เช็กที่นี่ "ลดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม" ในภาคเรียนที่1/2564 ทำได้จริงหรือ
เช็กที่นี่ "ลดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม" ในภาคเรียนที่1/2564 ทำได้จริงหรือ เมื่อแนวทางข้อปฏิบัติย้อนแย้ง หากทั้ง "ตรีนุช-เอนก" ไม่ตัดสินใจหรือใช้อำนาจขั้นเด็ดขาด....บทวิเคราะห์โดย กมลทิพย์ ใบเงิน
เหมือนฝนโปรยปรายชโลมใจหัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ เมื่อได้รับรู้ถึงมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)นัดแรกเมื่อวันที่ 13 ก.ค.2564 หลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ประกา่ศ “ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว” 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม
ด้วยการโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha โชว์ “มาตรการเยียวยา” โควิด19 ระลอก4 ช่วยแรงงานนายจ้าง-ลูกจ้าง วงเงิน 30,000 ล้านบาท ตามด้วยมาตรการลดค่าน้ำ ค่าไฟวงเงิน 12,000 ล้านบาท ตามด้วยมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา
เนื้อหาสาระที่ นายกฯโพสต์ผ่านช่องทางโซเซียล ระบุว่า รัฐบาลมีมาตรการความช่วยเหลือบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชาชนด้านอื่นๆ รวมถึง มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา ซึ่งาครม.เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) หารือกับสถานศึกษาในสังกัด เพื่อกำหนดแนวทางลดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ ในภาคเรียนที่ 1 /2564 และให้จัดทำโครงการที่รัฐร่วมสมทบส่วนลดบางส่วนให้แก่สถานศึกษา ให้เสนอครม. ภายใน 1 สัปดาห์ รวมถึงแนวทางการช่วยเหลือปัญหาทางการเงินแก่สถานศึกษาเอกชนด้วย
แปลไทยเป็นไทย นายกฯสั่ง 2 หน่วยงาน “ศธ-อว.” ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ “ครูเหน่ง” ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ส่วนกระทรวงอุดมศึกษาฯหรืออว. อยู่ในความรับผิดชอบของ อาจารย์เอนก “ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์” ทั้งคู้ต้อง“ทำการบ้าน”ส่งนายกฯภายใน 7วัน
จะ "ลดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม" ในภาคเรียนที่1/2564 ผู้เรียนในระดับไหนบ้าง
ไล่เรียงมาตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน อนุบาล1-ม.6/ปวช./ปวส.และระดับอุดมศึกษา เพื่อหาแนวทางลดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม ในภาคเรียนที่1/2564 ที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้จริง แม้ “ครูเหน่ง” พยายามให้เปิดภาคเรียนตั้งแต่ระยะแรกเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. และระยะที่สองเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2564 แต่ความพยายามเปิดภาคเรียนทั้งสองครั้ง กลับพบเรื่องที่น่าเศร้า เมื่อพบว่ามีนักเรียนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และพบนักเรียนติดเชื้อกระจายอยู่หลายโรงเรียนทั่วประเทศ
ลดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม ในภาคเรียนที่1/2564 ได้จริงหรือ คำถามที่รอคำตอบจาก 2 กระทรวง “ศธ.-อว.” ต้องชัดเจนภายใน 1 สัปดาห์ (20ก.ค.2564) และต้องทำความเข้าใจกับพ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียน นิสิต นักศึกษา
ในความเป็นจริงการลดค่าใช้จ่ายและค่าทำเนียมการศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับ9ปี(ป.1-ม.3) ในสถานศึกษาของรัฐบาลนั้น ไม่น่ามีปัญหาสามารถดำเนินการได้ทันที
อีกทั้งหลายโรงเรียนได้ดำเนินการลดค่าใช้จ่ายและค่าทำเนียมการศึกษา ไปก่อนการแพร่ระบาดของโควิด19ระลอก4 แล้ว แต่ที่ยังเป็นปัญหาและสร้างความเดือดร้อนให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียนส่วนมากเป็นสถานศึกษาเอกชน
โรงเรียนเอกชนส่วนมาก รวมถึงโรงเรียนนานาชาติ ทั้งหมดอยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะลดค่าใช้จ่ายและค่าทำเนียมการศึกษาให้กับผู้เรียนได้อย่าวไร แม้ความจริงเด็กเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านผู้ปกครองต้องลงทุนการศึกษา แต่ค่าใช้จ่ายและค่าทำเนียมการศึกษายังจ่ายเท่าเดิม
ยกตัวอย่างโรงเรียนเอกชนชื่อดังระดับแห่งหนึ่ง อ้างค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาเป็นไปตามต้นทุนการจัดการศึกษา ผลกำไรจากค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาจะถูกใช้เพื่อการลงทุนพัฒนาทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงเรียน
ทั้งนี้ค่าเล่าเรียนครอบคลุมถึงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติ การสนับสนุนการศึกษาเพิ่มเติมและการจัดการเรียนการสอนพิเศษจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการรับสมัครและแรกเข้า: ค่าสมัคร 3000 บาท ไม่สามารถขอคืนเงินได้ ส่วนค่าเงินฝากกองทุนโรงเรียน ทั้งนี้ นักเรียนหรือผู้ปกครองจะได้รับค่าเงินฝากกองทุนโรงเรียนเมื่อนักเรียนจบการศึกษา
ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาประกอบด้วย
ค่าเล่าเรียน
ค่าอาหารกลางวัน
ค่านม (สำหรับชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6) และค่าของว่างช่วงบ่าย (สำหรับชั้นอนุบาล 1 – อนุบาล 3)
กิจกรรมสอนเสริมวิชาภาษาอังกฤษรายสัปดาห์ (นอกหลักสูตร)
การเรียนเพื่อทบทวนบทเรียน
ค่าธรรมเนียมการสอบ
ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่รวมถึง
เครื่องแบบนักเรียนและชุดพลศึกษา
การศึกษานอกสถานที่
ค่าสื่ออุปกรณ์
ค่ากิจกรรมหลังเลิกเรียน (After School Programme) รวมถึงกิจกรรม Enrichment สำหรับชั้นอนุบาล
กิจกรรมเรียนเสริมด้านภาษาอื่นๆ เช่น การเรียนเสริมภาษาไทย และ กิจกรรมเรียนเสริมภาษาอังกฤษ (ได้แก่ โปรแกรม Engage/Enhance/Excel)
กิจกรรมเรียนเสริมตามรายวิชา
Summer School Camp
ทั้งนี้ทางโรงเรียนเอกชนชื่อดัง แจ้งว่า มีการปรับค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาเป็นประจำทุกปี โดยปรับขึ้น 4-6 % ตามการพิจารณาของทางโรงเรียน โดยเป็นการปรับเปลี่ยนตามภาวะเงินเฟ้อและอัตราค่าครองชีพ โดยผู้ปกครองชำระเงินก่อนเปิดภาคเรียนเป็นรายภาคการศึกษา
ทั้งนี้ ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา ปีการศึกษา 1/2564 มีรายละเอียด ดังนี้
อนุบาล1 ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมก่ารศึกษาต่อปี375,000 บาท/ค่าสื่อและอุปกรณ์การเรียน19,500 บาท
ประถมศึกษาปีที่1ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมก่ารศึกษาต่อปี400,000บาท /ค่าสื่อและอุปกรณ์การเรียน23,000 บาท
มัธยมศึกษาปีที่4ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมก่ารศึกษาต่อปี405,900บาท /ค่าสื่อและอุปกรณ์การเรียน25,900 บาท
ส่วน ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา ปีการศึกษา 1/2564 ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ติดกับดักเกณฑ์การกู้เงินของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาหรือกยศ. ที่นำระบบเหมาจ่ายมาใช้ตกรายละ 9,000 บาทต่อภาคเรียน แต่นักศึกษาจริง 13,000 บาทต่อภาคเรียน ทำให้ส่วนต่างอีก 4,000 บาท ไม่ครอบคลุมนิสิต นักศึกษาที่ไม่ได้เป็นลูกหนี้ของกยศ. พ่อแม่ผู้ปกครองต้องแบกรับส่วนนี้แทน
ลดค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม ในภาคเรียนที่1/2564 ทำได้จริงหรือ เป็นโจทย์ที่ท้าทายความรู้ ความสามารถและการประสานประโยชน์ของ 2 กระทรวง “ศธ.-อว.” ทั้ง “ครูเหน่ง ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ และอาจารย์เอนก”ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรทัศน์ รมว.กระทรวงอุดมฯ ว่าจะจะทำการบ้านได้ทันส่งนายกฯภายใน 7วัันหรือ 20 ก.ค.2564 หรือไม่
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯโพสต์ โชว์ "มาตรการเยียวยา"ใช้ 3 หมื่นล้าน ลั่นจะสู้จนกว่าเราจะชนะ
"เรียนออนไลน์ทั้งปี" รับมือโควิด-19 อยู่อีกยาวนาน
หลอกครูและคนทั้งประเทศ 'เลื่อนการเปิดเทอมทิพย์' อีกแล้ว