ไลฟ์สไตล์

 "ชากุหลาบ" ตัวช่วยในการระบาย-ทำเองได้ไม่ยุ่งยาก 

"ชากุหลาบ" ตัวช่วยในการระบาย-ทำเองได้ไม่ยุ่งยาก 

14 ก.ค. 2564

"ดอกกุหลาบ" เมื่อกลายสภาพเป็นกุหลาบแห้ง สามารถนำมาแปรรูปให้เป็น " ชากุหลาบ"  เพราะด้วยคุณสมบัติ จากสิ่งที่อยู่ในกุหลาบมากมาย การดื่ม "ชากุหลาบ" จึงส่งผลดีต่อสุขภาพ 

 

 

 

 

“กุหลาบ”  นอกจากคุณสมบัติในความสวยงามแล้ว   ยังมีคุณสมบัติทางสมุนไพรที่สามารถนำมาทำเป็น “ชากุหลาบ” ดื่มเพื่อสุขภาพได้อีกด้วย ซึ่งชากุหลาบทำจากดอกกุหลาบทั้งดอก หรือกลีบกุหลาบอบแห้ง เป็นชาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตะวันออกกลาง  กระทั่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในที่สุด 

 

 

 

 

 

 

คุณสมบัติ ที่ได้จากการดื่ม “ชากุหลาบ”  ซึ่งมี   วิตามินซี สารโพลีฟีนอล วิตามินเอ แร่ธาตุต่างๆ และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆ ประกอบด้วย 

 

 

-แก้ท้องอืด :  กรดอินทรีย์ที่มีอยู่ใน "ชากุหลาบ"  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการย่อย ช่วยต้านการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้หรือระบบทางเดินอาหาร ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ บรรเทาอาการท้องอืด ดูแลการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ ช่วยในการขับไล่ของเสียในระบบทางเดินอาหาร

 

 

 

- ล้างพิษในร่างกาย :   "ชากุหลาบ" สามารถช่วยปรับปรุงการทำงานของตับ บรรเทาอาการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ อีกนัยหนึ่งชากุหลาบก็เป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ ช่วยล้างและขับสารพิษทางออกทางปัสสาวะ

 

 

 

-ลดอาการไข้หวัดใหญ่ :   หากมีอาการของโรคไข้หวัดใหญ่  โรคหลอดลมอักเสบ หรือมีอาการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ปอดและลำคอ การดื่มชากุหลาบถือเป็นตัวช่วยที่ดี ที่จะช่วยบรรเทาอากรและโรคเหล่านี้ เพราะมีวิตามินซีเป็นตัวช่วยในการต่อสู้กับเชื้อโรค   แบคทีเรีย บรรเทาอาการเจ็บคอ 

 

 

- ลดท้องผูก ล้างลำไส้ : ชากุหลาบเป็นยาระบายจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง ช่วยลดอาการท้องผูก ขับของเสียออกโดยไม่ต้องพึ่งยาเคมี ปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้เป็นยาระบายอ่อนๆ  ดังนั้นจึงควรดื่มชากุหลาบในปริมาณที่พอเหมาะ และหมั่นสังเกตุร่างกายตนเองว่ามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อชาชนิดนี้อย่างไรบ้าง

 

 

-ช่วยให้ผิวสวย อ่อนกว่าวัย สุขภาพดี :    กลีบกุหลาบอุดมด้วยสารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินเอและวิตามินอีที่ช่วยมอบความชุ่มชื่น ทำให้ผิวกระชับ ลดริ้วรอยและลดความหมองคล้ำ ป้องกันผิวแก่ก่อนวัย เพียงใช้ชากุหลาบแช่เย็น แล้วนำน้ำมาใช้ล้างหน้า ก็จะช่วยทำความสะอาดผิว บรรเทาอาการผื่น ภูมิแพ้ให้ลดลง นอกจากนี้ยังช่วยให้ผิวนุ่ม กระจ่างใส และเก็บกักความชุ่มชื่นได้อย่างยาวนาน

 

 

- บรรเทาอาการปวดประจำเดือน : ชากุหลาบช่วยในการควบคุมฮอร์โมนและบรรเทาการบีบตัวของมดลูก ลดการปวดท้องในช่วงที่มีประจำเดือน ลดอาการเป็นตะคริว ช่วยในการไหลเวียนของเลือด ปรับสมดุลของอารมณ์ไม่ให้แปรปรวน 

 

 

\"ชากุหลาบ\" ตัวช่วยในการระบาย-ทำเองได้ไม่ยุ่งยาก 

 

 

 

 

\"ชากุหลาบ\" ตัวช่วยในการระบาย-ทำเองได้ไม่ยุ่งยาก 

 

 

 

- สร้างระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ต้านเชื้อโรค :   ชากุหลาบ  มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาว  ต้านอนุมูลอิสระ   ลดความเครียด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อด้วยวิตามินซีที่อยู่ในชากุหลาบ

 

 

-ช่วยให้นอนหลับสบาย : คุณสมบัติพิเศษของชากุหลาบนอกจากช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับผิว ยังช่วยลดการอักเสบ บรรเทาความเครียด ป้องกันอาการซึมเศร้า ควบคุมฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการนอน ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย หากมีอาการ นอนไม่หลับ   การดื่มชากุหลาบอุ่นๆก่อนเข้านอน  1 ถ้วย ก็จะช่วยให้ระบบประสาทผ่อนคลาย  เป็นการกระตุ้นการนอนหลับและช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

 

 

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจาก “ชากุหลาบ”    อาการปวดศีรษะ  ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย  อาเจียน การดื่มชากุหลาบควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระยะให้นมบุตรไม่ควรดื่มชากุหลาบ 

 

\"ชากุหลาบ\" ตัวช่วยในการระบาย-ทำเองได้ไม่ยุ่งยาก 

 

 

 

 

 -สูตร"ชากุหลาบ"ชงเอง-
ส่วนผสมชากุหลาบ  ใช้กลีบกุหลาบสดหรือแบบอบแห้งแล้ว 1 ถ้วย   น้ำร้อนแต่ไม่เดือด 3 ถ้วย  น้ำผึ้งเล็กน้อย   ชาเขียวหรือใบชาดำ (ตัวเลือกเสริมใส่หรือไม่ใส่ก็ได้) อย่างละ ¼ ถ้วย  วิธีทำ    1.หากใช้กลีบกุหลาบสดให้นำมาล้างให้สะอาด  2.วางกลีบดอกกุหลาบลงในน้ำร้อน และถ้าต้องการใส่ชาเขียวหรือใบชาดำ ให้ใส่ลงในขั้นตอนนี้ โดยใส่ลงไว้ข้างๆกลีบดอกกุหลาบ ไม่ควรใส่ลงบนกลีบกุหลาบโดยตรง เพราะจะทำให้กุหลาบเสียรสชาด 3.ปิดฝาอบไว้ 5 นาที  4.กรองส่วนผสมทิ้ง เหลือไว้แต่น้ำชาไว้ดื่ม  5.หากต้องการรสหวาน สามารถเติมน้ำผึ้งได้ตามความชอบ 

 

 

ข้อพิจารณาต่อการทำ"ชากุหลาบ"ด้วยตนเอง   ดอกุหลาบ ที่ใช้ทำชา  ต้องเป็นดอกกุหลาบที่ปลอดสารเคมีและยาฆ่าแมลง สามารถเลือกทำชากุหลาบจากดอกตูมหรือกลีบกุหลาบสด หรือนำไปตากแห้งก่อน แล้วมาต้มดื่มก็ได้

 

 ขอขอบคุณเนื้อหาจาก

https://www.roowai.com/

 

ภาพประกอบจาก  

https://pixabay.com/th/

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง