหนึ่ง เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
การใช้น้ำมันในการทอดอาหาร ในขณะที่น้ำมันถูกดัดแปลงรูปร่าง หลังจากผ่านการให้ความร้อนสูงเป็นเวลายาวนาน ทำให้โครงสร้างของน้ำมัน ถูกบิดไปเป็นสารประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เช่น "สารโพลาร์" สารประกอบที่เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดหัวใจตีบ
‘สารโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (PAH)’ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยหากเป็นสาร PAH ไม่ได้มีอันตรายแค่เพียงการรับประทานเท่านั้น แต่การได้รับไอระเหยของน้ำมันที่เสื่อมสภาพก็มีโอกาสได้รับสารก่อมะเร็งอยู่ด้วยเช่นกัน ผู้สูดดมไอระเหย จึงเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ไม่ต่างไปจากการการรับประทานอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
เพื่อเลี่ยงโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรค การพยายามเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำให้น้อยลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือการลดปริมาณการสะสมสารอันตรายดังกล่าวจากอาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำนั่นเอง การเลือกร้านที่ใช้น้ำมันที่ดูสะอาด และสีเหลืองใส อาจจะสร้างความมั่นใจได้ว่า ปาท่องโก๋ ที่รับประทานเข้าไปมีความปลอดภัยจากการใช้น้ำมันคุณภาพดีที่
ไม่ใช่แต่"ปาท่องโก๋"เท่านั้นที่จะต้องระวังเรื่องน้ำมันที่ใช้ อาหารประเภทอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้น้ำมันทอดในปริมาณมาก ก็ล้วนเสี่ยงต่อการวนเอาน้ำมันกลับมาทอดซ้ำเช่นกัน อาหารเหล่านี้ จึงถือเป็นอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายจากน้ำมันไม่ต่างกัน ข้อมูลจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดย นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า
ปาท่องโก๋เป็นอาหารที่มีแป้งสูง และผ่านกระบวนการทอดด้วยน้ำมัน ใช้ความร้อนสูง ทำให้มีโอกาสที่จะพบสารอะคริลาไมด์ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดอะมิโนชนิดแอสพาราจีนกับน้ำตาลรีดิวซิง เช่น กลูโคสและฟลุคโตสที่อุณหภูมิเกินกว่า 120 องศาเซลเซียส หรือใช้เวลาในการปรุงอาหารนานเกินไป จนอาหารมีความชื้นต่ำ ปฏิกิริยานี้มีชื่อว่า Maillard reaction มีผลให้อาหารมีสีน้ำตาล โดยมีรายงานการศึกษาด้านพิษวิทยา พบว่าถ้าได้รับปริมาณมากมีพิษต่อระบบประสาท จัดเป็นสารในกลุ่มที่อาจก่อมะเร็ง
เพื่อความปลอดภัยและเป็นการรักษาสุขภาพ ไม่ควรรับประทานปาท่องโก๋ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นประจำทุกวัน ในกรณีที่รับประทานปาท่องโก๋เป็นอาหารเช้า ควรหาอาหารที่มีโปรตีน เช่น ไข่ดาวหรือไข่ต้ม เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานโปรตีนจากอาหารอื่นเพิ่มเติมไปด้วย และที่สำคัญก่อนซื้อควรดูว่า ผู้ขายใช้น้ำมันทอดเป็นสีดำหรือไม่ ถ้าเห็นว่าน้ำมันเป็นสีดำเข้ม ควรเปลี่ยนไปซื้อจากร้านอื่น
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก :
สุขภาพน่ารู้.com
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- 10 คุณประโยชน์ที่ได้จาก "หมากฝรั่ง"
- "แตงโม"14 ประโยชน์ 23 สรรพคุณ
- 6 คุณประโยชน์ที่ดีต่อร่างกายด้วย "โยเกิร์ต"