ไลฟ์สไตล์

แนะ 4 ทริค บริหาร "ความเครียดสะสม" ช่วยนักศึกษา

แนะ 4 ทริค บริหาร "ความเครียดสะสม" ช่วยนักศึกษา

20 ก.ค. 2564

เรียนออนไลน์ในวัยนักศึกษา ดูง่ายกว่าเด็กชั้นประถมศึกษาก็จริง แต่เรียนออนไลน์แบบ 100 % ไม่เจอเพื่อน ไม่ได้เจออาจารย์แบบนี้เป็นเวลานานๆ "ความเครียดสะสม" ก็มาเยือนได้เหมือนกัน แต่ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ

แอบคิด แอบหวังว่าเจ้าวายร้ายไวรัสโควิด-19 จะหมดไปจากโลกในนี้สักวัน แต่ความจริงกลับไม่เป็นดั่งฝัน หลายประเทศในโลกบุคลากรทางการแพทย์ไม่ไหวถอดใจลาออก

 

ขณะที่พลเมืองหลายประเทศเช่นกันติดธงสีขาวหน้าบ้าน สั่งสัญลักษณ์ว่า “ยอมแพ้” อย่าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นในบ้านเมืองของเราเลย คนไทยเลือดนักสู้ เอาละเราจะอยู่กับโควิด-19 อย่างไรให้เอาตัวรอด จะอยู่อย่างไรไม่ให้ทุกข์

ท่ามกลางวิกฤตสุขภาพและวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนและการทำงานเป็นอย่างมาก ทั้งยังก่อให้เกิด ความเครียดสะสมแบบที่ไม่ควรมองข้าม จนในบางครั้งอาจจะทำให้บางรายเลือกเส้นทางชีวิตที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายหรือความสูญเสียได้ 

หลังวิกฤตสุขภาพ-วิกฤตเศรษฐกิจกระทบ เกิดความเครียดสะสมในกลุ่มนักศึกษาและบุคลากรเป็นจำนวนมาก แต่ทุกปัญหามีทางออก เมื่อมนุษย์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญา “คมชัดลึกออนไลน์” มีคำแนะนำ4ทริคบริหารความเครียดสะสมนักศึกษา ช่วงโควิด-19 มาฝากเพื่อเป็นกองหนุนทางด้านจิตใจนักศึกษาในช่วงปิดสถาบันและเรียนออนไลน์100%

 

แนะ 4 ทริคบริหารความเครียดสะสมช่วยนักศึกษา

1.Time Management:จัดสรรเวลาให้แมชต์กับไลฟ์สไตล์ การจัดสรรเวลาสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับตนเอง จะช่วยสร้างความผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดของตนเองได้เป็นอย่างดี เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ฟังเพลง หรือเป็นงานอดิเรกอื่น ๆ

2.Explore Activities:ค้นหาประสบการณ์ใหม่ ด้วยการลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยทำ เพราะในช่วงนี้เป็นจังหวะดีที่นักศึกษาจะมีเวลาในการทำสิ่งใหม่ ที่อาจจะทำให้ค้นพบทักษะใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้มาก่อน เช่น ฝึกตกแต่งภาพ/ตัดต่อวิดีโอ หรือลองผันตัวเขียนบล็อกเกอร์รีวิวสถานที่เที่ยว ฯลฯ

3.Helping & Sharing:ปันเวลาช่วยเหลือผู้อื่น เพราะเชื่อว่าการให้ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งการแบ่งปันเวลาไปช่วยเหลือผู้อื่นในทางที่ตนเองถนัด ผ่านการกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่น เช่น การอ่านหนังสือเสียง เพื่อคนตาบอด ที่นอกจากจะได้ฝึกทักษะการพูด การใช้เสียงแล้ว ช่วยสร้างรายได้อีกช่องทางหนึ่ง หรือเลือกต่อยอดไปสู่การพูดจัดรายการวิทยุออนไลน์ อย่าง‘พอดแคสต์’(Podcast) หรือคลับเฮ้าส์ (Clubhouse)ฯลฯ

4.Positive Thinking:ปรับมุมคิดเชิงบวก สำหรับปัญหาความเครียด สิ่งที่จะแก้ไขได้ดีที่สุดคือ“ตนเอง”การปรับความคิดให้มองถึงข้อดีในสถานการณ์ดังกล่าว สิ่งที่ได้มากขึ้นคือ“เวลา”ที่สามารถใช้ในการทำประโยชน์ต่างๆเพื่อตนเองและคนรอบข้างได้ ดังนั้น ในช่วงวิกฤตที่นักศึกษาต้องอยู่ที่บ้านเป็นเวลาหลายเดือน ให้มองว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้มีเวลาให้ตนเองและครอบครัว มีเวลาพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ ก่อนกลับมาทำให้ที่เรียนหนังสือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ นักศึกษาหรือบุคลากรที่สนใจ สามารถลงทะเบียนเพื่อนัดหมายหรือขอรับให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาได้ที่www.facebook.com/GrowthMindCentreหรือสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) ที่https://office.kmitl.ac.th/osda/consulting-service

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกเวชกรรม สจล. คณะแพทยศาสตร์ โทรศัพท์02 329 8143หรือ02 329 8000ต่อ3633หรือติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมของคลินิกได้ที่ เฟซบุ๊กแฟนเพจ เสิร์ช “ศูนย์การแพทย์ สจล.KMITL Medical Centreเว็บไซต์http://medicalcenter.kmitl.ac.thหรือติดต่อแอดมิน สจล. ผ่านhttp://www.facebook.com/kmitlofficial

ขอบคุณที่มาข้อมูล :สจล.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลด "ความเครียดสะสม" ด้วย 4 เทคนิคง่ายๆ มาเป็นตัวช่วย

ใส่ใจ "ผู้สูงอายุ" แนะครอบครัวให้ยึดหลัก 5 ทริกลดเสี่ยงเลี่ยงโควิด 19

"ปวดฟัน"และ 7 สิ่งใกล้ตัวเพื่อบรรเทาอาการ

"เวียนศีรษะ"สัญญาณเตือน"อันตราย"กว่าที่คิด

ด่วน "หมอขอลาออก" จากทีมควบคุมโรค หลังติดเชื้อคืนเดียว 257 ราย