"นอนไม่หลับ"เสียงบำบัดตัวช่วยเพื่อผ่อนคลาย
การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือนอนหลับสนิทตลอดคืน แต่ภายใต้เงื่อนไขของสภาพสังคม ความเครียด สิ่งเหล่านี้มีผลต่ออาการ " นอนไม่หลับ" หรือหลับไม่สนิท ซึ่งเป็นภัยที่คุกคามคุณภาพชีวิต
"นอนไม่หลับ" (Insomnia) คือ โรคที่มีความผิดปกติในวงจรการหลับ แบ่งเป็นชนิดของการนอนไม่หลับคือ
- หลับยาก : จะหลับได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมง
- หลับไม่ทน : ตื่นกลางดึก ตื่นแล้วหลับอีกไม่ได้
- หลับๆตื่นๆ : จะมีอาการลักษณะ รู้สึกคล้ายไม่ได้หลับเลยทั้งคืน
อาการ "นอนไม่หลับ" ในช่วงกลางคืน จะส่งผลกระทบในตอนกลางวันทำให้รู้สึกอ่อนแรง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ไม่มีสมาธิ ง่วงซึม ในการรักษาอาการ “นอนไม่หลับ” ด้วยการใช้เสียงบำบัด เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ใช้เพื่อรักษาอาการ ทั้งนี้การบำบัดด้วยเสียงคือ การนำเสียงต่างๆที่มีผลต่อการนอนหลับ หรือส่งผลบวกต่อพลังงานในร่างกาย และสมอง หรือจิตใจให้เกิดการผ่อนคลายพร้อมนอนหลับมากขึ้น
เสียงในที่นี้ ครอบคลุมไปถึง เสียงดนตรีที่ได้ทำการปรับแต่งเพื่อการบำบัดโดยเฉพาะ หรือ ดนตรีบำบัด(music therapy) เสียงที่มาจากธรรมชาติโดยตรง เช่นเสียง คลื่นทะเล ฝนตก เสียงลมพัดตามทุ่งกว้าง เสียงเพลงต่างๆ ที่ใส่ทำนอง จังหวะดนตรี ระดับของเสียง ความดังของเสียง เมื่อฟังแล้ว ช่วยให้อาการ"นอนไม่หลับ" หายไป นอนหลับได้ง่ายขึ้น
เสียงบำบัดช่วยเรื่องการ “นอนไม่หลับ” เพราะเสียงมีผลต่อคลื่นสมอง การสั่นสะเทือนของเสียงสามารถเข้าไปทำปฏิกิริยาต่อร่างกาย ทำจิตใจให้สงบนิ่ง ผ่อนคลาย และปล่อยวาง การนอนในท่าที่สบาย เปิดเสียงเพลงบำบัดเป็นประจำก่อนเข้านอน หรือตั้งเวลาเปิดปิดเอาไว้เพื่อกล่อม ดังนั้นการบำบัดด้วยเสียง จึงเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้การนอนหลับเป็นไปได้ง่ายขึ้น
มีผลการศึกษาของ Aarhus University ที่เดนมาร์ก ในปี 2015 ระบุถึง ประโยชน์ของเสียงดนตรีต่อผู้ใหญ่ที่มีอาการนอนหลับผิดปกติ โดยงานศึกษาในหัวข้อนี้มีทั้งหมด 6 ชิ้น และมีผู้เข้ารับการทดสอบทั้งหมด 314 คน โดยทุกคน จะฟังเพลง 25-60 นาที ทุกวันช่วงก่อนนอนเป็นเวลาติดกัน 3-35 วัน ผลลัพธ์จากงานศึกษาในหัวข้อนี้ออกมาพบว่า
เสียงดนตรีสามารถช่วยให้ผู้ใหญ่ที่มีอาการนอนหลับผิดปกติ มีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นได้จริง เหตุผลที่ทำให้การนอนหลับดี ขึ้น อาการนอนไม่หลับหายไป เพราะเสียงดนตรี ช่วยให้ผ่อนคลาย ประโยชน์ที่ได้จากการฟังเพลง ทำให้หายใจช้าลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความเครียดและความกังวล รวมถึงยังกระตุ้นฮอร์โมนดี และยังช่วยลดฮอร์โมน ที่ทำให้นอนไม่หลับได้ด้วย
เพลงที่เปิดควรจะเป็นเพลงที่ฟังแล้วผ่อนคลาย มีความถี่ต่ำ ไม่มีเนื้อร้อง และมีความเร็วคงที่อยู่ที่ 60-80 BPM โดยร่างกายของเราจะรับรู้ถึงดนตรี และปรับสภาพร่างกายจนทำให้หลับได้ง่ายขึ้น อาการ"นอนไม่หลับ"ก็จะดีขึ้นตามลำดับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ttps://www.fungjaizine.com/
https://www.nitedreamdrink.com/
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง